บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ก่อให้เกิดวิกฤติทางสุขภาพที่สำคัญ โดยมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงจนถึงการเสียชีวิต ผู้ที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในประเทศไทย และค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรง ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานทั่วประเทศของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย โดยผลลัพธ์ที่ต้องการในการศึกษานี้คือระดับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด (ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย และอาการรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก) ตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือลักษณะของผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย อายุ สัญชาติ จำนวนวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับ และอายุครรภ์ขณะเกิดการติดเชื้อ การวิเคราะห์ใช้การถดถอยโลจิสติกส์แบบหลายตัวแปรเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านี้และความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ผลการศึกษา: การศึกษานี้ วิเคราะห์ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 12,579 ราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย คือร้อยละ 87 ส่วนกลุ่มที่มีอาการรุนแรงระดับปานกลางถึงมากมีร้อยละ 13 หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสสูงสุดที่จะมีอาการรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก (adjusted odds ratio: AOR = 1.79, 95%CI: 1.44, 2.24) หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ใช่สัญชาติไทยมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์สัญชาติไทย (AOR = 1.17, 95%CI: 1.03, 1.34) ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 3 ครั้ง มีโอกาสต่ำที่สุดในการมีอาการรุนแรง (AOR = 0.16, 95%CI: 0.10, 0.27) นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์มีโอกาสสูงที่จะมีอาการรุนแรง (AOR = 1.52, 95%CI: 1.22, 1.90) สรุป: การศึกษานี้ช่วยสร้างความเข้าใจที่สำคัญเกี่ยวกับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์และ หลังคลอดในประเทศไทย แม้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย มาตรการป้องกันการติดเชื้อและการลดความเสี่ยงของอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 ยังมีความสำคัญ การศึกษานี้พบว่า อายุมารดา สัญชาติ การฉีดวัคซีนโควิด-19 และช่วงการตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ผลการศึกษานี้ยืนยันความสำคัญของมาตรการป้องกันและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เหมาะสมระหว่างการระบาดของโควิด-19
บทคัดย่อ
Background: COVID-19 posed a significant global health crisis, affecting millions worldwide, with pregnant women being particularly susceptible to severe illness and mortality. Pregnant individuals infected with COVID-19 were more likely to require intensive care and invasive ventilation compared to non-pregnant individuals. This study aimed to investigate the severity of COVID-19 in pregnant and postpartum women in Thailand and its associated factors. Methodology: This cross-sectional quantitative study utilized data from the National Pregnant Women and 6-Week Postpartum Women COVID-19 Infection Report System, Health Promotion Bureau, Department of Health, from December 1, 2020, to May 31, 2022. The outcome was the level of severity of COVID-19 infection (no or mild symptoms, and moderate to severe symptoms) among pregnant and postpartum women. The exposures were participants’ characteristics, including age, nationality, COVID-19 vaccination status, and gestational age when infection was assessed. Multivariable logistic regression was used to examine the associations between these characteristics and COVID-19 severity. Results: The study recruited 12,579 pregnant or postpartum women infected with COVID-19 in Thailand. Most participants experienced no or mild symptoms (87.0%), while the rest had moderate to severe symptoms (13%). Pregnant women with higher age (≥35 years) had the highest likelihood of severe symptoms (adjusted odds ratio: AOR = 1.79, 95%CI: 1.44, 2.24), and non-Thai participants had a significantly higher likelihood of severe symptoms compared to Thais (AOR = 1.17, 95%CI: 1.03, 1.34). Pregnant women who received three doses of the COVID-19 vaccine had the lowest likelihood of severe symptoms (AOR = 0.16, 95%CI: 0.10, 0.27). Participants being infected during the third trimester of pregnancy had a higher likelihood of severe symptoms (AOR = 1.52, 95%CI: 1.22, 1.90). Conclusion: This study offers significant insights into the severity of COVID-19 among pregnant and postpartum women in Thailand. Despite most participants experiencing no or mild symptoms, it was imperative for the public to implement preventive measures to reduce the risk of severe symptoms and optimize care for this vulnerable group. Moreover, the study identified the influence of maternal age, nationality, COVID-19 vaccination status, and timing of infection on COVID-19 severity. The findings revealed important implications for the implementation of preventive strategies and the optimization of healthcare services for pregnant women during the COVID-19 pandemic.