บทคัดย่อ
ที่มา มาตรการของภาครัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคายาได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่มีการพัฒนานโยบายแห่งชาติด้านยาฉบับแรกของประเทศไทย จึงควรมีการวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบต่อราคายาที่เกิดจากมาตรการต่างๆ เพื่อนำเสนอนโยบายราคายา การกำกับดูแลระบบราคายาที่เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ฐานข้อมูลการซื้อยาจากกรมบัญชีกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561- 2565 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560-30 กันยายน พ.ศ. 2565) รวม 5 ปี กลุ่มตัวอย่างยาจัดแบ่งตามกลุ่มการรักษายาที่มีผู้ผลิต/ผู้นำเข้าเพียงรายเดียว และหลายราย ยาชีววัตถุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม excel การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยนำผลการวิจัยเชิงปริมาณเข้าสู่ที่ประชุมกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียกับราคายา วิเคราะห์เนื้อหาจากการประชุมกลุ่มจัดทำเป็นร่างนโยบายแห่งชาติด้านยาที่จะใช้เป็นแนวทางการกำกับดูแลราคายา ผลการศึกษาได้นำเสนอร่างนโยบายแห่งชาติด้านยา โดยใช้ผลจากการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ราคากลางเป็นมาตรการควบคุมราคายาที่มีผลต่อราคาจัดซื้อมากกว่ามาตรการอื่นๆ วิธีการจัดซื้อมีผลต่อราคาซื้อยาต้นแบบไม่แตกต่างกันมาก แต่มีผลต่อยาสามัญโดยพบว่าราคายาลดลง ยาต้นแบบที่มีผู้จำหน่ายรายเดียวพบราคาซื้อแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาล การมียาคู่แข่งขันเพิ่มทำให้ราคาลดลง ระยะทางไม่มีผลต่อราคาจัดซื้อ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ข้อมูลมาตรการใหม่ที่ควรทำ เช่น การกำหนดให้ยามีราคาเดียวจะช่วยให้สามารถจัดซื้อยากลุ่มนี้ได้ในราคาที่ไม่แตกต่างกัน ยาราคาแพงและอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรใช้วิธีการต่อรองราคาและการจัดซื้อรวม ควรมีการกำหนดราคาในระดับก่อนออกจำหน่ายโดยเฉพาะยาราคาแพงและยาต้นแบบ ปรับกระบวนการต่อรองราคาและกระบวนการจัดซื้อที่เหมาะสมกับยาแต่ละประเภท สรุป รัฐควรจัดให้มีนโยบายแห่งชาติด้านราคายาที่เหมาะสมกับประเทศไทย พัฒนาระบบการควบคุมกำกับราคายา ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ครอบคลุมการจัดทำหลักเกณฑ์กำหนดราคากลาง และกำหนดราคายาให้เหมาะสมกับความสามารถในการจ่าย เพื่อประโยชน์ในการวางแผนด้านงบประมาณของประเทศ ความเป็นธรรมของการเข้าถึงยา และการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ กุญแจของความสำเร็จของแผนการพัฒนานโยบายแห่งชาติด้านราคายา ควรประกอบด้วย Flow SEB ดังนี้ คือ F: Flow of work S: Single policy E: Exclusive authorized organization B: Bundle measures
บทคัดย่อ
Background: In Thailand, since the first report 16 years ago, the Thai FDA has established several
committees to address drug pricing issues. However, there is a lack of comprehensive documentation
on the progress and effectiveness of these committees, which is crucial for developing and managing
Thailand's drug pricing policy.
Objectives: This study aims to evaluate the current drug pricing situation in Thailand and develop
policy recommendations to enhance the drug pricing system. Specific objectives include assessing
drug prices in public and private sectors, analyzing pricing structures, and evaluating the availability
of essential medicines.
Methods: A cross-sectional survey was conducted using WHO/Health Action International (HAI)
methodology. Data collection focused on the availability and affordability of medicines in various
healthcare settings, including public and private sectors.
Results:
Public Sector: Innovator brands were procured at nearly twice their international reference prices,
and generics at lower than reference prices. Public sector patient prices showed significant markups.
Private Sector: Innovator brands were sold at 6.40 times and generics at 4.71 times their international
reference prices.
Availability: Essential medicines had variable availability rates, with some widely accessible and others
less so.
Price Components: Imported drug prices included significant margins at each stage from
manufacturing to consumer.
Affordability: Most drugs were affordable, except for high-cost items like Epoetin alfa injection.
International Comparison: Many drugs in Thailand were cheaper than in other countries, but some
generics were more expensive.
Conclusions: The study highlights key issues in drug pricing and availability in Thailand. It recommends
that policymakers establish an institute to regularly monitor and report drug price index. Additionally,
it suggests developing an appropriate drug pricing policy to regulate prices throughout the supply
chain.