บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความมั่นคงทางยา (Drug Security) ของประเทศไทย วิเคราะห์เชิงลึกตามกรอบแนวคิด SUPERB ซึ่งประกอบด้วย 1. Self-sufficient: การพึ่งพาตนเองและความสามารถในการผลิตภายในประเทศรวมทั้งมีเหลือเพื่อส่งออก 2. Up-start: การส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ตอัปรายใหม่ในอุตสาหกรรมยา 3. Partnership: ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา 4. Efficiency: ความมีประสิทธิภาพของระบบ กฎระเบียบ ข้อกำหนดต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยา 5. Research & Development: การวิจัยและพัฒนายาหรือนวัตกรรมยา 6. Balancing Environment and Benefits with the Community: การสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยากับสิ่งแวดล้อม รวมถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ข้อมูลที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิด (Brainstorming) การพิจารณาประเด็นทางกฎหมาย และการวิเคราะห์เชิงปริมาณของอุตสาหกรรมยาในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยยังคงพึ่งพาการนำเข้าสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (APIs) จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางยาในช่วงวิกฤต เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 แม้จะมีหน่วยงานภายในประเทศที่มีศักยภาพในการผลิต API และสารช่วยทางเภสัชกรรม (Excipient) เช่น องค์การเภสัชกรรม (GPO) และความร่วมมือกับบริษัทเอกชน แต่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคทางกฎระเบียบและต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า นอกจากนี้ การเติบโตของสตาร์ตอัปในอุตสาหกรรมยาเผชิญกับความท้าทายจากกระบวนการขึ้นทะเบียนยาที่ซับซ้อน และการขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในกระบวนการวิจัยและพัฒนายา รวมทั้งการบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยาระหว่างภาครัฐและเอกชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากการศึกษานี้คือ 1) การสนับสนุนการผลิตวัตถุดิบในกระบวนการผลิตยาในประเทศผ่านมาตรการทางภาษีและด้านงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนายา 2) การปรับปรุงกระบวนการขึ้นทะเบียนยาให้มีความรวดเร็วและโปร่งใส 3) การสนับสนุนสตาร์ตอัป โดยการบูรณาการหน่วยงานและนโยบายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนา 4) การสนับสนุนการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตยาเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ข้อเสนอแนะเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนระบบอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง มีนวัตกรรม และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางยาของประเทศในระยะยาว
บทคัดย่อ
This study aims to evaluate Thailand's drug security through an in-depth analysis based
on the SUPERB framework, which includes:
1. Self-sufficient: Self-reliance and the ability to produce pharmaceuticals domestically,
with surplus for export.
2. Up-start: Promotion of innovative entrepreneurs and new startups in the
pharmaceutical industry.
3. Partnership: Collaboration across various sectors, both domestic and international,
related to the pharmaceutical industry.
4. Efficiency: Efficiency of systems, regulations, and requirements within the
pharmaceutical industry.
5. Research & Development: Research and development of pharmaceuticals and
pharmaceutical innovations.
6. Balancing Environment and Benefits with the Community: Balancing the benefits
generated by the pharmaceutical industry with environmental preservation and social
responsibility toward communities and society.
This study was a Mixed Methods Research Design. Qualitative data were collected
through in-depth interviews, brainstorming sessions, and literature reviews on legal issues,
alongside a SWOT analysis of the current pharmaceutical industry in Thailand. Quantitative
data were gathered from historical records on imports, exports, and investment in the
pharmaceutical sector over the past 10 years. Research findings indicate that Thailand remains
heavily dependent on the importation of active pharmaceutical ingredients (API) from abroad,
posing a significant risk to drug security, particularly during times of crisis. Despite the presence
of domestic organizations capable of producing API and pharmaceutical excipients-such as the
Government Pharmaceutical Organization (GPO) and partnerships with the private sector, these
efforts still face regulatory barriers and higher production costs.
Furthermore, the growth of pharmaceutical start-ups faces challenges due to complicated
drug registration processes, limited budgetary support for research and development (R&D),
and a lack of integrated policy coordination between relevant public and private agencies.
Policy recommendations arising from this study include establishing a central national
body to coordinate pharmaceutical industry promotion policies (Integrated National Policy
Governance Mechanism Board), reforming the regulatory framework toward a risk-based
regulatory system, defining a list of strategic API crucial for national security, creating a National
Pharmaceutical Innovation Hub to serve as a central body for pharmaceutical innovation,
supporting environmentally friendly pharmaceutical production practices (Green GMP). These
recommendations aim to strengthen and sustain Thailand's pharmaceutical industry through
innovation, thereby enhancing the country's long-term drug security.