• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบวิจัยสุขภาพเพื่อการปฏิรูปสุขภาพที่ยั่งยืนในประเทศไทย

พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; Pongpisut Jongudomsuk;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การวิจัยสุขภาพมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านไป อย่างไรก็ตาม บริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ รวมทั้งความซับซ้อนของระบบสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการการวิจัยสุขภาพเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันและอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างมาก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบวิจัยสุขภาพของประเทศไทยในมิติต่างๆ โดยใช้การทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมระดมสมองเพื่อให้ได้ข้อเสนอสำหรับการพัฒนาระยะต่อไป จากการศึกษาพบว่าระบบวิจัยสุขภาพของประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหลายด้าน ตั้งแต่ขาดองค์กรนำที่ชัดเจน ขาดทรัพยากรที่เพียงพอและขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การจัดตั้งหน่วยงานผู้ให้ทุนและบริหารจัดการวิจัยที่เป็นองค์อิสระ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีส่วนสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยสุขภาพอย่างมาก แนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาได้สนับสนุนการเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายจนประสบความสำเร็จในหลายกรณี การพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการวิจัยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิมไปสู่การเรียนรู้จากปฏิบัติการจริงมากขึ้น ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาระยะต่อไปคือ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการวิจัยผ่านกระบวนการเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงานจริง การระดมทรัพยากรเพื่อใช้สำหรับการวิจัย และพัฒนาบุคลากรทางด้านการวิจัยสุขภาพมากขึ้น ทางเลือกในการระดมทรัพยากรส่วนหนึ่งได้มาจากการทำวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการหน่วยงานผู้ใช้มากขึ้น การผลักดันให้มีกฎหมายสำหรับการวิจัยสุขภาพเฉพาะโดยมีการกำหนดกรอบงบประมาณที่ชัดเจน น่าจะเป็นเป้าหมายระยะยาว นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการงานวิจัย โดยพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมา พร้อมๆ กับการพัฒนาให้เกิดองค์กรนำสำหรับการวิจัยสุขภาพของประเทศในอนาคต

บทคัดย่อ
During the past two decades health research has contributed substantially to health system development in Thailand. Health system has been increased its system complexity and thus increases demand for health research for further development. This paper is aimed to explore the current health research system in Thailand and its capacity to cope with the increasing demand. Literature review and in-depth interview of key informants were used for data collection. In addition, a series of brain-storming meetings and a synthesis workshop were organized to help analysis and to draw recommendations for future development. It was found that the national health research system was facing many problems including lack of leadership, limited health research resources both research budget and health researchers with inefficient use. Strengths of the system which could be a foundation for future development included an establishment of autonomous research funding agencies which created a productive working environment for health researchers to work effectively and a new working model called “triangle that moves the mountain” which involved stakeholders and civic groups in the research management process which could promote research utilization and health system change based on knowledge. In addition, capacity building has been shifted from a conventional formal training model to on the job training under mentorship of senior health researchers. It is recommended that capacity building of health researchers is urgently needed and this has to be done on the job-training basis. Mobilization of additional research budget is needed not only for supporting more research studies required for on-going health system reforms but also for capacity building. A possible solution for mobilizing addition research budget is through making research more responsive to demand of other public organizations. Using earmarked budget, 1 percent of total health budget, by enactment of the National Health Research Bill could be a long term solution and needs a strong political support. Research management system needs to be strengthened through competent research managers. Increasing management capacity of these research managers needs a special training programme and research management tools. Finally, strengthening leadership of national health research system needs a structural reform. However, a temporary solution is to use an existing health research funding agency to perform this leading function with an acceptance of other health research funding agencies
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n3 ...
ขนาด: 483.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 2
เดือนนี้: 7
ปีงบประมาณนี้: 283
ปีพุทธศักราชนี้: 177
รวมทั้งหมด: 1,066
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV