• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบายการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูงในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจการบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา; Tatchalerm Sudhipongpracha; อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี; Achakorn Wongpreedee; ภคพล เอี่ยมไพบูลย์พันธุ์; Pakkaphon Aiempaiboonphan; ภูริชญ์ สุจริตพุทธังกูร; Purit Sutjaritphutthangkun;
วันที่: 2568-05
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (Advanced Life Support Unit : ALS) ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนความพร้อมและความเหมาะสมของการบริหารหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูงใน อบจ. ได้แก่ อบจ.ระยอง อบจ.เชียงใหม่ และอบจ.สงขลา การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในระดับพื้นที่ และการสํารวจความรอบรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินของกลุ่มตัวอย่างประชาชน ผลการศึกษาพบว่า การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง มีความเหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายของ อบจ.ระยอง อบจ.เชียงใหม่ และอบจ.สงขลา ตลอดจนสภาพบริบทเชิงพื้นที่และลักษณะความจําเป็นในการผสมผสานการดูแลผู้ป่วยแบบระยะยาวกับการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างสังคมสูงวัยสมบูรณ์ (Aged Society) และการเปลี่ยนผ่านทางด้านระบาดวิทยา (Epidemiological Transition) และยังถือเป็นโอกาสสำหรับ รพ.สต.ถ่ายโอนในการยกระดับการบริการสุขภาพปฐมภูมิด้วยการบูรณาการการแพทย์ฉุกเฉินกับการบริการปฐมภูมิด้านอื่น และการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทยและทำให้สามารถรองรับปรากฏการณ์สังคมสูงวัยและปัญหาสุขภาพด้านอื่นได้ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐส่วนกลางโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยยังต้องเร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ อบจ. สามารถจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ สพฉ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำงานเชิงรุกให้มากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อม อบจ. สำหรับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งถือเป็นบริการสาธารณะใหม่ของ อบจ.

บทคัดย่อ
This research explores the possibility of establishing an advanced life support unit (ALS) in the provincial administrative organizations (PAOs) that are now responsible for running the subdistrict health promotion hospitals. The goals are two-fold. First, this research seeks to analyze the managerial capacities of three (3) provincial administrative organizations (PAOs) with the devolved primary care service functions: Rayong, Chiang Mai, and Songkla provincial administrative organizations. Second, policy recommendations are formulated to guide these three (3) provincial administrative organizations in preparing for initiating the emergency medical services. In-depth interviews with relevant government officials, focus group discussions with stakeholders, and a survey of citizen representatives’ emergency medical literacy were conducted in the three (3) provinces. The findings demonstrate that not only does establishing an advanced life support unit (ALS) in these three (3) provincial administrative organizations align with the demographic and epidemiological transitions, it also provides opportunities for the devolved subdistrict health promotion hospitals to integrate the existing primary care services and other longterm care programs with emergency medical services. Such integration will revolutionize and enable Thailand’s primary care system to deal with population aging and other health related issues. However, the personnel-related laws and regulations must be improved to allow the provincial administrative organizations to fully engage in the emergency medical service system. Similarly, the National Institute for Emergency Medicine, Department of Local Administration, and the Office of the Decentralization Commission need to adopt proactive measures in preparing the provincial administrative organizations for this new and challenging public service responsibility
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3276.pdf
ขนาด: 4.804Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 2
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2491]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [621]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [287]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1295]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV