บทคัดย่อ
การติดตามสถานการณ์ด้านระบบข้อมูลสุขภาพ และการออกแบบการจัดการระบบข้อมูลสุขภาพที่เหมาะสม ภายใต้การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการศึกษาติดตามผลของการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งเป็น 2 ปีแรกของการถ่ายโอนภารกิจ ที่อาจจะกระทบต่อระบบข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะในส่วนของ รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนไปยัง อบจ. โดยศึกษาจากข้อมูลบริการสุขภาพ ได้แก่ ข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก และข้อมูลการให้บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ที่ส่งเข้าสู่ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health data center) และศึกษาการดำเนินงานด้านข้อมูลบริการสุขภาพ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อมูลบริการสุขภาพ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพในพื้นที่ 6 จังหวัด ที่มีสัดส่วนของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. ที่แตกต่างกัน และศึกษาสถานการณ์ข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่ส่งจาก รพ.สต. ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. ผลของการศึกษาพบว่า การส่งข้อมูลบริการสุขภาพ ส่วนใหญ่ยังดำเนินการตามเดิม จากข้อมูลผู้ป่วยนอกพบว่า รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. ส่วนใหญ่ (เกินร้อยละ 95) ส่งข้อมูลครบทุกเดือน ในปีงบ 2567 และจำนวนเดือนที่ขาดส่งข้อมูลผู้ป่วยนอก สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. ต่ำกว่าร้อยละ 1 ในปีงบ 2567 สถานการณ์ข้อมูลบริการผู้ป่วยนอก หากไม่รวมผู้ป่วยโรคโควิด-19 และรหัสการให้บริการ ซึ่งรวมบริการคัดกรองโรค จะมีจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกที่ลดลงเพียงร้อยละ 2.8 ในปีงบ 2566 เทียบกับปีงบ 2565 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2566 และลดลงเพียงร้อยละ 4 ในปีงบ 2567 เทียบกับปีงบ 2566 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2567 อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ป่วยนอก มีแนวโน้มที่ลดลงในบางกลุ่มโรค สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. โดยผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดลง ร้อยละ 9.6 ในปีงบ 2566 เทียบกับปีงบ 2565 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2566 และลดลงร้อยละ 13.9 ในปีงบ 2567 เทียบกับปีงบ 2566 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2567 ซึ่งคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ความครอบคลุมของการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ลดลง ร้อยละ 13.5 ในปีงบ 2566 เทียบกับปีงบ 2565 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2566 และลดลงร้อยละ 9.4 ในปีงบ 2567 เทียบกับปีงบ 2566 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2567 ความครอบคลุมของวัคซีนครบตามเกณฑ์ อายุ 1 ปี ลดลง ร้อยละ 7.8 ในปีงบ 2566 เทียบกับปีงบ 2565 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2566 และลดลงร้อยละ 7.2 ในปีงบ 2567 เทียบกับปีงบ 2566 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2567 ความครอบคลุมของการคัดกรองเบาหวาน อายุ 35 ปีขึ้นไป ลดลง ร้อยละ 21.4 ในปีงบ 2566 เทียบกับปีงบ 2565 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2566 และลดลงร้อยละ 31.4 ในปีงบ 2567 เทียบกับปีงบ 2566 สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบ 2567 ซึ่งคล้ายคลึงกับการคัดกรองความดันโลหิตสูง และสำหรับข้อมูลเฝ้าระวังโรค ที่ส่งมาจาก รพ.สต. มีแนวโน้มที่ลดลงในปีงบปะมาณ 2567 ซึ่งไม่แตกต่างกัน ระหว่างจังหวัดที่มีร้อยละของการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. ที่แตกต่างกัน โดยในภาพรวมมีจำนวนผู้ป่วยที่ส่งจาก รพ.สต. ลดลงร้อยละ 63.4 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2566 ซึ่งเกิดจากการปรับระบบรายงานโรคเป็น D506 (บันทึกออนไลน์) เป็นหลัก โดยระบบดังกล่าวยังไม่ได้ดำเนินงานใน รพ.สต. โดยส่วนใหญ่ปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อมูลบริการ ได้แก่ ปัจจัยด้านการให้บริการ และปัจจัยด้านกระบวนการบันทึกและส่งข้อมูล โดยปัจจัยด้านการให้บริการรักษา จะประกอบด้วย รูปแบบการจัดสรรเงิน ที่ส่งผลต่อการสนับสนุนแพทย์/บุคลากร และการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อศักยภาพในการให้บริการ โดยในส่วนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในกรณีที่โรงพยาบาลส่งแพทย์ไปตรวจที่ รพ.สต. ในบางจังหวัด อาจบันทึกข้อมูลเป็นผลงานของโรงพยาบาล ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ รพ.สต. ลดลงได้ โดยปัจจัยด้านการจัดบริการ น่าจะมีผลต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มากกว่าปัจจัยด้านการบันทึกข้อมูลหรือส่งข้อมูล ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจจากการเบิกจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพ และการติดตามกำกับตามตัวชี้วัดของหน่วยบริหาร ที่เชื่อมโยงกับการประเมินผลงานของ รพ.สต. และบุคลากร ทำให้บริการที่ไม่ได้ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด หรือไม่ได้รับการกำกับติดตามโดยเฉพาะบริการคัดกรองโรคเรื้อรังที่มีปริมาณงานมาก มีผลงานที่ลดลง และบางส่วนอาจเกิดจากความเข้าใจของบุคลากรในการบันทึกข้อมูลและส่งข้อมูล รวมทั้งการบันทึกข้อมูลและส่งข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เช่นในกรณีของบริการวัคซีนในบาง รพ.สต. ทั้งนี้ระบบสนับสนุนด้านข้อมูล กลไกการใช้ข้อมูลของฝ่ายบริหาร รวมทั้งนโยบายและข้อตกลงในการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การดำเนินงานด้านข้อมูลยังคงมีประสิทธิภาพการออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย การพัฒนาฐานข้อมูลและระบบแสดงผลข้อมูลทรัพยากรและมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ข้อมูลบริการสุขภาพปฐมภูมิ ข้อมูลเฝ้าระวังโรคและการบาดเจ็บ ข้อมูลสถานะสุขภาพ ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ และการบูรณาการระบบแสดงผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านบริการรักษา และด้านบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ทั้งนี้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย 1) การพัฒนากลไกสนับสนุนด้านระบบข้อมูลสุขภาพปฐมภูมิในภาพรวม ตาม พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ได้แก่ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับ ยุทธศาสตร์ การกำกับติดตาม ประเมินผล และระบบข้อมูล การพัฒนากรอบการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นมาตรฐาน การพัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพปฐมภูมิ การพัฒนากลไกการกำกับติดตาม ประเมินผล การพัฒนาข้อตกลงในการดำเนินงานด้านระบบข้อมูลสุขภาพปฐมภูมิ การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การปรับมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิด้านระบบสารสนเทศ 2) การพัฒนากลไกสนับสนุนด้านระบบข้อมูลสุขภาพปฐมภูมิระดับจังหวัด ได้แก่ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ การกำกับติดตาม ประเมินผล และระบบข้อมูลระดับจังหวัด การพัฒนาตัวชี้วัดร่วม ในการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพปฐมภูมิระดับจังหวัด การพัฒนากลไกการกำกับติดตามประเมินผลระบบสุขภาพปฐมภูมิระดับจังหวัด การพัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานด้านระบบข้อมูลสุขภาพปฐมภูมิ และ 3) การบริหารจัดการระบบบริการและการเงินการคลังที่สนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ ได้แก่ การจัดระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสมต่อบริการปฐมภูมิ และการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพที่เหมาะสมต่อบริการปฐมภูมิ
บทคัดย่อ
Monitoring situation of health information system and designing appropriate health
information system management under the transfer of subdistrict health promoting hospitals
(SHPHs) to provincial administrative organizations (PAOs) is a study aiming at monitoring the effect
of transferring SHPHs to PAOs in the first 2 years on health information system. The study
analyzed health service data such as out-patient service data and health promotion and disease
prevention service data sent to health data center (HDC) of the Ministry of Public Health and
studied work processes related to health information system as well as related factors influencing
health information. Qualitative study took place in 6 provinces with different proportion of SHPHs
transferred to PAOs. Disease surveillance data was also assessed after transferring SHPHs to PAOs.
The result of study showed that health service data was mostly sent to HDC as before.
More than 95% of SHPHs transferred to PAOs sent out-patient data every month in fiscal year (FY)
2024 with less than 1% of months missing. The situation of out-patient data after excluding
COVID-19 patients and service ICD-10 codes, which include disease screenings, revealed that outpatient data reduced by only 2.8% in FY 2023 compared to FY 2022 for SHPHs transferred in FY
2023 and reduced by 4% in FY 2024 compared to FY 2023 for SHPHs transferred in FY 2024.
However, out-patients reduced in some groups of disease for SHPHs transferred to PAOs. Diabetic
patients reduced by 9.6% in FY 2023 compared to FY 2022 for SHPHs transferred in FY 2023 and
reduced by 13.9% in FY 2024 compared to FY 2023 for SHPHs transferred in FY 2024. This situation
was similar to patients with Hypertension. The coverage of complete antenatal care (5 times)
decreased by 13,5% in FY 2023 compared to FY 2022 for SHPHs transferred in FY 2023 and
decreased by 9.4% in FY 2024 compared to FY 2023 for SHPHs transferred in FY 2024. The
coverage of complete vaccination among children at age 1 decreased by 7.8% in FY 2023
compared to FY 2022 for SHPHs transferred in FY 2023 and decreased by 7.2% in FY 2024
compared to FY 2023 for SHPHs transferred in FY 2024. The coverage of screening for Diabetes
among people aged >= 35 decreased by 21.4% in FY 2023 compared to FY 2022 for SHPHs
transferred in FY 2023 and decreased by 31.4% in FY 2024 compared to FY 2023 for SHPHs
transferred in FY 2024. This situation was similar to screening for Hypertension. For disease
surveillance data, data from SHPHs reduced in FY 2024 compared to FY 2023 similarly for all
groups of provinces with different proportion of SHPHs transferred to PAOs with 63.4% reduction
in average. Changing of the system to D506 (online), which was not widely implemented in SHPHs,
was the major cause of such reduction.
Factors influencing service data included service-related factors and data-related factors.
Service-related factors for curative service were financial allocation model which affected support
of health personnel, medicines and medical supplies. This affected directly the capacity of
treatment of SHPHs. In case of chronic diseases patients, hospitals in some provinces sent doctors
for service at SHPHs but recorded service as hospital service. This might result in reduction of
chronic disease patients at SHPHs. Service-related factors were, therefore, more likely to influence
service data more than data-related factors. Service-related factors for health promotion and
disease prevention service were financial incentive from health security system and monitoring
system related to key performance indicators (KPIs) linked to SHPHs or personnel evaluation.
Other factor was understanding of personnel in data recording and data transferring including
incomplete data recording and transferring such as incomplete vaccination data in some SHPHs.
Data support system, data utilization for administrative purpose, policy and agreement of sending
data to health data center were also factors influencing efficiency of information system.
Design and development of primary health information system should include resource
information, standard of SHPHs information, health service information, disease and injury
surveillance information, health status information, health risk information. Integration of all
related information and appropriate data visualization system for supporting primary health
system should be developed along with appropriate data exchange system for both curative
services and health promotion and disease prevention services. Policy suggestions included 1)
development of supporting mechanisms under Primary care Act, B.E. 2562 (2019) at national level
consisting of sub-committee and taskforce (for setting strategies, monitoring and evaluation
system, and information system), scope of standard services, key performance indicators (KPIs),
monitoring and evaluation system, agreement about information for primary health system,
procedure for data exchange, adjustment of standard on data collection 2) development of
supporting mechanisms at provincial level consisting of establishment of sub-committee and
taskforce at provinces, development of provincial KPIs, provincial monitoring and evaluation
mechanism, and supporting mechanism for primary health information and 3) management of
service delivery and financial system consisting of setting appropriate service delivery for primary
health system, and study for appropriate financial mechanism for primary health system.