บทคัดย่อ
การประเมินผลความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานศิลปหัตถกรรมโลหะ ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรุงรัตนโกสินทร์ โดยการสำรวจลักษณะประชากร สภาพปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างรูปแบบใช้ในการประเมินผลด้านความปลอดภัยทางอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างศึกษา จำนวน 48 คน ได้จากประชากรในพื้นที่ชุมชน 5 แห่ง ระเบียบวิธีการศึกษาใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล ทำการประเมินผลการทดลองเปรียบเทียบก่อนและหลังรูปแบบที่สร้างขึ้น โดยใช้รูปแบบการประเมินความเสี่ยง มอก.18001 และการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) ผลการศึกษาพร้อมวิจารณ์ ชุมชนบ้านบุ ผลิตขันลงหิน ในขั้นตอนการหลอมและตีมีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงาน ร้อยละ 82.71 และมีระดับความเสี่ยงสูง หลังจากใช้รูปแบบพบโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.61 ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ชุมชนบ้านบาตร ผลิตบาตรพระสงฆ์ ในขั้นตอนการแล่นบาตร (เป่าแล่น) มีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานร้อยละ 93.59 และมีระดับความเสี่ยงสูง. หลังจากใช้รูปแบบพบโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานร้อยละ 48.14 มีระดับความเสี่ยงปานกลาง ชุมชนบ้านเนิน ผลิตฆ้องวง ในขั้นตอนการเจียและกลึงมีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำร้อยละ 85.18 มีระดับความเสี่ยงสูงปานกลาง หลังจากใช้รูปแบบพบมีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานน้อย คิดเป็นร้อยละ 46.91 มีระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ชุมชนบ้านตีทอง ผลิตทองคำเปลว ในขั้นตอนการตีทองใส่กุบ มีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานร้อยละ 86.42 มีระดับความเสี่ยงสูง หลังจากใช้รูปแบบพบมีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานคิดเป็นร้อยละ 64.19 มีระดับความเสี่ยงยอมรับได้ ชุมชนบ้านช่างทอง ผลิตทองรูปพรรณ ในขั้นตอนการหลอมทองคำ มีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานปานกลางคิดเป็นร้อยละ 67.90 มีระดับความเสี่ยงปานกลาง หลังจากใช้รูปแบบพบมีโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานน้อย คิดเป็นร้อยละ 37.03 มีระดับความเสี่ยงยอมรับได้
บทคัดย่อ
A study was carried out to evaluate the impact of local wisdom on safety, occupational health, and
the working environment among metal handicraft workers in Bangkok Metropolis. The objectives were
to survey the variety of the population and their problems; to analyze the data and construct a model; and
to evaluate the safety, occupational health and working circumstances. The sample group for this study
comprised 48 people in five communities. The data-collection instruments were questionnaires and interview
questions. The study methodology compared the risk assessment of a production process without
using the model, and the risk assessment (TISI.18001) of the process, using the constructed model.
The data were analyzed by job safety analysis (JSA).
The findings were as follows:
Baan Bu Community making brown bowls. The process of melting and hammering metal posed a high
occupational risk (82.7 percent); this was reduced to 50.6 percent by using the model and the level of
danger was acceptable.
Baan Bart Community producing food bowls for monks (batr phra). The blowing process to make bowls
showed a high occupational risk of 93.59 percent; this was reduced to 48.14 percent by using the model
and the level of danger was moderate.
Baan Nern Community producing “khong wong” (a musical instrument). The process of polishing and
cutting metal in making a khong wong poses a high danger risk (85.18 percent); this was reduced to 46.9
percent by using the model and this level of danger was low.
Baan Tee Tong Community producing gold leaf. The process of melting and hammering gold leaf poses
a high danger risk (86.42 percent); this was reduced to 64.19 percent by using the model and the level of
danger was acceptable.
Baan Chang Tong Community producing gold ornaments The process of melting gold for making ornaments
poses a high danger risk (67.9 percent); this was reduced to 37.03 percent by using the model and
the level of danger was acceptable.