• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นทุน-ผลได้ ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยเน้นการควบคุมในสุนัข

สุเมธ องค์วรรณดี; ประวิทย์ ชุมเกษียร; นราทิพย์ ชุติวงศ์; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีทางรักษาโรคนี้ ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกราย โดยมีสุนัขเป็นต้นเหตุที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า หากสามารถฉีดวัคซีนให้แก่สุนัขได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนสุนัขที่มีในพื้นที่นั้นๆ จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานหมู่ สามารถป้องกันการติดโรคในสุนัขรวมถึงคนได้อีกทางหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนในการควบคุมโรคในสุนัขและการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่สัมผัสโรคแล้ว โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่ได้มีการรวบรวมเมื่อ พ.ศ. 2543 และผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมโดยสมมติแบบจำลองกรณีประเทศไทยควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าโดยเน้นการควบคุมในสุนัข ระหว่าง พ.ศ.2544-2546 โดยประมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการควบคุมโรคในสุนัข และประมาณผลที่จะได้รับคือ การเสียชีวิตในมนุษย์ที่ลดลงหรือป้องกันได้ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อ พ.ศ. 2543 ประเทศไทยได้ใช้ข่ายเพื่อควบคุมโรคทั้งในสุนัขและคนไปทั้งสิ้น 1,188,446,635 บาท แบ่งค่าใช้จ่ายในการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ร้อยละ 32 และการให้การรักษาพยาบาลคนหลังสัมผัสโรคร้อยละ 68 โดยต้นทุนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขเฉลี่ยเท่ากับ 46.54 บาทต่อครั้งในขณะที่การฉีดวัคซีนในคน (หลังการสัมผัสโรคแล้ว) เฉลี่ยเท่ากับ 480.08 บาทต่อครั้ง ต้นทุนการตรวจชันสูตรโรคในสัตว์ (การตรวจหัวสุนัข) เฉลี่ย 2,897.72 บาทต่อตัวอย่าง การศึกษาเพิ่มเติมจากแบบจำลองพบว่า ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าด้วยการฉีดวัคซีนให้แก่สุนัขไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 เป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน (ระหว่าง พ.ศ. 2544-2546) และจำนวนประชากรสุนัขที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ประเทศไทยจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 99,321,106 บาท ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าระหว่าง พ.ศ. 2544-2546 ลดลงจำนวน 27, 21 และ 25 ราย ตามลำดับ โดยไม่มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเลยใน พ.ศ. 2546 ผลได้จากการลงทุนในครั้งนี้คือผลต่าง (incremental benefit) ของรายได้ที่สูญเสียไป (income foregone) ที่สามารถได้คืนมาจากการตายลดลง ใช้หลักทุนมนุษย์ (human capital approach) กับรายจ่ายในโครงการควบคุมโดยเน้นในสุนัขซึ่งเท่ากับ 202,674,921 บาท ณ มูลค่า พ.ศ. 2543 เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนของโครงการพบว่าเท่ากับ 2.04 (เมื่อใช้อัตราส่วนลดร้อยละ 3) และ 1.36 (เมื่อใช้อัตราส่วนลดร้อยละ 5)
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2003_DMJ43_ต้นทุน.pdf
ขนาด: 2.290Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 119
ปีพุทธศักราชนี้: 54
รวมทั้งหมด: 1,998
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV