บทคัดย่อ
บทนำ: การใช้ระบบประเมินความเสี่ยงและการคัดกรอง ในผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน มีเครื่องมือหลายอย่าง และแต่ละอย่างมีข้อดี/ข้อจำกัดในการวินิจฉัยโรคเบาหวานและการทำนายการเป็นเบาหวานในอนาคต นอกจากนั้นยังมีต้นทุนในการดำเนินการที่แตกต่างกัน การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบของงบประมาณหรือภาระด้านงบประมาณ และการศึกษาความเป็นไปได้ของการคัดกรองเบาหวานในชุมชนและสถานบริการ จึงมีความจำเป็นและสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกระบวนการคัดกรองโรคเบาหวานที่คุ้มค่า มีความเหมาะสมสำหรับการจัดสรรงบประมาณและมีความเป็นไปได้ การนำเสนอข้อมูลและผลงานวิจัยไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา ในการนำการคัดกรองที่ผ่านการศึกษาดังกล่าว เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบสุขภาพตามบริบทของประเทศไทย จึงเห็นได้ว่าการศึกษาเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบด้านงบประมาณ และความเป็นไปได้ของมาตรการการคัดกรองเบาหวานในประชากรไทยมีความสำคัญ ข้อมูลและผลการศึกษาที่สำคัญจะถูกนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายการคัดกรองเบาหวานที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณโดยใช้มุมมองทางสังคมและมุมมองของรัฐบาล รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ของมาตรการการคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง Decision tree และ Markov เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณ โดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม และมีกรอบระยะเวลาตลอดชีวิต ต้นทุนและผลลัพธ์ในอนาคตถูกปรับค่าให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราการปรับลดร้อยละ 3 ต่อปี อ้างอิงตามข้อเสนอแนะของคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย วิเคราะห์ความไม่แน่นอนของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์ความอ่อนไหวแบบทางเดียว และแบบอาศัยความน่าจะเป็น ทางเลือกสำหรับมาตรการการคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย ได้แก่ (1) ไม่มีการคัดกรองและรักษาเบาหวาน (2) การตรวจคัดกรองเบาหวานในกลุ่มประชากรทั่วไปอายุ 35-59 ปี ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานโดยใช้ Thai Diabetes Risk Score (DMRS) การตรวจน้ำตาลในเลือดโดยวิธีเจาะจากปลายนิ้ว (Fasting Capillary Blood Glucose: FCBG) หรือการตรวจวัดพลาสมากลูโคสในเลือดที่เจาะจากหลอดเลือดดำ (Fasting Plasma Glucose: FPG) (3) ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอยู่ระหว่าง 110-125 มก./ดล. จะได้รับการตรวจความทนต่อกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT) สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ของมาตรการการคัดกรองเบาหวานทำในผู้รับบริการ 3 กลุ่ม คือ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน (ผู้ที่มีคะแนนความเสี่ยง ≥ 6 คะแนน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานข้อใดข้อหนึ่ง) ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (มีระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 110-125 มก./ดล.) และผู้ป่วยเบาหวาน (มีระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ≥ 126 มก./ดล.และได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์) และผู้ให้บริการในสถานบริการสาธารณสุขและในชุมชนอาศัยหลักการ 3A: Availability, Accessibility และ Affordability และมีการศึกษาเส้นทางของผู้ป่วยเบาหวานโดยประยุกต์จากมาตรการ Reach – Recruit – Test – Treat – Retain (RRTTR) ผลการศึกษา: ค่าอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental cost-effectiveness ratio, ICER) ของการคัดกรองด้วย DMRS ในกลุ่มประชากรทั่วไป การคัดกรองด้วย OGTT ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (ระดับน้ำตาล 110-125 มก./ดล.) เมื่อเปรียบเทียบกับไม่มีการคัดกรอง ด้วยแบบจำลองกำหนดในการวิเคราะห์มาร์คอฟ มีค่าเท่ากับ 157,570 บาทต่อปีสุขภาวะ และ เท่ากับ 114,097 บาทต่อปีสุขภาวะ ตามลำดับ ณ ความเต็มใจจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ แสดงให้เห็นว่าการคัดกรองด้วย OGTT ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีภาวะก่อนเบาหวาน มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (ICERs) เท่ากับ 91.70% จากการจำลอง Probabilistic Sensitivity Analysis (PSA) 1,000 รอบ อยู่ภายใต้เกณฑ์ Willingness to pay (WTP) ที่ 160,000 บาท/QALYs ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทดสอบด้วย OGTT ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีภาวะก่อนเบาหวาน จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในบริบทของประเทศไทย ผลกระทบงบประมาณที่เกิดขึ้นจากการคัดกรองเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง/ผู้มีภาวะก่อนเบาหวาน ประมาณการงบประมาณของมาตรการคัดกรองโรคเบาหวาน และค่ารักษาเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) จากการคาดประมาณจำนวนประชากรอายุ 35-59 ปี (ชายและหญิง) มีผลกระทบด้านงบประมาณที่จะใช้ในการคัดกรองเบาหวานด้วย OGTT ประมาณ 130 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2566 และประมาณ 131 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2570 และเมื่อนำไปรวมกับต้นทุนสำหรับการคัดกรองด้วยวิธีอื่นรวมกัน ทำให้ต้นทุนสำหรับการคัดกรองด้วยวิธีอื่นรวมกันและ OGTT เท่ากับ 3,644 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2566 และ 3,658 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2570 สำหรับผลการศึกษาความเป็นไปได้ของมาตรการการคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย ศึกษาในผู้รับบริการและผู้ให้บริการ เป็นการเข้าถึงบริการในสามประเด็น (3As) คือ การมีบริการ (Availability) การเข้าถึง (Accessibility) และ ความสามารถในการจ่าย (Affordability) พบว่าการมีอยู่ของบริการ OGTT ในมุมมองผู้รับบริการและผู้ให้บริการเท่ากับร้อยละ 63.9 และ 60.0 ตามลำดับ ความสามารถในการเข้าถึงบริการ OGTT ในมุมมองของผู้รับบริการและผู้ให้บริการเท่ากับร้อยละ 26.0 และ 63.3 ตามลำดับ และความสามารถในการจ่าย OGTT ในมุมมองของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ เท่ากับร้อยละ 89.71 และร้อยละ 66.67 ตามลำดับ ผลที่ได้ใกล้เคียงกับการคัดกรองแบบอื่น สำหรับผลการศึกษาเส้นทางของผู้ป่วย (DM Patient Journey) ซึ่งประยุกต์จากมาตรการ RRTTR พบว่ามีประเด็นปัญหาอยู่สองประการคือ การขึ้นทะเบียนในระบบบริการเท่ากับร้อยละ 72.7 ในมุมมองของผู้รับบริการ และ ประเด็นจากความเห็นผู้ให้บริการ พบมีผู้ป่วยเบาหวานมารับการรักษาเท่ากับร้อยละ 68.2 ซึ่งมีสาเหตุจากไปทำงานต่างถิ่น ไม่มีคนมาส่ง/ไม่มีรถ ขาดความตระหนักถึงความรุนแรง ลืมวันนัด มียาของเดิมเหลืออยู่ หรือ ติดธุระ มีส่วนน้อยที่มีสาเหตุจากไปรับการรักษาที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน เจ็บป่วยด้วยโรคอื่น หรือ ซื้อยากินเอง
บทคัดย่อ
Introduction: By means of using a risk assessment and screening system among people at risk of developing diabetes mellitus or people with pre-diabetes, there are many tools and each has advantages or limitations in diagnosing diabetes mellitus and predicting future diabetes. There are also different operating costs in relation with economic evaluation including of budget impact analysis or budget burdens and the feasibility analysis of diabetes mellitus screening in communities and service facilities. Therefore, it is necessary and important to take urgent action in order to provide guidelines for determining a cost-effective diabetes mellitus screening process. It could be appropriated for budget allocation and it is feasible. Data/information and research results will be presented to relevant agencies for consideration to inform policy in applying the screening through the aforementioned study whether it should be included in the benefit package and can be applied to support health system in the context of Thailand.
Objectives: To evaluate cost-utility analysis, budget impact analysis using societal and government perspectives, including the feasibility study of diabetes screening measures in the Thai population.
Methodology: Cost-utility analysis using a decision tree and Markov model was performed to simulate the costs and utilities and to estimate the budget impact of type 2 diabetes mellitus screening in the Thai population. All parameters were obtained from published studies. Lifetime horizon was applied with both costs and outcomes discounted by 3%, as recommended by the guidelines of economic evaluation in Thailand. One way and probabilistic sensitivity analyses were conducted to examine the uncertainty of input parameters. Alternative measures for screening diabetes mellitus in the Thai population include (1) no screening and treatment for diabetes; (2) screening for diabetes in the general population aged 35-59 years, consisting of an assessment of the risk of developing diabetes by Use Thai Diabetes Risk Score (DMRS), blood sugar testing by finger prick (Fasting Capillary Blood Glucose: FCBG) or measurement of plasma glucose in blood drawn from a vein (Fasting Plasma Glucose: FPG). (3) people with pre-diabetes, those with a fasting blood sugar level between 110-125 mg/dl will undergo an Oral Glucose Tolerance Test (OGTT). For the study to evaluate the feasibility of diabetes screening measures, it was done in 3 groups of service recipients: (1) those at risk for diabetes. (People with a risk score ≥ 6 points or one of the risk factors for diabetes); (2) people with pre-diabetes (with a fasting sugar level of 110-125 mg/dl) and (3) diabetic patients (has a fasting blood sugar level ≥ 126 mg/dl and has been diagnosed by a doctor) and service providers in public health facilities in the community rely on the 3A principles: Availability, Accessibility, and Affordability. And there is a study of the path of diabetic patients by applying the RRTTR measure.
Results: Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) of DMRS screening in the general population. Screening with OGTT in people with pre-diabetes (glucose levels 110-125 mg/dl) compared to no screening. With the specified model in Markov analysis, the value is equal to THB 157,570 per QALY and equal to THB 114,097 per QALY, respectively. At the willingness to pay (WTP) THB 160,000 per QALY gained. It has been shown that screening with OGTT in both at-risk groups and those with pre-diabetes. It has an economic value (ICERs) equal to 91.70% from Probabilistic Sensitivity Analysis (PSA) simulation of 1,000 cycles under the Willingness to pay (WTP) criterion of THB 160,000/QALYs. Therefore, it can be seen that testing with OGTT in both groups at risk and groups with pre-diabetes were cost-effectiveness in the context of Thailand.
Budget impacts analysis arising from screening for diabetes in high-risk groups/people with pre-diabetes. Budget estimates for diabetes screening measures and the cost of diabetes treatment and complications in the 5-year period (2023 - 2027) from the estimation of the population aged 35-59 years (male and female), there is a budget impact to be used for diabetes screening with OGTT of approximately 130 million baht in 2023 and approximately 131 million baht in 2027. And when combined with the cost of other screening methods, this makes the cost for screening by other methods combined and OGTT equal to 3,644 million baht in 2023 and 3,658 million baht in 2027.
For the results of the feasibility study of diabetes screening measures in the Thai population by interviewing both service recipients and service providers based on three issues (3As): Availability, Accessibility, and Affordability. Affordability found that the availability of OGTT services from the perspective of service recipients and service providers was 63.9 percent and 60.0 percent, respectively. The accessibility of OGTT services from the perspective of service recipients and service providers was 26.0 percent
and 63.3 respectively and the ability to pay OGTT from the perspective of service recipients and service providers equal to 89.71 percent and 66.67 percent, respectively. The results are similar to other screening methods. For the study of the patient journey (DM Patient Journey) which was applied from the Reach – Recruit – Test – Treat – Retain (RRTTR) measure. It was found that there were two problems: Registration in the service system was 72.7 percent from the point of view of service recipients and issues from the point of view of service providers. It was found that only 68.2 percent of diabetic patients received treatment, which was caused by working other provinces, no one or no car to deliver to services, lack of awareness of the severity, forgetting the appointment date, having the same medicine left over, and being busy. There are only a few causes of this, i.e. go for treatment at a private clinic or hospital, sick with another disease and buy and take medicine from drug store.