บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: การส่งเสริมให้บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าในอาชีพนั้น มีความสำคัญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. และ 3) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระหว่างเมษายนถึงสิงหาคมพ.ศ. 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารระดับนโยบาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และคณะกรรมการสุขภาพระดับท้องถิ่นจำนวน 15 คน ผู้บริหารระดับพื้นที่ ได้แก่ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข ผู้แทนจากภาค อปท. จำนวน 80 คน ผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนจำนวน 120 คน และผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณ คือ บุคลากรของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจ เลือกแบบเจาะจง และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของบุคลากร จำนวน 430 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา: 1. สิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับการศึกษาเชิงคุณภาพที่พบว่า โดยภาพรวมมีการจัดให้ตามคู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและ รพ.สต. 2. ปัญหาที่พบ ได้แก่ ความล่าช้าในการเบิกจ่ายค่าตอบแทน การประเมินผลเพื่อเลื่อนเงินเดือนไม่เป็นธรรม ความแตกต่างในเรื่องสวัสดิการ และบางสายงานไม่สามารถเติบโตได้ในงานของตนเอง และ 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่สำคัญคือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทบทวนระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย เพื่อให้บุคลากรได้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม และ อบจ. ควรจัดทำคู่มือ/ขั้นตอน ระเบียบ/แนวทางการปฏิบัติต่างๆ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน วิจารณ์และข้อยุติ: เพื่อขวัญและกำลังใจของบุคลากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการในด้านต่าง ๆ คือ ทบทวนและปรับปรุงระเบียบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้มีความคล่องตัวมากขึ้น กำหนดตัวชี้วัดการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือนที่ชัดเจนและเป็นธรรม จัดทำแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพ (career path) อย่างชัดเจนในทุกสายงาน กำหนดตำแหน่งระดับสูงขึ้น โดยเฉพาะในสายงานพยาบาลวิชาชีพ และเร่งรัดกระบวนการประเมินผลงานทางวิชาการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
บทคัดย่อ
Background and Rationale: Providing fringe benefits, welfare, and promoting career advancement
to health workforce of a sub-district health promoting hospital (SHPH) under the provincial administrative
organization (PAO) are crucial. The purpose of this research was: 1) to examine the fringe benefits, welfare,
and career advancement opportunities for SHPH personnel; 2) to investigate the problems, obstacles,
and proposals regarding fringe benefits, welfare, and career advancement for SHPH personnel; and 3) to develop policy recommendations related to fringe benefits, welfare, and career advancement for SHPH
personnel under PAO.
Methodology: This research employed a mixed-methods approach, incorporating quantitative
and qualitative research methodologies conducted from April to August 2023. The qualitative samples
selected purposively consist of policy-level executives including experts and executives of the Ministry of
Public Health (n = 15); local government organization executives, provincial health executives and regional
health executives (including health region inspectors, provincial chief medical officers, PAO presidents,
public health division directors, and representatives from local administrative organizations: n = 80);
operational health workforce of the transferred SHPHs (n = 120); and experts joining final policy meeting
(n = 20). Qualitative data were collected through in-depth interviews and focus group discussions. For
the quantitative study, the samples consist of 430 personnel from transferred SHPHs. The participants
were selected using purposive and stratified random samplings based on staff proportions. Quantitative
data were collected using an online questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics for
quantitative method and content analysis for qualitative method.
Results: 1. Overall fringe benefits, welfare, and career advancement were at moderate level. The
qualitative findings showed that these aspects generally followed the healthcare decentralization guidelines
of the SHPH (and the 60th Anniversary of Her Majesty Queen Sirikit Health Center). 2. Problems included
delays in compensation payments, unfair salary promotion evaluations, differences in welfare benefits,
and limited growth opportunities in certain job positions. 3. Key policy recommendations included: the
Department of Local Administration overseeing decentralization should organize knowledge-sharing
activities and review hindering regulations to ensure health workforce receiving appropriate benefits.
PAOs should develop and widely disseminate manuals, procedures, regulations, and practical guidelines.
Discussion and Conclusion: To boost staff morale and motivation, relevant agencies should
simplify and improve compensation payment rules for quicker processing, set clear and fair criteria for
salary increases, create clear career paths for all job titles, establish higher-level positions, especially for
professional nurses; and speed up academic performance reviews within 6 months.