• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประยุกต์ใช้และทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ในบริบทการใช้งานจริงของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง

สิทธา สุขกสิ; Sittha Sukkasi; ก่อเกียรติ เศษชัยชาญ; Korkiat Sedchaicharn; ศราวุธ เลิศพลังสันติ; Sarawut Lerspalungsanti; ฝอยฝน ศรีสวัสดิ์; Foifon Srisawat; สุจิรัชย์ อัฏฐะวิบูลย์กุล; Sujirat Attawibulkul; ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ; Pattrarat Tannukit;
วันที่: 2567-12
บทคัดย่อ
ในสภาวะสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน พบว่ามีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากที่ต้องอยู่ตามลำพังในบางเวลา เช่น เวลาที่คนในครอบครัวออกไปทำงาน ซึ่งในระหว่างนั้นผู้ดูแลที่อยู่นอกบ้านจะไม่สามารถเฝ้าระวังเหตุการณ์เสี่ยงที่อาจจะเกิดผลร้ายแรงต่าง ๆ ได้ รวมถึงเหตุการณ์อันตราย เช่น หกล้ม หมดสติ เกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์ที่น่ากังวล เช่น อยู่ในห้องน้ำนานผิดปกติ เข้าออกห้องน้ำมากผิดปกติ ไม่เข้าห้องครัวเหมือนปกติ หรือเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ลืมกินยา ลืมทำกายภาพบำบัด เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ถึงแม้ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพมีการนำเทคโนโลยีหลากหลายมาช่วยแก้ไขปัญหา ช่วยลดความเสี่ยงได้บางส่วน เช่น อุปกรณ์กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพแบบสวมใส่ อุปกรณ์กดเรียกรถฉุกเฉิน และระบบอัตโนมัติ ในบ้านที่มีอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Things) แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีในตลาดดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความจำเป็นและได้พัฒนาเทคโนโลยี “ระบบดูแลผู้อยู่อาศัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัย” (ระบบ Well-Living Systems) เพื่อช่วยเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่น่ากังวล เป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ขณะที่ผู้ดูแลไม่อยู่บ้าน เพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับทั้งผู้ดูแลและผู้สูงอายุ โดยมีคุณลักษณะ คือ ช่วยเฝ้าระวังอย่างชาญฉลาด ด้วยการเรียนรู้และทำนายพฤติกรรมปกติของผู้อยู่อาศัยโดยอัตโนมัติ เช่น ระยะเวลาในการอยู่ในห้องน้ำ ความถี่ในการอยู่ในแต่ละพื้นที่บ้านในช่วงเวลาต่าง ๆ จำนวนครั้งการเปิดปิดแต่ละประตูในช่วงเวลาต่าง ๆ ช่วงเวลากินยา เป็นต้น เฝ้าระวังพฤติกรรมที่ผิดจากปกติ และปรับเกณฑ์การตรวจจับความผิดปกติให้เหมาะกับพฤติกรรมที่เฉพาะตัวของผู้อยู่อาศัยแต่ละบ้านโดยอัตโนมัติ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนผู้ดูแลที่อยู่นอกบ้าน เมื่อได้ประเมินว่าอาจเกิดเหตุฉุกเฉินหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติซึ่งอาจจะน่าเป็นกังวล โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ไม่มีการใช้กล้อง ไม่เผยแพร่ข้อมูลพฤติกรรมดิบ และแจ้งเตือนผู้ดูแลด้วยข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น สามารถช่วยเฝ้าระวังพฤติกรรมและเตือนให้ผู้สูงอายุไม่ลืมทำกิจกรรมที่สำคัญต่อสุขภาพ เช่น การกินยา การเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การขยายผลและนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง จึงประยุกต์ใช้และตรวจสอบประสิทธิผลของระบบในบริบทการใช้งานจริงของครัวเรือน อาสาสมัครที่มีผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง จำนวน 31 ครัวเรือน เพื่อขยายผลการทดสอบใช้งานระบบ บันทึกข้อมูลและปัญหา และปรับปรุงระบบให้มีศักยภาพและความพร้อมในเชิงพาณิชย์ และได้จัดสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ระบบและผลการประยุกต์ใช้ระบบในบริบทการใช้งานจริง เพื่อให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ได้รู้จักและเรียนรู้ประโยชน์และการใช้งานของระบบ และเพื่อรับฟังมุมมองและความคิดเห็นของผู้ใช้ประโยชน์ต่อผลการวิจัย

บทคัดย่อ
In the current social and economic context, many elderly are found living alone at certain times, such as when family members are away at work. During these times, caregivers who are out of home are unable to monitor and prevent potentially severe incidents, including dangerous events like falls, faints, or accidents, as well as concerning situations such as spending an unusually long time in the bathroom, frequent or unusual bathroom usage, not entering the kitchen as usual, or health-related risks like forgetting to take medications, skipping physical therapy, or engaging in minimal physical movement. Although the healthcare industry has adopted various technologies to address some of these challenges and reduce risks—such as surveillance cameras, wearable health devices, emergency call buttons, and IoT-enabled home automation systems—existing products on the market still face several limitations. The research team has recognized this necessity and developed a technology called the “Well-Living Systems” to round-the-clock monitor concerning situations of elderly. The system features intelligent monitoring by learning and predicting the normal behaviors of residents automatically, such as the duration of bathroom usage, the frequency of being in different areas of the house at various times, the number of times doors are opened and closed, and medication schedules. It detects abnormal behaviors and adjusts detection criteria to suit the unique behavior patterns of each household automatically. The system sends notifications to caregivers when it assesses that an emergency or abnormal behavior, potentially warranting concern, may occur. Importantly, the system maintains the privacy of the residents by not using cameras, not sharing raw behavioral data, and notifying caregivers only with essential information. It also helps monitor behaviors and reminds the elderly to carry out activities crucial to their health, such as taking medications and engaging in physical movement. To prepare the system for broader applications and benefits, the test and validation of the system’s effectiveness in real-world contexts of household with elderly individuals living alone. This involves working with 31 volunteer households to expand testing, record data and issues, and refine the system for commercial readiness. Additionally, a seminar was organized to disseminate information about the system and its application in real-world contexts. This event aimed to raise awareness of the research and its benefits, educate potential users, and gather feedback and perspectives from stakeholders on the research outcomes.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3229.pdf
ขนาด: 18.69Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 92
ปีพุทธศักราชนี้: 92
รวมทั้งหมด: 92
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV