บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ดำเนินโครงการลดความแออัดและลดระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกสิทธิการรักษาให้ไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน ตามรูปแบบที่ 1 คือโรงพยาบาลจัดซื้อและจัดยาสำหรับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลแล้วจัดส่งไปยังร้านยาเพื่อให้เภสัชกรร้านยาจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย มีร้านยาเครือข่ายทั้งหมดจำนวน 18 แห่ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโครงการในมุมมองของโรงพยาบาล ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาโดยการรวบรวมผลจากฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลในช่วงปีงบประมาณ 2563-2566 เพื่อประเมินประสิทธิภาพโครงการ โดยพิจารณาตัวชี้วัดหลักด้านต้นทุนรวมในการจัดการใบสั่งยาและจัดส่งยา และตัวชี้วัดเสริมด้านความน่าเชื่อถือ เช่น อัตราการคืนยา ความผิดพลาดทางยา และศักยภาพตามสัดส่วนของโรคที่ส่งออกไปรับยาที่ร้านยา ผลการศึกษา: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2566 มีการบันทึกการรับยาที่ร้านยา 36,415 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 8.7 ของใบสั่งยาทั้งหมด การให้บริการในเวลาราชการคิดเป็นร้อยละ 4.6 และนอกเวลาราชการคิดเป็นร้อยละ 43.3 ของการให้บริการทั้งหมด ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยข้อมูลปีล่าสุดมีการลดต้นทุนค่าแรงนอกเวลาราชการ พบว่าต้นทุนต่อใบสั่งยาลดลงจาก 105.50 บาทในปี พ.ศ. 2563 เหลือ 41.23 บาทในปี พ.ศ. 2566 แต่อัตราการคืนยาจะสูงขึ้นโดยในปีล่าสุดเท่ากับร้อยละ 2.5 แต่ไม่พบการสูญหายของยา โครงการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน แต่การเบิกจ่ายค่าชดเชยการบริการตามโครงการที่ได้รับคืนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 49 บาทต่อใบสั่งยา ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนการดำเนินงานที่รวมต้นทุนความน่าเชื่อถือ สำหรับศักยภาพของโครงการ การส่งออกใบสั่งยาโรคยอดนิยม ได้แก่ โรคต้อหิน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และไตวายเรื้อรัง สรุป: ในอนาคตควรมีนโยบายพิจารณาปรับปรุงการชดเชยค่าใช้จ่ายให้เพียงพอและส่งเสริมรูปแบบการบริการแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ขณะที่ยังคงความสามารถทางการเงินสำหรับหน่วยงานที่เข้าร่วม
บทคัดย่อ
Background and Rationale: Chiangrai Prachanukroh Hospital implemented a project aimed at reducing congestion and waiting times for patients with chronic non-communicable diseases by enabling them to
obtain medications from local pharmacies. This initiative service model 1 allows participating hospital procuring and dispensing medications for individual patients and delivering them to patients at partnered
pharmacies (network). The objective of this study was to evaluate of efficiency of service model 1 from the
hospital’s perspective.
Methodology: A descriptive study was conducted using data collected from the hospital’s information system spanning the fiscal years 2020 to 2023. The cost efficiency focused on total management and
delivery costs per prescription, complemented with the reliability cost incurred from medication returns
and errors. The system’s capacity to manage medication distribution for variety of diseases was another
complementary indicator.
Results: From 2020 to 2023, there were 36,415 prescriptions dispensed through partnered pharmacies,
equivalent to 8.7% of all prescriptions (4.5% of during office hours and 43.3% of after-hours). Most services
served the patients of the universal coverage scheme. Cost analysis revealed a reduction in dispensing costs
from 105.50 THB in 2020 to 41.23 THB in 2023, attributed to saving in overtime wages, despite a cost rise
from the medication return rate of 2.5% in the most recent year. The service model demonstrated improved
cost efficiency, but not covered the reimbursement of 49 THB per prescription set by the National Health
Security Office. The distribution capacity covered conditions such as glaucoma, hypertension, hyperlipidemia,
diabetes, and chronic kidney disease.
Conclusion: Future policy considerations should address adequate reimbursement rates to cover
costs and promote integrated services to optimize resource utilization and health outcomes. These adjustments will help ensure the financial sustainability of the initiative and enhance the quality of healthcare
delivery.