บทคัดย่อ
การแพทย์ฉุกเฉินถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพที่สามารถลดอัตราตายและผลกระทบจากการเจ็บป่วยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต อย่างไรก็ตาม การแพทย์ฉุกเฉินนั้นยังมีความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะในการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน ในประเทศไทยจึงมีการผลักดันนโยบายการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านการถ่ายโอนภารกิจศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินหรือศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการฯ จากโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป มายังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อมีเป้าประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในบริบทท้องถิ่น การศึกษานี้จึงทำเพื่อประเมินมุมมองของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับคุณภาพของบริการการแพทย์ฉุกเฉินผ่านการประเมินประสบการณ์ ความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินเปรียบเทียบระหว่างจังหวัดที่มีการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการและจังหวัดที่ยังไม่มีการถ่ายโอน ซึ่งส่งผลต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน จากการศึกษาพบว่า จังหวัดที่มีการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการมีระดับความเชื่อมั่นที่น้อยกว่าจังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอัตราการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติและฉุกเฉินเร่งด่วน (emergency severity index, ESI 1 หรือ 2) น้อยกว่า (จังหวัดที่มีการถ่ายโอน ร้อยละ 32.7; จังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอนร้อยละ 47.5; p-value = 0.01) และระดับความเชื่อมั่นในการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหากมีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินในอนาคตต่ำกว่า (จังหวัดที่มีการถ่ายโอนร้อยละ 72.5; จังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอนร้อยละ 83.1; p-value = 0.01) ทว่าระดับความพึงพอใจต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการให้บริการของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน และโรงพยาบาลในทั้งสองกลุ่มจังหวัดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สะท้อนถึงช่องว่างในการพัฒนางานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งอาจมีผลมาจากความแตกต่างกันของการออกแบบบริการและกลไกการอภิบาลระบบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำงานร่วมกันของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัดจึงเป็นโอกาสในการพัฒนาที่สำคัญในการผลักดันนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพตามความต้องการของพื้นที่ได้
บทคัดย่อ
Emergency medical service (EMS) plays a critical role in reducing mortality and mitigating the consequences of emergency health conditions. Despite their importance, EMS systems often encounter
accessibility challenges. In Thailand, a decentralization policy has been introduced, including transferring
the function of provincial EMS dispatch center from provincial hospital of Ministry of Public Health (MoPH)
to the provincial administration organization (PAO). This policy aims to enhance responsiveness and accountability to local government. This study investigated the patients’ perspective on quality of EMS
from exploring the experiences, satisfaction and level of confidence in EMS between decentralized and
status-quo provinces. Our findings indicated a statistically significant reduction in EMS utilization rates in
the transferred dispatch provinces (transferred: 32.7%; non-transferred: 47.5%; p = 0.01). Furthermore,
public confidence in future EMS uses was notably lower in the transferred provinces (transferred: 72.5%;
non-transferred: 83.1%; p = 0.01). Despite these differences, no significant variation was observed in the
satisfaction on operational performances of dispatch centers, ambulance services, and hospital emergency departments across the two groups. These findings highlighted persistent challenges in EMS provision under PAO governance, likely due to the differences of service delivery design and governance
mechanisms between units under MoPH and under local administration. The results underscored the
need for strengthened collaboration between the National Institute of Emergency Medicine (NIEM) and
local governance bodies to address these challenges realizing the full potential of decentralization. Such
efforts would optimize EMS delivery in accordance with local health priorities ensuring equal access to
high-quality emergency care across Thailand.