• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตบริจาคในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

ดุจใจ ชัยวานิชศิริ; Dootchai Chaiwanichsiri; พิมล เชี่ยวศิลป์; Pimol Chiewsilp; ศศิธร เพชรจันทร; Sasitorn Bejrachandra; อิศรางค์ นุชประยูร; Issarang Nuchprayoon; พิมพรรณ กิจพ่อค้า; Pimpun Kitpoka; ปาริชาติ เพิ่มพิกุล; Parichart Permpikul; ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์; Cheewanan Lertpiriyasuwat; วารุณี จินารัตน์; Varunee Jinaratana; พรรณดี วัฒนบุญยงเจริญ; Phandee Watanaboonyongcharoen; ดวงตะวัน ธรรมาณิชานนท์; Duangtawan Thammanichamond; ดารินทร์ ซอโสตถิกุล; Darintr Sosothikul; โอภาส พุทธเจริญ; Opass Putcharoen; เจตตวรรณ ศิริอักษร; Jettawan Siriaksorn; ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์; Thanapoom Rattananupong; ภาวิณี คุปตวินทุ; Pawinee Kupatawintu; สิณีนาฏ อุทา; Sineenart Oota; สาธิต เทศสมบูรณ์; Sathid Thedsomboon; เกรียงศักดิ์ ไชยวงค์; Kriangsak Chaiwong; ดวงนภา อินทรสงเคราะห์; Duangnapa Intharasongkroh; พีระยา สุริยะ; Peeraya Suriya; อภิสิทธิ์ ทองไทยสิน; Apisit Tongthaisin; อภิวรรษ ติยะพรรณ; Apiwat Tiyapan; คามิน วงษ์กิจพัฒนา; Kamin Wongkijpatana;
วันที่: 2567-02-14
บทคัดย่อ
ที่มาและวัตถุประสงค์ จากการลดลงของความชุกโรคเอดส์ ร่วมกับมีการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Nucleic Acid Test ที่ช่วยลด Window Period ของการตรวจเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus, HIV) บางประเทศจึงเริ่มให้ผู้มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์แบบชายกับชาย (Men Who have Sex with Men, MSM) ที่มีความเสี่ยงต่ำบริจาคโลหิตได้ โดยกำหนดเกณฑ์การคัดกรองตามผลการวิจัยที่สนับสนุนด้านความปลอดภัยของแต่ละประเทศ โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางเพศสัมพันธ์ผ่านโลหิตบริจาคของ MSM ในประเทศไทย โดยคำนวณการติดเชื้อ (Infection Pressure) ของ MSM เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมวัสดุและวิธีการ ทำวิจัย Prospective Cohort Study โดยรวบรวมอาสาสมัคร MSM จากทั่วประเทศ ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและภาคบริการโลหิตแห่งชาติ รวมจำนวน 10 แห่ง ในช่วง 15 มี.ค. พ.ศ. 2566 – 15 ก.ย. พ.ศ. 2566 คำนวณตัวอย่างได้จำนวน 159 คนต่อกลุ่ม โดยมีเกณฑ์คัดเข้า คือ MSM ที่มีคู่ และไม่ใช้ยา PrEP/PEP จำแนกอาสาสมัครเป็นกลุ่มความเสี่ยงต่ำ คือ มีคู่คนเดียว ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ให้บริการทางเพศหรือใช้สารเสพติดกับกลุ่มความเสี่ยงสูงที่มีพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์เสี่ยงกว่า มาดำเนินการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ Transfusion Transmitted Infection (TTI): HIV, HBV, HCV, Syphilis จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน โดยกลุ่มความเสี่ยงต่ำต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ตลอด 3 เดือน ส่วนกลุ่มความเสี่ยงสูงให้มีเพศสัมพันธ์ได้ นำผลการติดเชื้อมาคำนวณค่า Infection Pressure เปรียบเทียบกับผลเลือดของกลุ่มควบคุม คือ ผู้บริจาคโลหิตเพศชายของศูนย์และภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่มีช่วงอายุและอาศัยอยู่ในภูมิภาคเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติ Two Proportion Z-test กำหนดให้ระดับนัยสำคัญ (α) เท่ากับ 0.05 ผลการศึกษา มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 192 คน มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ จำนวน 73 คน อายุระหว่าง 19 – 46 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 32 คน กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 41 คน ตรวจเลือดครั้งแรกพบการติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 2 คน (Syphilis และ HBV) กลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 1 คน (Syphilis) โดยกลุ่มเสี่ยงสูงมี % Infection Pressure สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำอย่างมีนัยสำคัญ (4.88% vs. 0.00%, p-value=0.0285) สัดส่วนการติดเชื้อของกลุ่มเสี่ยงต่ำกับกลุ่มเสี่ยงสูงต่างกันเล็กน้อย (3.12% vs. 4.88%) ซึ่งไม่สามารถสรุปได้ว่าแตกต่างกันทางสถิติ (จำนวนตัวอย่างน้อย) และพบว่าอาสาสมัคร MSM มีสัดส่วนการติดเชื้อสูงกว่าผู้บริจาคโลหิตเพศชายทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.10% vs. 0.95%, p-value=0.0028) โดยกลุ่มเสี่ยงต่ำมีค่าการติดเชื้อสูงกว่าผู้บริจาคเพศชาย 3.28 เท่า ซึ่งมีนัยสำคัญทางคลินิก ไม่พบการติดเชื้อเพิ่มในการตรวจเลือดครั้งที่ 2 วิจารณ์และสรุป มีอาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยน้อยกว่าเป้าหมายมาก (จำนวน 73 คน จากจำนวน 318 คน) ซึ่งอาจมีเหตุปัจจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทัศนคติส่วนบุคคลและเกณฑ์การวิจัยที่ต้องไม่ใช้ยา PrEP ทำให้มีผลต่อการวิเคราะห์จนไม่สามารถสรุปเพื่อตอบโจทย์วิจัยได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่า MSM ในประชากรชาวไทยยังคงจัดเป็นความเสี่ยงทางคลินิก เพราะมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับโลหิตติดเชื้อที่แฝงอยู่ในช่วง Window Period ได้ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่สามารถเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือกที่เหมาะสมให้ MSM เป็นผู้บริจาคโลหิตได้ จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ให้มีข้อมูลที่สามารถสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของผู้รับโลหิต

บทคัดย่อ
Background and Objectives: The decline in HIV prevalence and availability of nucleic acid testing to reduce the window period for HIV infection have allowed men who have sex with men (MSM) to donate blood in many countries, based on research evidences which support their blood safety. To assess the situation in Thailand, this study was conducted to assess the risk of blood-borne transmission from Thai MSM compared to male donors as a control group. Material and methods: This is a prospective cohort study, recruiting MSM nationwide from the Thai national blood centre (NBC), and 9 regional blood centres between 15 March and 15 September 2023. Calculated sample size is 159 for each group. MSM who has a partner were included and MSM who uses PrEP/PEP are excluded from the study. MSM who has only one partner and not exposed to sex worker or illicit drug was classified as low-risk, while MSM with more than one partner or has other sexual risk behaviors was classified as high-risk. Eligible participants have blood sampling to test for transfusion-transmitted infection (TTI): HIV, HBV, HCV, and Syphilis, twice, 3 months apart. The low-risk MSM were to refrain from having sex in the 3-month study period. The infection pressure of TTI were compared with the control age-matched male donors using two proportion Z-test with level of significance (α) at 0.05. Results: Of 192 MSM aged 19-26 years who were recruited for the study, 73 were eligible, 32 were low-risk and 41 were high-risk. Blood tests were positive for TTI in 3 participants, 2 in the high-risk group (Syphilis and HBV), and 1 in the low-risk group (Syphilis), and there were no TTI in matched regular donor controls. The calculated % infection pressure in the high-risk group is significantly higher than controls (4.88% vs. 0.00%, p-value=0.0285). The low-risk group has little difference in infection pressure to the high-risk group (3.12% vs. 4.88%) and the statistical significance couldn’t be demonstrated. The MSM participants also have significant higher % infection pressure compared with general Thai male donors (4.10% vs. 0.95%, p-value=0.0028), with 3.28 times higher in the low-risk group (clinical significance). There was no increase in TTI on the 3-month follow-up blood test. Discussion and conclusion: There were much lower participants than anticipated (73/318). This could be due to the exclusion of MSM who use PrEP, and cultural sensitivity to the the study criteria. Despite the limited number of participants, it can be concluded that Thai people with MSM continue to be a clinically significant risk group for transfusion-related infection. There is no strong evidence to support the change of criteria for deferral of Thai MSM donors at this time. Further study is needed to ensure patient blood safety.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3100.pdf
ขนาด: 796.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 20
ปีพุทธศักราชนี้: 8
รวมทั้งหมด: 27
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV