บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแหล่งเงินวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 2. ศึกษาวิธีการจัดสรรเงินของสวรส. และ 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของงานที่เกิดจากเงินสนับสนุนการวิจัยของสวรส. การศึกษาทำโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่มีการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเงินสนับสนุนงานวิจัยสุขภาพของประเทศ ร่วมกับการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนข้อมูลทางการเงินและผลการดำเนินงานของสวรส. แล้วนำมาวิเคราะห์แปลผลซึ่งพบว่า 1. ในพ.ศ. 2545-2550 สวรส. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,445 ล้านบาท เป็นเงินจากแหล่งอื่นมากกว่าเงินงบประมาณ 2.ประเด็นที่สวรส.สนับสนุนทุนวิจัยมากที่สุดคือ ประเด็นระบบข้อมูลและการสร้างองค์ความรู้ 3. การดำเนินงานของสวรส. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงกระบวนการในสังคมและนโยบายด้านสุขภาพที่เป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับเงินงบประมาณที่ได้สนับสนุนไป จากการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะคือ 1. ควรมีการขยายพันธมิตรงานวิจัยสุขภาพไปสู่ภาคเอกชนให้มากขึ้น 2. การวัดประสิทธิภาพของหน่วยงานให้ทุนวิจัยควรดูจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการทั่วไปต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด ร่วมกับการที่องค์กรมีและปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ชัดเจนในเรื่องการสนับสนุนทุนวิจัยและยุติการให้ทุนวิจัย 3. การวัดประสิทธิผลของหน่วยงานให้ทุนวิจัย ควรดูที่ภาพรวมของผลลัพธ์ทั้งหมดขององค์กรที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ มากกว่าการดูผลเป็นรายแผนงาน/โครงการโดยแนวคิดโสหุ้ยรายหัว
บทคัดย่อ
The objectives of this study encompassed three elements to study: (1) the financial resources of the
Health Systems Research Institute (HSRI); (2) the budgetary allocation of HSRI; and (3) the relationship
between budget allocation and outcomes of HSRI. Data were collected from existing documents and studies on health research in Thailand and from financial data and activity reports of HSRI. The results showed
that (1) in the period 2002 and 2007, HSRI received 1,445 million Baht for health systems research, and
budgets from other sources dominated the government budget; (2) the major research themes involved
data systems and knowledge generation; and (3) the outcomes of HSRI activities, in terms of social movement and policy linkage, were related to the themes of research that received funds. The author recommends the following: (1) the private sector should play a greater role in supporting the national health
research system; (2) the efficiency of a research funding agency should be measured by the proportion of
administrative costs to the total expenditures, and the real practices of staff of that agency compared with
the agency’s existing protocol on funding and terminating a project; and (3) the effectiveness of a research
funding agency should be measured through total outcomes of that agency compared with the targets
mentioned in strategies rather than the figure of unit costs per program/project.