บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: โครงการวิจัยย่อยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สามารถใช้จัดการข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในเบื้องต้น เพื่อให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีพื้นที่เป้าหมาย 3 รพ.สต. (เขาตูม ยะรัง และเมาะมาวี) และ 3 อบต. (ยะรัง ปากูและสาคอบน) จังหวัดปัตตานี โดยเริ่มจากลงพื้นที่สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารใน อบต. และ รพ.สต. เสนอการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับ อบต. และ รพ.สต. เพื่อใช้ในการติดตามและตัดสินใจ ซึ่งโครงการย่อยนี้พัฒนาแพลตฟอร์มการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อติดตามสุขภาพชุมชนโดย รพ.สต. และ อบต. สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนในการช่วยเหลือและใช้ในการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 39 คน จำแนกเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้บริหารและพนักงาน อบต. 6 คน ผู้บริหาร รพ.สต. และพยาบาลวิชาชีพ 9 คน อสม. 9 คน และผู้ป่วย/ญาติ 15 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจง (อบต. รพ.สต.) และแบบง่าย (อสม. ผู้ป่วย) ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้แพลตฟอร์ม ผลการศึกษา: แพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาสามารถแก้ปัญหา เพิ่มความสะดวกและความพึงพอใจแก่ผู้มารับบริการและผู้ให้บริการในหลายประเด็นผ่านการอบรมใช้งานแพลตฟอร์มและมีการประเมินโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดย 1. ระบบคัดกรองสุขภาพของคนในชุมชนเปลี่ยนจากระบบกรอกใส่แบบฟอร์มกระดาษ มาเป็นระบบดิจิทัลที่มีความแม่นยำรวดเร็ว สะดวก และข้อมูลถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ real time และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน การแก้ปัญหา และการบริหารจัดการเกี่ยวกับสุขภาพของคนในชุมชน 2. รพ.สต. และ อบต. สามารถมองเห็นทิศทางและแนวโน้มด้านปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างแม่นยำและตลอดเวลา (real time) ทำให้ง่ายต่อการกำหนดทิศทางและวางแผนการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ได้ตรงจุดและถูกต้อง 3. เป็นตัวกลางในการสื่อสารการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต. รพ.สต. อสม. และกลุ่มเป้าหมาย 4. ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การนัดหมายเพื่อการรักษาและการติดตาม ผลการประเมินทักษะหลังการอบรมเสริมทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะ: เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลและติดตามสุขภาพชุมชนและประชาชนผู้ใช้บริการควรได้รับการฝึกอบรมการใช้แพลตฟอร์มใหม่นี้อย่างครอบคลุม
บทคัดย่อ
Background and Rationale: This subproject aimed to develop a digital platform for diabetes and
hypertension screening for sub-district health promoting hospital (SHPH) to tract community health to
align with efficient community development of the big project.
Methodology: This participatory action research involved 3 target areas of 3 SHPHs (Khaotum,
Yarang, and Ma’mawi) and 3 sub-district administrative organizations (SAOs: Yarang, Pakoo, and Sakhobon)
in Pattani province. The research process began with community survey to analyze the problems of
executives in using data for decision-making. The big project offered platforms to executives for monitoring and decision-making. The platform of diabetes and hypertension screening to monitor community
health was developed for the present study. Executives were able to access health data for planning
and decision-making. The research recruited 39 samples representing 4 groups of stakeholders: 6 SAO
executives and employees, 9 executives and nurses of SHPHs, 9 village health volunteers (VHVs), and 15
patients/relatives. The samples were selected purposively (from SOAs and SHPHs) and randomly (VHVs
and patients). Questionnaires and interviews were tools for evaluating satisfaction and the platform uses.
Results: The development of the digital platform solved data problems with convenient use and
high satisfaction to users through serial trainings. Evaluation using questionnaires and interviews found
that: 1) the change of community health screening from a manual (paper) based to digital based delivered
accurate, fast, convenient, and systematically stored database for real time use. This helped future
planning operations on tracking community health. 2) SHPH and SOA could see trends of community
health problems at real time and plan to mitigate problems with precision, clarity, and accuracy. 3) The
platform served as communication and collaboration medium between SOA, SHPH, VHVs, and target groups. 4) It could facilitate the basic health screening, make an appointment for treatment and follow-up
for people in need. Post-training evaluation of platform use skill was at high score.
Suggestions: Responsible officers in monitoring community health and service users should receive
comprehensive, clear and easy-to-understand training on the use of this new platform.