บทคัดย่อ
ที่มา ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นเป้าหมายด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การดำเนินงานการออกแบบมาตรการหรือกิจกรรมเป็นไปอย่างจำเพาะเจาะจง และเกิดประสิทธิผลต่อกลุ่มเป้าหมาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือเพื่อวัดความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานพยาบาล และทราบสถานการณ์ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล บุคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานบริการจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่ผู้ป่วยได้ ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษานี้แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 คือ การพัฒนาและการทดสอบความตรงของแบบประเมินความรอบรู้ฯ ฉบับย่อ (MF-RDUL) โดยใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสมวิธี ประกอบด้วยการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ปัจจัยและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถาม จัดทำ Cognitive interview เพิ่มเติม ร่วมกับการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ (Expert meeting) จากนั้นจึงทดสอบความตรงและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ MF-RDUL ในภาคสนาม 5 จังหวัด และมีการรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ใช้เครื่องมือ (users) ที่จะเป็นผู้ใช้งานจริง ก่อนนำไปใช้ในการสำรวจระดับประเทศในระยะที่ 2 คือ การสำรวจบรรทัดฐานของระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ใน 13 จังหวัด จาก 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศไทย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตัวแปรต้น คืออายุ ระดับการศึกษา โรคเรื้อรัง และเขตที่อยู่ และตัวแปรตาม คือ ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ผลการศึกษา ผลการศึกษาในระยะที่ 1 แบบประเมิน MF-RDUL14 ที่พัฒนาขึ้น มีความเชื่อมั่น ความตรง ความไว และความจำเพาะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ข้อคำถามของ MF-RDUL14 ดัดแปลงมาจาก LF-RDUL (แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล) ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักแบบกลุ่มเพื่อยืนยันความตรงเชิงโครงสร้าง ค่าความเชื่อมั่น Cronbach's alpha ทั้งฉบับ มีค่า 0.671 ส่วนค่า AUC (Area under the curve) มีค่า 0.793 และค่า cut-off ระหว่างผู้ที่มีความรอบรู้ฯ และขาดความรอบรู้ฯ คือ 9.5 (คะแนนเต็ม 14) สำหรับผลการศึกษาในระยะที่ 2 พบความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไม่เพียงพอใน 2 มิติ คือ มิติความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และมิติค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรหรืออาหารเสริมและข้อควรระวังและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ สรุป เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล MF-RDUL14 นี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความตันโลหิตสูงที่มีความรอบรู้ไม่เพียงพอ โดยแนะนำให้ใช้เครื่องมือทั้งฉบับ คือ 14 ข้อคำถาม เพื่อให้สามารถวัดความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลได้ครบทุกมิติ
บทคัดย่อ
Background Rational drug use literacy is an ultimate goal in healthcare system of Thailand. It
is necessary to analyze the characteristics of the target group for the design of measures or
activities to be specific and effective for the particular target group. This study aims to develop
a tool to measure the rational drug use literacy for diabetic and hypertensive patients to be
used as a screening tool for the rational drug use literacy of patients receiving services at a
hospital, to know the situation of the rational drug use literacy of diabetic and hypertensive
patients, and to analyze the factors affecting the rational drug use literacy. Therefore, medical
personnel and healthcare service agencies can use it to promote the rational drug use literacy
of patients.
Methods This study is divided into 2 phases: Phase 1 is the development and validation of
the modified version of the rational drug use literacy tool (MF-RDUL). Both qualitative and
quantitative research methods were used, including, factor analysis and relationship between
questions, and cognitive interviews along with an expert meeting. Then, the validity and
reliability of the MF-RDUL tool were tested with sample in 5 provinces. In the final step, the
proposals of potential users were listened to before being used in a national survey. Phase 2
was to survey the norms of rational drug use literacy in diabetic and hypertensive patients in
13 provinces from 13 health area across Thailand. The factors affecting rational drug use
literacy were analysed. The independent variables were age, education level, chronic diseases,
and residential area. The dependent variable was rational drug use literacy.
Resul t s The results of the phase 1 study showed that the developed MF-RDUL14 had
satisfactory reliability, validity, sensitivity, and specificity. The questions of the MF-RDUL14
were adapted from the LF-RDUL (Rational Medicine Knowledge Assessment Scale). Cluster
principal component analysis was used to confirm the construct validity. The overall
Cronbach's alpha reliability was 0.671, the AUC (Area under the curve) was 0.793, and the cutoff value between those with and without knowledge was 9.5 (total score of 14). The results of the study in phase 2 found that the dimensions found to have a problem of insufficient
rational drug use literacy were the dimension of understanding about the importance and
benefits of taking medicine continuously and the dimension of searching for information about
herbs or supplements and the precautions and side effects of the medicine used.
Conclusion The MF-RDUL14 tool can be used as a screening tool for diabetic or hypertensive
patients who have insufficient rational drug use literacy. It is recommended to use the entire
tool, which is 14 questions to measure drug use literacy in all dimensions