• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การคืนทุนของบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลอุดรธานี : รายงานการวิจัย

จันทนา พัฒนเภสัช; อาทร ริ้วไพบูลย์; วัชรา ริ้วไพบูลย์;
วันที่: 2550-12
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคืนทุนของบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยทำการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง อิงสถิติความชุกของโรค คำนวณต้นทุนบริการทางการแพทย์โดยใช้วิธีมาตรฐาน และแบบต้นทุนจุลภาคในมุมมองของผู้ให้บริการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหวภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2549 ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจำนวน 239 ราย โดยมีโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนค่ากายอุปกรณ์และเครื่องช่วยร้อยละ 69.05 รองลงมาคือต้นทุนการรักษาในโรงพยาบาลร้อยละ 17.09 ต้นทุนกายภาพบำบัดร้อยละ 5.35 ต้นทุนกิจกรรมบำบัดร้อยละ 4.53 ต้นทุนการตรวจประเมินร้อยละ 3.13 ต้นทุนค่ายาร้อยละ 0.62 และต้นทุน Phenol block ร้อยละ 0.23 การศึกษาพบว่าต้นทุนรวมของทุกบริการเท่ากับ 8,365.07 บาท/ราย/ปี หากบริการที่โรงพยาบาลจัดให้ผู้รับบริการตรงกับรายการอุปกรณ์และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์คนพิการที่ประกาศโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) จะสามารถเรียกเก็บเงินชดเชยได้ตามราคาของโรงพยาบาล แต่ไม่เกินอัตราที่ สปสช. กำหนด ดังนั้นจึงวิเคราะห์การคืนทุนทั้งในกรณีที่คำนวณต้นทุนจากบริการที่มีในรายการเรียกเก็บของสปสช. และกรณีที่คำนวณต้นทุนจากบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ทั้งหมด พบว่าอัตราการคืนทุนเป็นร้อยละ 36.77 ของต้นทุนบริการที่มีในรายการเรียกเก็บของสปสช. และมีอัตราการคืนทุนร้อยละ 29.11 ของต้นทุนทั้งหมดที่ต้องใช้ไปในกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เมื่อวิเคราะห์อัตราคืนทุนของต้นทุนค่าวัสดุเพียงอย่างเดียว พบว่ามีอัตราการคืนทุนร้อยละ 59.47 ของต้นทุนบริการที่มีในรายการเรียกเก็บของสปสช. และมีอัตราการคืนทุนร้อยละ 55.53 ของต้นทุนทั้งหมดที่ต้องใช้ไปในกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ดังนั้นบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีอัตราการคืนทุนราวหนึ่งในสามจากรายการอุปกรณ์และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และอัตราการจ่ายชดเชยในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องให้ความใส่ใจ ผลการศึกษานี้โรงพยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางบริหารต้นทุนเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านผู้กำหนดนโยบายสามารถนำไปใช้ประกอบพิจารณาปรับรายการอุปกรณ์และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์คนพิการให้มีรายการที่ครอบคลุมทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถคืนทุนได้ ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้สถานพยาบาลจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์มากขึ้น ส่งผลให้คนพิการมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองได้
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1448.pdf
ขนาด: 1.438Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 136
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV