บทคัดย่อ
บริการปฐมภูมิเป็นกิจกรรมสำคัญในการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการประเมินอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย การศึกษานี้จึงดำเนินขึ้นเพื่อประเมินบริการปฐมภูมิของประเทศไทย จากมุมมองของผู้ให้บริการในพื้นที่ ด้วยแบบสอบถามของ Barbara Starfield ซึ่งเคยใช้ในการประเมินเปรียบเทียบบริการปฐมภูมิของประเทศต่างๆ โดยแจกแบบสอบถามให้ผู้บริการ 77 คน จาก 13 จังหวัดโรงพยาบาลในเครือข่าย ที่ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน "โครงการบริการประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย" ในวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2550 โดยให้คะแนน 9 คุณลักษณะของบริการปฐมภูมิ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 41 คน จาก 9 จังหวัด อัตราการตอบกลับร้อยละ 53.25 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า (1) ทรัพยากรยังไม่ได้รับการจัดสรรตามความจำเป็นของสุขภาพประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แม้จะมีมาตรการพิเศษเพื่อผู้ที่ขาดโอกาสอยู่บ้าง, (2) ความเพียงพอของเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ยังคงเป็นปัญหาสำหรับผู้บริการในบางภูมิภาค, (3) การเข้าถึงบริการเบื้องต้นต้องพบกับผู้บริการปฐมภูมิก่อนที่จะได้รับการดูแลอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ไม่ต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่าบริการสุขภาพ (4) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการดูแลโดยแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทีมเดิมทุกครั้ง เนื่องจากมีนโยบายที่กำหนดให้ประชาชนขึ้นทะเบียนกับผู้ให้บริการในพื้นที่ที่กำหนด และประกันว่าจะมีแพทย์และพยาบาลที่หน่วยบริการเพียงพอ (5) บริการปฐมภูมิมีความครอบคลุมค่อนข้างดี แต่มีบริการที่ยังไม่ครอบคลุม, และ (6) การประสานบริการ, การยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และการมีส่วนร่วมของชุมชน อยู่ในเกณฑ์ดี
บทคัดย่อ
The importance of primary care has increased since the recent health-care reform but no systematic
evaluation has been done. This study was aimed at assessing primary care in Thailand. The primary-care
system questionnaire originally developed by Barbara Starfield was used to assess nine primary-care
domains, namely, resource allocation, adequacy of facilities, first contact and co-payment requirement, longitudinality, comprehensiveness, coordination, family-centeredness, community orientation, and professional
personnel. Respondents were 77 primary care practitioners from 13 different provincial hospitals.
The findings showed a response rate of 53.25 percent. Providers stated that (1) the resource allocation
was not appropriately based on intimate needs, although there were some special provisions for
underserved segments of the population, (2) basic equipment and supplies were not adequate in some
regions, (3) consultation with a provider at the primary-care level was required before assessing to seek
other care, whereas the co-payment requirement was low, (4) most patients were seen by the same provider
team on every visit, (5) primary-care services are comprehensive although regional variations were
evident, (6) coordination, family-centeredness, and community orientation were satisfactory, and (7) nurses
were key providers at primary-care facilities.