บทคัดย่อ
บริการจ่ายยาต่อเนื่องตามใบสั่งแพทย์แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยร้านยาเอกชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยเป็นรูปแบบใหม่ของเครือข่ายบริการสุขภาพระหว่างร้านยาเอกชนกับหน่วยบริการปฐมภูมิหลักภายใต้ระบบประกันสุขภาพฯ ที่ยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลของบริการ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างบริการของโรงพยาบาลกับบริการทางเภสัชกรรมของเภสัชกรชุมชนในการจ่ายยาต่อเนื่องและดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, และเลือดมีไขมันมากเกิน) ที่มีสถานภาพเวชกรรมคงที่ การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองและเชิงพรรณนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทางเวชกรรมของผู้ป่วยที่ใช้บริการที่ร้านยาและที่โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์สวาทยานนท์ ในช่วงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ถึง 30 พฤศจิกายน 2549 การเก็บรวบรวมข้อมูลทางเวชกรรมของผู้ป่วยใช้แบบบันทึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้ Levene๛s test for equality of variances, paired
t-test, independent t-test สำหรับเปรียบเทียบข้อมูลทางเวชกรรมของผู้ป่วย โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มที่ไปรับบริการจ่ายยาต่อเนื่องตามใบสั่งแพทย์ที่ร้านยา (กลุ่มทดลอง) 27 คน และกลุ่มที่รับบริการที่โรงพยาบาลตามปรกติ (กลุ่มควบคุม) 69 คน เมื่อทดลองเป็นเวลา 6เดือน แล้วทำการเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด, ค่าแรงดันเลือดสิย์สโทลิกและไดแอสโทลิก ของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ (ค่าพี 0.875, 0.770 และ 0.706 ตามลำดับ), และผู้ป่วยมีความพึงพอใจบริการโดยรวมในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 63.5, และผู้ป่วยทุกราย (ร้อยละ 100) พึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุดต่อความสะดวกและความรวดเร็วของบริการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างโดยนัยทางสถิติของประสิทธิผลในการให้บริการเติมยาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรชุมชนและบริการของโรงพยาบาล ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยยืนยันบทบาทของเภสัชกรชุมชนในบริการเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คณะผู้วิจัยให้ข้อคิดว่าการที่ร้านยาเอกชนสามารถเข้าร่วมให้บริการในระบบประกันสุขภาพฯ โดยเป็นหน่วยบริการร่วมเป็นการช่วยปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของบริการสาธารณสุขโดยรวมจากการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพและการเพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยด้วย
บทคัดย่อ
The refilling of prescriptions for patients with chronic diseases under Thailand’s Universal
Coverage Scheme (UCS) by a private community pharmacy was developed as the model for a
health-care network linking the pharmacy and primary care units under the UCS. The objective of
this study was to compare the outcomes of the pharmacy providing health-care services for stablechronic patients, including those with diabetes mellitus, hypertension and dyslipidemia, between
those of the community pharmacy and primary care units. The quasi experimental study and
qualitative study were conducted during the period from December 1, 2005 to November 30, 2006.
Data collection was performed using pluralist methodology, including patient clinical data, questionnaire,
observation and telephone interview. The percentile, mean, standard deviation were
calculated. Levene’s test for equality of variances, paired t-test, and independent t-test were used
for comparing the clinical data. The patients were divided into a treatment group (n=27) and a
control group (n=69). The treatment group repeatedly refilled their prescriptions at the pharmacy
whereas the control group obtained normal services at the Phra Samuth Jadee Hospital, the main
contractor. After six months, clinical outcomes were compared between both groups. The results
revealed that the fasting blood sugar level, systolic blood pressure and diastolic blood pressure
between the treatment and the control group were not significantly different (p-values = 0.875,
0.770 and 0.706, respectively). The results of a telephone interview with the treatment group indicated
that the overall satisfaction with the services was 63.5 percent. Interestingly, the satisfaction
in the fast and convenient services among the patients who refilled their medications at the pharmacy
was 100 percent. These results indicated that the refill prescription service by the pharmacy
is as effective as that by the hospital. This study confirms the distinct and important roles played by
community pharmacists in delivering pharmaceutical care to chronic patients. In addition, the
pharmacy could be a health-care provider serving as a subcontractor in the health-care network
under the Universal Coverage Scheme in Thailand. This could improve and develop the quality of
the overall health-care services. This health-care service model provides more access to care and
increases the treatment quality of patients.