บทคัดย่อ
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM2.5 (particulate matter ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร) ที่เกินมาตรฐานทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครพนมซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 8 นั้นได้รับผลกระทบอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ในจังหวัดนครพนมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนานโยบายและแนวทางการดำเนินงาน และเป็นกรณีศึกษาสำหรับเขตสุขภาพที่ 8 การศึกษานี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง 11 ราย และทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 จำนวน 508 ฉบับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2566 ที่โรงพยาบาลนครพนม ผลการศึกษา ในเชิงคุณภาพ พบว่า ระบบเฝ้าระวังได้รับการยอมรับสูง เนื่องจากความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ และระบบมีความง่ายและมีความยืดหยุ่นที่เหมาะสม ผลการศึกษาในเชิงปริมาณ พบว่า จากเวชระเบียนผู้ป่วย 485 ราย ที่เข้าเกณฑ์รหัสการจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับที่ 10 (International Classification of Disease tenth revision: ICD-10) มี 442 ราย ตรงตามนิยามการรายงาน และ 355 ราย ตรงตามนิยามโรค ระบบมีความครอบคลุมสูง (ร้อยละ 90.7) แต่มีค่าพยากรณ์บวกปานกลาง (ร้อยละ 72.9) เนื่องจากผู้ป่วยรายงานโรคที่เกิดจากการสัมผัส PM2.5 มาด้วยอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 แต่ถูกรวบรวมเข้ามาจากการลงการวินิจฉัยโรคร่วมหรือการวินิจฉัยอื่น นอกจากนี้ ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับ PM2.5 กับจำนวนผู้ป่วย เนื่องจากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์และความถูกต้องของข้อมูล สรุป ระบบเฝ้าระวังโรคจากการสัมผัส PM2.5 ในจังหวัดนครพนมมีสถานะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ด้วยความครอบคลุมสูงและความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม ควรปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 และควรพัฒนาระบบการลงรหัสโรค Z58.1 โดยใช้ machine learning การปรับปรุงและการพัฒนาเหล่านี้จะสามารถเพิ่มศักยภาพของระบบและนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้นได้
บทคัดย่อ
Thailand is facing air pollution problems from particulate matter of diameter less than 2.5 micron or
PM2.5 exceeding standard levels every year. Particularly Nakhon Phanom province of Health Region 8 has
been significantly affected. This study aimed to evaluate the PM2.5 surveillance system in Nakhon Phanom
both qualitatively and quantitatively to develop policies and operational guidelines and to serve as a case
study for Health Region 8. This research employed a mixed-method approach by conducting in-depth
interviews with 11 public health officials and stakeholders and reviewing 508 medical records of patients
suspected of PM2.5-related diseases at Nakhon Phanom Hospital between October 1, 2020 and March 31,
2023. The qualitative analysis revealed a high level of acceptance of the surveillance system, primarily due
to growing public concern regarding the health impacts of air pollution. The system was found to be
relatively simple and flexible in implementation. The quantitative results showed that out of 485 medical
records, 442 matched the reporting definitions according to the ICD-10 (International Classification of Disease
10th revision) criteria, and 355 matched the disease definitions. The system demonstrated high coverage
(90.7%), indicating that a substantial proportion of potential cases were included in the surveillance
data. However, the positive predictive value was moderate (72.9%), suggesting that while the system is
generally accurate, there is room for improvement in differentiating between diseases directly attributable
to PM2.5 exposure and other factors. Additionally, no clear correlation was found between PM2.5 levels and
the number of reported patients. The absence of clear diagnostic criteria for diseases related to PM2.5 exposure adversely impacts data accuracy and consistency. In conclusion, the PM2.5 surveillance system in
Nakhon Phanom province was functioning satisfactorily, with high coverage and reasonable data
accuracy. However, the study highlights the need to improve the diagnostic criteria for PM2.5-related
diseases and the development of learning machine artificial intelligence for coding Z58.1. Furthermore,
refinements to the surveillance system would better support the development of evidence-based policies
aimed at mitigating the health impacts of air pollution.