บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ในรูปแบบบริการออนไลน์ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ในรูปแบบบริการออนไลน์ กรณีศึกษาสถาบันราชานุกูลในช่วงการระบาดไวรัส COVID – 19 มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์/ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล ทีมสหวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ปกครองเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน 16 คน กำหนดและเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1 อยู่ในระดับใช้ได้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหาและการสังเคราะห์เชิงระบบ ระยะที่ 2 พัฒนาต้นแบบโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก กลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิด ถึง 5 ปี ในรูปแบบบริการออนไลน์ (โปรแกรม TEDA4I Online) และรูปแบบบริการปกติ (โปรแกรม TEDA4I Onsite) ใช้รูปแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ทีมสหวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ปกครองเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน 12 คน กำหนดและเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ในรูปแบบบริการออนไลน์ (โปรแกรม TEDA4I Online) และรูปแบบบริการปกติ (โปรแกรม TEDA4I Onsite) แบบประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการและแบบประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครอง หาคุณภาพด้วยการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความเชื่อมั่น และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มที่คล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง และระยะที่ 3 ประเมินผลและเปรียบเทียบการบริการรูปแบบบริการปกติกับรูปแบบบริการออนไลน์ ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองและเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ ที่มารับบริการในสถาบันราชานุกูลที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้บกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการหรือกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม คำนวณหาขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 41 คน โดยมีเด็กที่เป็นคู่แฝด 1 คู่ ซึ่งผู้ปกครองของเด็กทั้ง 41 คน มีความคล้ายคลึงกันในด้านการศึกษาและเศรษฐานะของครอบครัว แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองรับบริการผ่านระบบออนไลน์ ณ ที่พักอาศัยของตน จำนวน 20 คน ได้แก่ ช่วงอายุแรกเกิดถึง 2 ปี จำนวน 5 คน อายุ 2 ถึง 3 ปี จำนวน 5 คน อายุ 3 ถึง 4 ปี จำนวน 5 คน และอายุ 4 ถึง 5 ปี จำนวน 5 คน และกลุ่มควบคุม รับบริการตามปกติ ณ สถาบันราชานุกูล จำนวน 21 คน ได้แก่ ช่วงอายุแรกเกิดถึง 2 ปี จำนวน 5 คน อายุ 2 ถึง 3 ปี จำนวน 5 คน อายุ 3 ถึง 4 ปี จำนวน 5 คน และอายุ 4 ถึง 5 ปี จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) โปรแกรม TEDA4I Online 2) โปรแกรม TEDA4I Onsite ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.8-1 อยู่ในระดับใช้ได้ 3) แบบประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครอง 4) แบบประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครอง ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 อยู่ในระดับใช้ได้ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 เท่ากันอยู่ในระดับดีมากทั้ง 2 แบบ 5) แบบประเมินพัฒนาการเด็ก ได้แก่ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual, DSPM) งานวิจัยครั้งนี้ใช้ผู้เก็บข้อมูล จำนวน 6 คน โดยมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้เก็บข้อมูล ดังนี้ 1) การประเมินพัฒนาการเด็กด้วยคู่มือ DSPM เท่ากับ 0.84 2) การประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการของผู้ปกครองด้วยแบบประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครองเท่ากับ 0.79 3) การประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการของผู้ปกครองด้วยแบบประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครอง เท่ากับ 0.84 และ 4) การส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยโปรแกรม TEDA4I Online และ โปรแกรม TEDA4I Onsite เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ด้วย Pair t-test สถิติทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันด้วย t-test และสถิติทดสอบ Chi-square ผลการวิจัย ระยะที่ 1 สถานการณ์/ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ผู้รับบริการมีความต้องการได้รับบริการต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม และสามารถเลือกวันเวลานัดหมายที่สอดคล้องกับตารางอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ความถี่เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง ให้บริการทั้งในและนอกเวลาราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยผู้รับบริการต้องการรับบริการในรูปแบบออนไลน์ที่มีคุณภาพไม่แตกต่างจากรูปแบบปกติ อีกทั้งสถานบริการมีความเป็นไปได้หากจะจัดบริการในรูปแบบออนไลน์ที่มีคุณภาพไม่แตกต่างจากรูปแบบปกติ โดยต้องมีการสนับสนุนอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมออนไลน์ ระยะที่ 2 ได้ต้นแบบโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ในรูปแบบบริการออนไลน์ (โปรแกรม TEDA4I Online) และรูปแบบบริการปกติ (โปรแกรม TEDA4I Onsite) ที่ใช้ระยะเวลา 14 สัปดาห์ และมีจำนวน 15 ครั้งเท่ากัน โดยทั้ง 2 โปรแกรมมีการสอนประเมินพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จำนวน 1 ครั้ง การฝึกส่งเสริมพัฒนาการที่มีผู้สอนแนะ (Coach) จำนวน 3 ครั้ง และผู้ปกครองต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยตนเองโดยอัดคลิปวีดีโอส่งให้พยาบาลผู้สอนแนะเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับพร้อมคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ จำนวน 9 ครั้ง ส่วนครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของโปรแกรมเป็นการเตรียมความพร้อม และการประเมินพัฒนาการของเด็กด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) รวมทั้งทักษะของผู้ปกครองก่อนและหลังเข้าโปรแกรม ทั้ง 2 โปรแกรมเป็นรูปแบบการฝึกที่เน้นให้ผู้ปกครองเป็นคนประเมินพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลานด้วยตัวเอง โดยมีคู่มือของแต่ละโปรแกรมให้แก่ผู้ให้บริการ เพื่อบอกกระบวนการ บทพูด อุปกรณ์ และบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้ปกครองและผู้สอนแนะ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.8-1 อยู่ในระดับใช้ได้ และแบบประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการและแบบประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครอง มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 อยู่ในระดับใช้ได้ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 อยู่ในระดับดีมากเท่ากันทั้ง 2 แบบ ระยะที่ 3 พบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการประเมินพัฒนาการและทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการของผู้ปกครองทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวม และทุกช่วงอายุ แต่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวม และทุกช่วงอายุ 2. ค่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมากกว่ากลุ่มควบคุม และพัฒนาการของกลุ่มทดลองในช่วงอายุ 2-3 ปี และ 4-5 ปี หลังการเข้าร่วมโปรแกรมดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งพัฒนาการของกลุ่มควบคุมในช่วงอายุ 0-2 ปี 2-3 ปี และ 4-5 ปี หลังการเข้าร่วมโปรแกรมดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ระดับพัฒนาการของเด็กกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกันในทุกช่วงอายุโดยมีพัฒนาการดีขึ้น ร้อยละ 60.00 ดีขึ้นจนสมวัย ร้อยละ 20.00 และไม่ดีขึ้น ร้อยละ 20.00 รวมทั้งระดับพัฒนาการของเด็กกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมก็ไม่แตกต่างกันในทุกช่วงอายุโดยมีพัฒนาการดีขึ้น ร้อยละ 57.10 พัฒนาการไม่ดีขึ้น ร้อยละ 28.60 และดีขึ้นจนสมวัย ร้อยละ 14.30 และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันในทุกช่วงอายุ โดยมีพัฒนาการดีขึ้นร้อยละ 58.50 พัฒนาการไม่ดีขึ้นร้อยละ 24.40 และดีขึ้นจนสมวัย ร้อยละ 17.10 3. ค่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของเด็กกลุ่มทดลองกับเด็กกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมในภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor, GM) 2) พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (Fine Motor, FM) 3) พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language, RL) 4) พัฒนาการด้านการใช้ภาษา (Expressive Language, EL) และ 5) พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม (Personal and Social, PS) ดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกันในเกือบทุกด้าน ยกเว้น พัฒนาการด้านการใช้ภาษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเด็กกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการมากกว่าเด็กกลุ่มควบคุม เมื่อพิจารณาแต่ละช่วงอายุ พบว่า พัฒนาการของเด็กช่วงอายุ 0-2 ปี กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเด็กกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการมากกว่าเด็กกลุ่มควบคุม ส่วนพัฒนาการของเด็กช่วงอายุ 4-5 ปี กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเด็กกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการมากกว่าเด็กกลุ่มทดลอง นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กช่วงอายุ 2-3 ปี และ 3-4 ปี มีพัฒนาการดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน สรุป โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ทั้งในรูปแบบบริการออนไลน์ (โปรแกรม TEDA4I Online) และรูปแบบบริการปกติ (โปรแกรม TEDA4I Onsite) ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ สามารถทำให้ผู้ปกครองมีทักษะการประเมินพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้นและช่วยให้เด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการดีขึ้น
บทคัดย่อ
This Research and Development (R&D) research aims to develop and evaluate the efficacy of the prototype of an online early intervention program for children aged 0 to 5 years with intellectual and developmental disabilities, using Rajanukul Institute during the COVID-19 pandemic as the case study setting. The study process was divided into three phases. The 1st phase was situation and needs analysis via descriptive research. Sixteen sample size were the director of Rajanukul Institute, multidisciplinary team, registered nurses, caregivers of child aged 0 to 5 years with intellectual and developmental disorders recruited by purposive sampling. Collected data using individual in-depth interview and focus group with in-depth interview form and focus group interview form, which both had a content validity score of 0.93. Analyzed data using content analysis and systematic synthesis. For the 2nd phase, the development of the prototype of early intervention program for child age 0 to 5 years with intellectual and developmental for both online (TEDA4I Online Program) and onsite (TEDA4I Onsite Program) service settings through Participatory Research. Twelve sample size were multidisciplinary team, registered nurses, caregivers of child aged 0 to 5 years with intellectual and developmental disorders recruited by purposive sampling. Content analysis and reliability were analyzed then tried out. For the last phase, the efficacy evaluation and comparison of between program prototypes using Quasi-Experimental Research with two groups pretest and posttest design. The sample size in phase 3, estimated with Bernard’s formulas, was 41 children with intellectual and developmental disabilities aged 0 to 5 years at Rajanukul Institute. Twenty participants (5 children in each age range: 0 to 2 years, 2 to 3 years, 3 to 4 years, and 4 to 5 years) were randomly assigned to an experimental group receiving TEDA4I Online Program at their homes while other twenty-one (5 children in each age range except 4 to 5 years which have six children) participants were allocated to a control group receiving TEDA4I Onsite Program. The tools in 1) TEDA4I Online Program 2) TEDA4I Onsite Program, which both had content validity score of 0.99, 3) parent’s screening skill assessment and 4) parent’s intervention skill assessment which both had content validity score of 1 and reliability score of 0.94 and 5) Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) for assessing child development which had Sensitivity of 96.04 percentage and Specificity of 64.67 percentage. Six data collectors provided Inter-rater Reliability index scores in each performance as follows: 1) 0.84 score for DSPM usage, 2) 0.79 score for assessing parent’s screening skill. 3) 0.84 score for parent version of enhancing parenting skills, and 4) 0.83 score for intervention with TEDA4I Online Program and TEDA4I Onsite Program. Quantitative data were analyzed with descriptive statistics (percentage, mean, frequency, standardization) and inference statistics (Pair t-test, independent t-test, and Chi-square). Results According from Phase 1, clients needed to continue receiving child development stimulation services under every condition and social circumstance. Their parents preferred to acquire more flexible service appointment times, at least once a month, which are compatible with their personal life and daily routines. The stimulation service should also be able to provide both in weekdays and weekend. The online program should have the similar quality as the usual program. Furthermore, the service provider should support the children and parents with stimulation tools and online program-related devices. Based from phase 2, the program prototypes both TEDA4I Online Program and TEDA4I Onsite Program consisted of 15 sessions during 14 weeks long including teaching how to assess development and to enhance development for 1 session, coaching how to enhance development for 3 sessions and self-enhancing development at home with VDO clip recoding to send back to coach for 9 sessions. Apart from all these sessions which are the first and the last sessions were preparing session before attended the program, assessed child development using Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) and assessed parenting skills. Furthermore, both programs were the program that focused on parenting skills. Both programs had content validity of 0.8-1 and the assessments of parent’s development screening skill intervention skill had content validity score of 1 and reliability score of 0.94, respectively. In case of phase 3, The mean posttest scores of development screening skill and development stimulating skill in parents, both in experimental and control groups, were significantly greater than those in pretest at the .05 level regardless age range but the between-group differences were not significant at the .05 level in any age group. The mean posttest scores of child development, both in experimental and control groups, were significantly greater than those in the pretest time point at the .05 level with the post scores in the experimental group were higher than those in the control condition. In case of the experimental group, the post development scores were significantly higher than the pre ones at the .05 level in 2-3 years and 4-5-years subgroups. In case of the control group, the post development scores were significantly higher than the pre ones at the .05 level in 0-2, 2-3, and 4-5 years. However, the levels of child development were not significantly improvement after program participating both in experimental group (developmental Improved: 60%, developmental Improved until usual: 20%, not improved: 20%) and control group (developmental Improved: 57.10%, developmental Improved until usual: 14.30%, not improved: 28.60%). Overall, the levels of improved child development between the experimental group and control group were not significantly different in every age range (in total, developmental Improved: 58.50%, developmental Improved until usual: 24.40%, not improved: 17.10%). the higher mean scores of child development, which has five areas (Gross motor, GM, Fine Motor, FM, Receptive Language, RL, Expressive Language, EL, and Personal and Social, PS), after receiving TEDA4I programs between online or on-site versions were not significantly different at the .05 level in any sub score except the EL score which significantly higher at the .05 level in the experimental group than the control group. Considering within each age group, among participants aged 0 to 2 years, the RL score of the experimental group was significantly improved than the control group at the .05 level. Conversely, in case of children aged 4 to 5 years, the PS score of the control group was significantly improved than the experimental group at the .05 level. Furthermore, no between-group differences in 2 to 3 and 3 to 4 age ranges were reach at the .05 level of significance. Conclusion The TEDA4I Online Program and TEDA4I Onsite Program which developed in this study were qualify. They could enhance caregivers to assess and train their child which their child age 0 to 5 years has a better development.