บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยศึกษาจากการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. ในพื้นที่ศึกษา จำนวน 12 แห่ง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จากผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. ในพื้นที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุมบุคลากรของ อปท. นักวิชาการและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นกลไกสนับสนุน และประชาชนที่เข้าร่วมกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จำนวน 156 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเด็นที่ อปท. เลือกดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น การจัดการขยะ การจัดการน้ำเสีย การดูแลผู้สูงอายุ และการท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น โดยแนวทางการพิจารณาเลือกประเด็นในพื้นที่นั้น ประกอบด้วย นโยบายการพัฒนาของท้องถิ่น ข้อมูลทางวิชาการที่แสดงถึงปัญหาสำคัญของพื้นที่ และข้อเรียกร้องหรือข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นปัญหาในพื้นที่ 2) รูปแบบการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. ประกอบด้วยการดำเนินงานใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม การปรึกษาหารือกับผู้บริหาร การมอบหมายผู้ปฏิบัติงานหลัก และการแต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. รวมถึงการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ การสร้างเป้าหมายร่วม และการวางแผนดำเนินงาน ระยะที่ 2 ปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนกลั่นกรองนโยบายและแผนงาน ขั้นตอนที่ 2 กำหนดขอบเขต ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ได้แก่ การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินผลกระทบ การพัฒนาข้อเสนอ และการจัดทำรายงาน ขั้นตอนที่ 4 ทบทวนร่างรายงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้กลไกที่เกี่ยวข้องและสาธารณะ ได้พิจารณาผลการประเมินผลกระทบและข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อให้ข้อเสนอแนะและให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 5 ผลักดันเข้าสู่การตัดสินใจ ระยะที่ 3 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล โดยให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลไกการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันศึกษาข้อมูลและพัฒนาข้อเสนอที่จะร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาของพื้นที่ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายพลเมืองตื่นรู้ และการเสริมพลังเครือข่าย ให้เกิดภาวะผู้นำแบบกลุ่ม รวมถึงการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 3) การสนับสนุนศักยภาพในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพให้แก่ อปท. มีการดำเนินงานใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ผ่านการจัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยมีทั้งการเรียนภาคทฤษฎี และปฏิบัติการในพื้นที่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา โดยมีศูนย์วิชาการ HIA เป็นพี่เลี้ยง 2) การเรียนรู้เชิงรุกในพื้นที่ปฏิบัติการ เป็นการพัฒนาศักยภาพโดยบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในพื้นที่ปฏิบัติการร่วมกัน เป็นลักษณะการฝึกปฏิบัติในงานเรียนรู้ไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติ โดยการเรียนรู้กระบวนการทำงานทางวิชาการในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาการทำงานของ อปท. ไปพร้อมกัน และ 3) การเรียนรู้แบบสร้างพลังร่วม เป็นการพัฒนาศักยภาพโดยบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง มี “พื้นที่เรียนรู้กลาง” เป็นเวทีในการนำเสนอผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน มีกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกระบวนการในพื้นที่คอยสนับสนุนให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน และมีศูนย์วิชาการฯ เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ทั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพทั้ง 3 รูปแบบของการเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดการบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและมีการฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง โดยมีนักวิชาการจากศูนย์วิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับภาค เป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำในแต่ละกระบวนการ ซึ่งการเลือกใช้วิธีการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับบริบทพื้นฐานของ อปท. และประเด็น รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง 4) ปัจจัยความสำเร็จในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. ได้แก่ (1) การมีเป้าหมายร่วมของทีมงานและเครือข่ายที่เข้มแข็ง (2) การสนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่น และมีผู้ปฏิบัติงานหลักที่มีศักยภาพ (3) การมีพี่เลี้ยงทางด้านวิชาการที่เข้มแข็งและการเข้าถึงข้อมูลและหลักฐานที่มีคุณภาพ (4) การบูรณาการงบประมาณจากแหล่งทุน (5) การขยายผลสู่การขับเคลื่อนผ่านกลไกที่เหมาะสม 5) ข้อท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ (1) การผลักดันให้กลไกที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ (2) ความต่อเนื่องยั่งยืนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองท้องถิ่น (3) การสร้างเครือข่ายกลไกสนับสนุนที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ (4) การพัฒนาข้อเสนอแนะจากการทำ HIA ที่เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปขับเคลื่อนได้จริง (5) การทำงานในประเด็นนโยบายที่ข้ามขอบเขตพื้นที่ของ อปท. แต่ละแห่ง ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อ อปท. ทั่วประเทศ ในการนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในพื้นที่ และเป็นแนวทางการดำเนินงานให้กับสถาบันการศึกษาและนักวิชาการหรือนักวิจัย ที่มีความสนใจในการศึกษาวิจัยโดยใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นแนวทาง หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่ายการทำงานข้ามภาคส่วน เพื่อการดำเนินกิจกรรมสาธารณะในด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ให้กับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. และเครือข่ายอื่นๆ ในระยะต่อไป
บทคัดย่อ
The purpose of this study is to study the operating model of health impact
assessment in selective local administrative organizations (LAO). The qualitative research
method was purposively applied 12 local administrative organizations. The Health Impact
Assessment (HIA) had been implemented in those selected study sites. The data were
collected by documentary reviews, participatory observations and in-depth interviews with
156 Key Informants who actively involved in HIA process. These included the personnel of
the local administrative organizations, the academia and public organizations being
supportive mechanisms and people joining the HIA process. The findings were as follows.
Firstly, Wide-ranged challenge issues were selected by 12 LAOs for HIA application
e.g., waste management, water, elderly, occupational health, community tourism. The
conditions for selecting issues include development policy direction, prioritized health
problems, and citizen requests or complaints regarding problematic issues in the area.
Secondly, the operating model of health impact assessment in selective LAOs are
three phases as follows. The 1st phase was the preparation by discussing with local
administrators, assigning the key actor or main workers, appointing the HIA board, providing
information and knowledge about the HIA for capacity buildings, setting mutual goals and
making operational plans. The 2nd phase was the operations of HIA process consisted of five
steps : 1) screening, 2) Scoping, 3) Assessing or appraisal (this process comprised of subprocesses that were data collections and analyses, policy recommendations development
and report preparations), 4) reviewing HIA report by the relevant agency and the public to
discuss the health impacts and policy recommendations to provide suggestions and
additional information for the completeness of the HIA report, and 5) Influencing. The 3rd
phase was concentrated on driving, monitoring and evaluation. The entire HIA processes
was also focused on creating the collaborative learning process among related operating
mechanisms, working together to gather information and develop the policy
recommendations or solutions that will jointly drive action towards development or solving
problems in the area. Most participants mentioned that the meaningful and inclusive
participation through the HIA process was crucial to make sense of belonging and comply with their agreement. The ‘HIA influencing’ was significant for policy commitment and
continuing support from local administrative organizations and key actors. Participants also
mentioned about feeling motivated, active citizen, community empower and strengthened
the networks to create collective leadership as well as developed mutual ownerships for
the policies driving toward sustainable future.
Thirdly, the mode of HIA performance improvements and benefits for the local
administrative organizations and communities could be classified into three types. Type 1,
learning for continually improving performances focused on certain target group’s
performances through workshops that were designed for identified target group. These
included HIA concepts and practices by learning from case studies with the HIA mentoring
academic center. Type 2, active learning how to operate and integrate from concepts into
practice and action in respective local contexts. Type 3, learning how mutual and collective
empowerment was formed by practice experience as a ‘learning platform’ by presenting
and disseminating findings from each process. Node and network was also formed providing
supports or suggestions to each other, as well as, mentoring from the academic center.
Importantly, there was the regional HIA academic center or hub to supervise and technical
support for those local implementation and network.
Fourthly, the success factors for health impact assessment by local administrative
organizations include: (1) Having common goal among team members and a strong network,
(2) Supporting from local administrators and potential key practitioners, (3) Having strong
academic mentors and access to quality data and evidence, (4) Integrating budgets from
funding sources, (5) Policy implementing through appropriate driving mechanisms.
Fifthly, key challenges include: (1) Encouraging relevant mechanisms to recognize
the importance, (2) Being sustainable of HIA process from local political changes, (3) Building
a network of strong and capable supporting mechanisms, (4) Developing concrete
recommendations from HIA, (5) Working on common policy of neighboring local
administrative organizations.
The knowledge obtained from this study will be beneficial for the local
administrative organizations across the country as the guidelines for HIA application
as well as the learning model for academic institutes/scholars/researchers’ role to support
HIA activities at local level and work with multi-sectoral networks for HIA and other
public activities. Moreover, it is also evidence for the National Health Commission Office to develop more proper supporting mechanism for HIA application in local administrative
organizations and other networks in the future.