• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้แนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อภินันท์ อร่ามรัตน์; Apinun Aramrattana; ราม รังสินธุ์; Ram Rangsin; สายรัตน์ นกน้อย; Sairat Noknoy; อิสราภรณ์ เทพวงษา; Isaraporn Thepwongsa; ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์; Pattapong Kessomboon; โภคิน ศักรินทร์กุล; Pokin Sakarinkhul; อรรถกร รักษาสัตย์; Attakorn Raksasataya; อนุวัตร แก้วเชียงหวาง; Anuwat Kaewchiangwang; พลวัฒน์ ทศวิภาค; Ponrawat Thotwiphak; สตางค์ ศุภผล; Satang Supapon; หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล; Hathaitip Tumviriyakul; ศิรินภา ศิริพร ณ ราชสีมา; Sirinapa Siriporn Na Ratchaseema; ปิยวรรณ คำศรีพล; Piyawan Khamsipon; ภัทรนันท์ บุณยอุดมศาสตร์; Pattaranon Boonyaudomsart; อัมรา อนุรพันธ์; Ammara Anurapant; โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ; Rojanasak Thongkhamcharoen; กัลยา จงเชิดชูตระกูล; Kanlaya Jongcherdchootrakul; ธีระบูลย์ เลิศวณิชย์วัฒนา; Teeraboon Lertwanichwattana; มฑิรุทธ มุ่งถิ่น; Mathirut Mungthin; วสันต์ สายทอง; Wasan Saithong; มารุต เหล็กเพชร; Marut Lekphet; นนท์ โสวัณณะ; Non Sowanna; เบญจวรรณ ธรรมปัญญวัฒน์; Benjawan Tampanyawat; ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ; Pitoon Ongate; วิทิตา แจ้งเอี่ยม; Withita Jangiam; ลลิตยา กองคำ; Lalitaya Kongkam; กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์; Kitti Wongthavarawat;
วันที่: 2568-07
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: ระบบสุขภาพประเทศไทยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าถึงบริการสุขภาพและเป็นโครงสร้างหลักของระบบสุขภาพปฐมภูมิ การปฏิรูปตามพระราชบัญญัติกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในการบริหารระบบสุขภาพ การวิจัยนี้มุ่งพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและชุมชน ตามหลักการเวชศาสตร์ครอบครัว วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประเมินผลระบบเครือข่ายทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสังเคราะห์นโยบายเชิงระบบสำหรับการพัฒนา รพ.สต. ที่ถ่ายโอนสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) วิธีการดำเนินงาน: การศึกษาเป็น Implementation research พื้นที่ 4 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น ระยอง ลำพูน และตาก ในปี พ.ศ. 2567 โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพปฐมภูมิ การดำเนินงานประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 2) การเพิ่มศักยภาพในการบริหารเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 3) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดบริการปฐมภูมิผ่าน Digital Health Technology และ 4) การพัฒนากระบวนการติดตามประเมินผล โดยการใช้เครื่องมือ Primary Care Assessment Tool (PCAT) และฐานข้อมูล 43 แฟ้ม การศึกษานี้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการวิจัย (Participatory Action Research) วิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษา: การดำเนินงานนำไปสู่การสร้างเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในหลายระดับ 1) เครือข่ายแพทย์ที่สนใจพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิในพื้นที่ถ่ายโอนจำนวน 77 คน จาก 19 จังหวัด โดยมีผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร 24 คน ที่ตั้งใจนำความรู้ไปใช้ในพื้นที่ของตน 2) เครือข่ายแพทย์และสหวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อน จำนวน 327 คน จาก 54 จังหวัด ส่งผลให้มีศักยภาพและผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อนที่ดีขึ้น 3) เครือข่ายนักวิชาการที่สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และ 4) เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทีมสหวิชาชีพที่ร่วมกันพัฒนาบริการปฐมภูมิจังหวัดลำพูน เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเกิดโครงการพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดระยอง ทำให้เกิดการพัฒนาการดูแลเบาหวานสำหรับกรณีซับซ้อน ส่งผลควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น 5) เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิระดับจังหวัด การดำเนินงานในจังหวัดขอนแก่นที่มีตัวแทนจากหลายภาคส่วนมาร่วมในเวทีแลกเปลี่ยน ได้นำไปสู่การพัฒนาแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิระยะที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2568 การประเมินคุณภาพบริการปฐมภูมิด้วยเครื่องมือ PCAT โดยการสำรวจในชุมชนในพื้นที่ศึกษารับผิดชอบโดย รพ.สต. ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข คือ มีแพทย์ในอัตราส่วน 1: 10,000 พบว่ามีคะแนนต่ำในหลายมิติ สะท้อนข้อจำกัดในการจัดบริการให้เป็นไปตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว จากอัตราส่วนของแพทย์และรูปแบบการจัดบริการในปัจจุบัน การประเมินข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้จากระบบ 43 แฟ้ม ในประชากรที่ได้รับบริการจากหน่วยบริการปฐมภูมิเป้าหมาย 139,495 คน ในช่วงระยะเวลาการศึกษา พบว่าสามารถดำเนินงานได้ดีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนและงานอนามัยแม่และเด็ก แต่ยังมีข้อจำกัดของด้านการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ยังควบคุมโรคได้น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยข้อค้นพบคุณภาพบริการปฐมภูมินี้สอดคล้องกับข้อค้นพบจากการทบทวนระบบสุขภาพภายใต้กรอบทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งพบข้อจำกัดทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับปฏิบัติการ พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีนโยบายและการลงทุนทรัพยากรสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่จะส่งผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม ข้อมูลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี พ.ศ. 2567 พบว่างบประมาณที่จัดสรรให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.99 ของการใช้งบประมาณทั้งหมด ทั้งนี้พบว่าการถ่ายโอน รพ.สต.ทำให้เกิดการลงทุนพัฒนาบริการปฐมภูมิมากขึ้นจากงบประมาณท้องถิ่น และการมีผู้ที่มีความรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและระบบสุขภาพร่วมพัฒนากับทีมผู้บริหารในระดับยุทธศาสตร์มีความสำคัญต่อการวางรากฐานระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ การมีเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีความสำคัญในการคงอยู่ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในระบบบริการในภาครัฐ โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีบทบาททั้งในการให้บริการสุขภาพ การสนับสนุนพัฒนาระบบโดยเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและการพัฒนาศักยภาพให้กับแพทย์และทีมสหวิชาชีพในพื้นที่ ทั้งนี้ในระบบสุขภาพมีแพทย์และทรัพยากรในภาคเอกชนในระดับปฐมภูมิ ซึ่ง สปสช. เริ่มสนับสนุนการจัดบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเพื่อเชื่อมต่อระบบทั้งรัฐและเอกชน ให้มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการจัดบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษาสะท้อนความจำเป็นในการเร่งพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิโดยสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การเพิ่มการลงทุนในบริการปฐมภูมิ การสร้างความเข้มแข็งของระบบการทำงานแนวราบเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิในพื้นที่ การสร้างเครือข่ายทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพบริการปฐมภูมิ และจำเป็นต้องมีระบบติดตามประเมินผลที่สะท้อนคุณค่าของการจัดบริการตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับการพัฒนาคุณภาพบริการ

บทคัดย่อ
Background: Thailand's health system has Health promotion hospitals (HPHs) that serve as primary care units (PCUs). These units are the first point of access to health services and the main structure for the primary health care (PHC) system. The reform under the Decentralisation Act B.E. 2542 had led to structural changes in the governance of PHC systems. This research aims to support the development of PHC systems that align with the local context and community, following the principles of family medicine. Objective: To analyse family physician team cost, evaluate family physician network systems, and synthesise system-level policies for developing Health Promotion Hospitals (HPHs) transferred to Local Administrative Organizations (LAOs). Methods: This implementation research was conducted in four provinces, Khon Kaen, Rayong, Lamphun, and Tak, in 2024, applying the primary health care theory of change. Interventions included 1) capacity building for family physicians, 2) strengthening PHC systems development through participatory learning, 3) developing continuous learning mechanisms to improve capacity in primary care delivery via digital health technology, and 4) developing monitoring and evaluation mechanisms using the Primary Care Assessment Tool (PCAT) and a 43-file database under National Systems. This research employed a participatory action learning approach and analysed data using a mixed-methods approach for data collection and analysis. Results: The implementation has led to the creation of a network of family physicians at multiple levels: 1) A network of family physicians interested in developing PHC systems in areas under the decentralisation process, comprising 77 members from 19 provinces, with 24 individuals receiving certificates and intended to apply the knowledge in their provinces. 2) A network of physicians and interdisciplinary professionals for the care of complex patients, consisting of 327 members from 54 provinces, resulting in improved capacity and outcomes in managing complex patients. 3) A network of academics supporting the strengthening of PHC systems. 4) A network of family physicians and interdisciplinary teams collaboratively developing primary care services. In Lamphun, the network initiated a program for continuous care for patients with chronic diseases and the elderly in the community, while in Rayong, there were projects developed to improve management for complex diabetic cases, leading to better blood sugar control. 5) A network of family physicians working with stakeholders in developing the provincial PHC system, with Khon Kaen province, including participants from various sectors, had developed a research plan for the second phase of PHC systems development in 2025. The PCAT survey in the communities, under the responsibility of HPHs, registered by the Ministry of Public Health's criteria, with a doctor-to-population ratio of 1:10,000, showed low scores in several dimensions. This reflected limitations in service delivery, according to family medicine principles, based on the current doctor-to-population ratio and service arrangement. Health data from the 43- file system from 139,495 individuals receiving services from PCUs during the study period were effective for vaccines and maternal and child health services. However, there were still limitations in controlling non-communicable diseases, with less than 50% having controlled diabetes. These findings on service quality align with the health system review's conclusions under the PHC theory of change framework, which identified limitations at both strategic and operational levels. The Primary Health System Act B.E. 2562 reflects a commitment to developing PHC; however, there is currently limited policy and resource investment to support the development of primary care services that would yield tangible health outcomes. Data from the National Health Security Office (NHSO) in 2024 shows that the budget allocated to PUCs accounts for only 8.99% of the total budget. It was found that the transfer of HPHs to LAOs has led to increased local investment in developing PCUs. Additionally, having individuals with expertise in family medicine and health systems collaborating with strategic teams is crucial for establishing a solid foundation for PHC systems. In terms of workforce, the network of family physicians is crucial for the retention of family doctors within the public service. In addition to their role as healthcare providers, family physicians also play a key role in supporting system development, bridging between different parties and capacity building for both physicians and interdisciplinary teams. Furthermore, the health system includes physicians and resources in the private sector at the primary care level, which the NHSO started to reimburse under the National Health Insurance system. This presents an opportunity for further development to connect public and private systems, ensuring sufficient resources for quality primary care services. Conclusion: The study highlights the urgent need to develop the PHC systems by fostering multisectoral participation, increasing investment, and strengthening horizontal integration using family medicine principles. Support should be provided for developing family physician networks in each province, utilising information technology to enhance primary care services through interdisciplinary team coordination at the community level. Additionally, a monitoring and evaluation system that reflects the value of family medicine is essential for service quality improvement.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3257.pdf
ขนาด: 9.583Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 5
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 5
รวมทั้งหมด: 5
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2491]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [621]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [287]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1295]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV