บทคัดย่อ
หนังสือ ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย เป็นการรวบรวมผลการศึกษา ทบทวนประสบการณ์การจัดระบบหลักประกันสุขภาพภายในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับใช้เรียนรู้ วิเคราะห์ และวิจัยให้มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง และจุดเปลี่ยนผ่านที่ดำเนินอยู่ในสังคมไทยในระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 บริบทของประกันสุขภาพ ได้แก่ 1.1 ระบบสุขภาพของประเทศไทย 1.2 ระบบประกันสุขภาพในภาพรวมของประเทศไทย ด้านที่ 2 ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย ได้แก่ 2.1 ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ : บทเรียนของการจ่ายตามบริการที่ไร้การควบคุม 2.2 โครงการประกันสังคม : ประสบการณ์ต่างๆ ในการพิจารณาบริการทางการแพทย์ในระบบเหมาจ่าย 2.3 สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล การคลัง และการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 2.4 โครงการบัตรประกันสุขภาพ ระบบประกันสุขภาพภาคสมัครใจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ 2.5 การประกันสุขภาพภาคเอกชน ด้านที่ 3 นวัตกรรมของระบบประกันสุขภาพ ได้แก่ 3.1 ระบบประกันสุขภาพชนิดใหม่ 3.2 กลุ่มออมทรัพย์กับสวัสดิการสุขภาพชุมชน ด้านที่ 4 กลไกที่จำเป็นสำหรับระบบประกันสุขภาพ ได้แก่ 4.1 การพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในประเทศไทย 4.2 ระบบประกันคุณภาพของการดูแลสุขภาพในประเทศไทย 4.3 การปฏิรูประบบบริหารจัดการด้านยา ด้านที่ 5 การปฏิรูประบบสุขภาพกับการประกันสุขภาพ ได้แก่ 5.1 วาระปฏิรูปในประเทศไทย 5.2 การปฏิรูประบบริหารภาครัฐและการปฏิรูปภาคราชการ กับอนาคตของการพัฒนา การประกันสุขภาพของประเทศไทย : การปกครองตนเองและการกระจายอำนาจในการบริการโรงพยาบาล 5.3 การปฏิรูประบบบริการสุขภาพระดับต้น 5.4 การดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า