บทคัดย่อ
ที่มา : กลุ่มอาการเนโฟรติกแบบปฐมภูมิ (Idiopathic Nephrotic Syndrome, INS) เป็นโรคไตที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเด็ก การกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ในผู้ป่วยเด็กแรกเกิด และเด็กที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ การตรวจทางพันธุศาสตร์ด้วยวิธี Whole Exome Sequencing (WES) เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรค ปัจจุบันการตรวจ WES ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง และไม่สามารถเบิกจ่ายจากกองทุนสุขภาพทุกกองทุน ทำให้ผู้ป่วยเด็กเนโฟรติกที่โรคเกิดจากยีนกลายพันธุ์ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาแบบสหสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลของผู้ป่วยเด็กไทย วัตถุประสงค์ : 1) การตรวจ WES ในผู้ป่วยเด็กไทยที่เป็นโรคเนโฟรติกแบบปฐมภูมิเฉพาะกลุ่มที่อาจพบการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคได้บ่อย 2) กำหนดข้อบ่งชี้ในการตรวจ WES ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยให้กับองค์กรวิชาชีพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเนโฟรติกมีสิทธิประโยชน์ในการเบิกจ่าย วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบสหสถาบันในโรงพยาบาล 14 แห่งทั่วประเทศไทย ทำการตรวจ WES ให้แก่ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเนโฟรติกที่เข้าตามเกณฑ์คัดเลือก หากพบการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคด้วยวิธี WES จะทำการตรวจยืนยันลำดับเบสที่ผิดปกติในผู้ป่วย รวมทั้งบิดา มารดา ด้วยวิธี Sanger Sequencing ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 25 ราย ได้รับการตรวจ WES ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 อายุระหว่างแรกเกิดถึง 18 ปี เพศชาย จำนวน 14 ราย เพศหญิง จำนวน 11 ราย จำแนกเป็น congenital NS จำนวน 2 ราย infantile NS จำนวน 1 ราย Childhood NS จำนวน 22 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ และยากลุ่ม calcineurin inhibitor จำนวน 21 ราย และผู้ป่วย จำนวน 1 ราย เป็นโรคเนโฟรติกที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเนโฟรติกที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ การตรวจ WES พบการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคในผู้ป่วย จำนวน 7 ราย ซึ่งได้ทำการตรวจยืนยันผลด้วยการทำ Sanger Sequencing แล้วทั้งหมด โดย congenital NS พบการกลายพันธุ์ของยีน จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 คือ WT1 และ NPHS1 สำหรับ infantile NS จำนวน 1 ราย พบการกลายพันธุ์ของยีน WT1 ส่วน childhood NS ขณะนี้ได้ทำการตรวจ WES แล้ว จำนวน 19 ราย พบการกลายพันธุ์ของยีน 4 ราย คือ PLCE1, ACTN4, COL4A5, SLC6A19 คิดเป็นร้อยละ 26.6 เทียบเคียงได้กับการศึกษาจากต่างประเทศ ผู้ป่วย จำนวน 1 รายเสียชีวิต และผล WES ทำให้แพทย์สามารถหยุดยากดภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วย จำนวน 5 ราย
บทคัดย่อ
A genetic study is worldwide recommended for children with congenital, infantile, syndromic-form, familial-form, and steroid resistance nephrotic syndrome (NS). In Thailand, the evaluation of the monogenic cause of nephrotic syndrome is limited due to government reimbursement policy. To delineate the disease burden in Thai children and provide data for the government, we employed whole-exome sequencing (WES) to detect monogenic causes of NS nationwide by using more stringent inclusion criteria than worldwide recommendations. This oneyear multicenter study recruited 25 patients including two congenital NS (CNS), one patient with infantile NS (INS), one patient with familial focal segmental glomerulosclerosis, and twenty-one childhood NS with calcineurin resistance NS (CRNS). We identified causative gene mutations in 7 individuals, accounting for 100% of CNS and INS, and 26% of childhood CINS. They carried five previously reported genes including WT1, NPHS1, PLCE1, ACTN4, and COL4A5. In addition, we identified a novel heterozygous G1538+1T SLC6A19 mutation causing hyperglycinuria, nephrolithiasis, and a phenocopy of SRNS. This nationwide study demonstrated that only twentyfive patients met the stringent inclusion criteria for WES during one year of the study. WES allowed for the definite diagnosis and discontinuation of unnecessary immunosuppressive drugs in five patients whose expenses exceeded the WES cost. We provided indications for WES among children with nephrotic syndrome for the Thai National Health Security Office for universal healthcare coverage.