• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การใช้ฐานข้อมูลเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อปกป้องกลุ่มเปราะบางจากมลพิษข้ามแดน กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา สปป.ลาว

สมพร เพ็งค่ำ; Somporn Pengkam; ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์; Yupaporn Tirapaiwong; สุภาพร วรรณสันทัด; Supaporn Wannasuntad; มนทกานต์ ฉิมมามี; Montakarn Chimmamee; ธัญศิภรณ์ ณ น่าน; Tansiphorn Na Nan; สุกัญญา มีสกุลทอง; Sukanya Meesakulthong;
วันที่: 2568-04
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การใช้ฐานข้อมูลเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อปกป้องกลุ่มเปราะบางจากมลพิษข้ามแดน กรณี โรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา สปป.ลาว เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีมลพิษข้ามแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปิดพื้นที่ปฏิบัติการร่วมอันนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิจัยข้ามศาสตร์และเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง 2) สร้างและพัฒนาเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ในการเฝ้าระวังสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มแม่และเด็กในพื้นที่เสี่ยงปนเปื้อนสารปรอท และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากก๊าซกรด 3) สนับสนุนให้มีการนำข้อมูลจาก C-Site Databased มาวิเคราะห์และแปลผล ร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักวิจัยข้ามศาสตร์และเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง และร่วมกันจัดทำเนื้อหาสำหรับการสื่อสารความเสี่ยง และ 4) เปิดพื้นที่สนทนาทางนโยบาย (Policy Dialogue Platform) แลกเปลี่ยนแนวทางและมาตรการปกป้องกลุ่มเปราะบางจากมลพิษข้ามแดน ขั้นตอนการดำเนินงานประกอบไปด้วย การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิจัยข้ามศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง หน่วยงานส่วนราชการและท้องถิ่น ในการร่วมกันเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน การสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชุมชนในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการรับสัมผัสมลพิษจากปรอท พัฒนาแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามแดน การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) ต่อกลุ่มเป้าหมายและสาธารณะ และการขับเคลื่อนมาตรการ/นโยบายในการปกป้องกลุ่มเปราะบาง ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้วิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมได้รับการยอมรับและถูกนำไปปฏิบัติในระดับชุมชนโดยโรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทนำ 2) หญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และเด็กปฐมวัย มีความเสี่ยงทางสุขภาพจากเมทิลเมอคิวรี่ ซึ่งเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานปลาและหอยหลายชนิดจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอท 3) การเปลี่ยนแปลงของผลผลิตทางการเกษตร อาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งกลไกการจัดการเชิงพื้นที่ รูปแบบการปฏิบัติที่ถูกต้อง องค์ความรู้ของเกษตรกร ต้นทุนการวางระบบการจัดการที่เหมาะสม แรงงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดจากมลพิษข้ามแดน ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องมีความเข้าใจ รอบรู้ และมีศักยภาพในการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยที่หลากหลายเหล่านี้ได้

บทคัดย่อ
The research project titled “The Use of Community-Led Health Impact Monitoring Databases in Risk Communication to Protect Vulnerable Groups from Transboundary Pollution in the Case of Hongsa Coal-Fired Power Plant, Lao PDR” is part of a participatory action research initiative on “The Development of Community-Led Health Impact Monitoring in Nan Province, Thailand: A Case of Transboundary Pollution from the Hongsa Power Plant, Lao PDR - Phase 2.” The objectives are: (1) to create collaborative operational spaces that strengthen transdisciplinary researcher and citizen science networks; (2) to build and develop citizen scientist networks for health surveillance, particularly focusing on pregnant women and young children in mercury-contaminated risk areas, as well as farmers affected by acid gases; (3) to promote the joint analysis and interpretation of data from the C-Site Platform between transdisciplinary researchers and citizen scientist networks for effective risk communication; and (4) to establish a policy dialogue platform for exchanging strategies and measures to protect vulnerable groups from transboundary pollution. Project activities included strengthening the networks of transdisciplinary researchers, citizen scientists, government agencies, and local authorities in monitoring health impacts related to the coal-fired power plant; enhancing health literacy among public health officials, community health volunteers, and local communities in maternal and child health care within mercury exposure risk areas; developing adaptive strategies for vulnerable farmers affected by transboundary pollution; communicating risks to target groups and the public; and advocating for policy measures to protect vulnerable populations. The study found that: (1) the use of citizen science in environmental monitoring has been accepted and implemented at the community level, with schools taking a leading role; (2) pregnant women, fetuses, and young children face health risks from methylmercury, which enters the body through the consumption of fish and shellfish from mercury-contaminated water sources; and (3) changes in agricultural productivity may result from a combination of factors, including spatial management practices, appropriate farming methods, farmers’ knowledge, costs of effective system implementation, labor, climate change, and the potential impacts of transboundary pollution. Therefore, farmers must possess the understanding, awareness, and capacity to monitor and respond to these complex and multifaceted challenges.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3272.pdf
ขนาด: 39.89Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 1
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2486]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV