ต้นทุน-ผลได้ ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยเน้นการควบคุมในสุนัข
dc.contributor.author | สุเมธ องค์วรรณดี | en_US |
dc.contributor.author | ประวิทย์ ชุมเกษียร | en_US |
dc.contributor.author | นราทิพย์ ชุติวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-01T03:26:12Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:53:53Z | |
dc.date.available | 2008-10-01T03:26:12Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:53:53Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการสาธารณสุข 12,6(2546) : 937-948 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-4923 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ43 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/239 | en_US |
dc.description.abstract | โรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีทางรักษาโรคนี้ ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกราย โดยมีสุนัขเป็นต้นเหตุที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า หากสามารถฉีดวัคซีนให้แก่สุนัขได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนสุนัขที่มีในพื้นที่นั้นๆ จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานหมู่ สามารถป้องกันการติดโรคในสุนัขรวมถึงคนได้อีกทางหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนในการควบคุมโรคในสุนัขและการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่สัมผัสโรคแล้ว โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่ได้มีการรวบรวมเมื่อ พ.ศ. 2543 และผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมโดยสมมติแบบจำลองกรณีประเทศไทยควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าโดยเน้นการควบคุมในสุนัข ระหว่าง พ.ศ.2544-2546 โดยประมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการควบคุมโรคในสุนัข และประมาณผลที่จะได้รับคือ การเสียชีวิตในมนุษย์ที่ลดลงหรือป้องกันได้ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อ พ.ศ. 2543 ประเทศไทยได้ใช้ข่ายเพื่อควบคุมโรคทั้งในสุนัขและคนไปทั้งสิ้น 1,188,446,635 บาท แบ่งค่าใช้จ่ายในการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ร้อยละ 32 และการให้การรักษาพยาบาลคนหลังสัมผัสโรคร้อยละ 68 โดยต้นทุนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขเฉลี่ยเท่ากับ 46.54 บาทต่อครั้งในขณะที่การฉีดวัคซีนในคน (หลังการสัมผัสโรคแล้ว) เฉลี่ยเท่ากับ 480.08 บาทต่อครั้ง ต้นทุนการตรวจชันสูตรโรคในสัตว์ (การตรวจหัวสุนัข) เฉลี่ย 2,897.72 บาทต่อตัวอย่าง การศึกษาเพิ่มเติมจากแบบจำลองพบว่า ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าด้วยการฉีดวัคซีนให้แก่สุนัขไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 เป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน (ระหว่าง พ.ศ. 2544-2546) และจำนวนประชากรสุนัขที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ประเทศไทยจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 99,321,106 บาท ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าระหว่าง พ.ศ. 2544-2546 ลดลงจำนวน 27, 21 และ 25 ราย ตามลำดับ โดยไม่มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเลยใน พ.ศ. 2546 ผลได้จากการลงทุนในครั้งนี้คือผลต่าง (incremental benefit) ของรายได้ที่สูญเสียไป (income foregone) ที่สามารถได้คืนมาจากการตายลดลง ใช้หลักทุนมนุษย์ (human capital approach) กับรายจ่ายในโครงการควบคุมโดยเน้นในสุนัขซึ่งเท่ากับ 202,674,921 บาท ณ มูลค่า พ.ศ. 2543 เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนของโครงการพบว่าเท่ากับ 2.04 (เมื่อใช้อัตราส่วนลดร้อยละ 3) และ 1.36 (เมื่อใช้อัตราส่วนลดร้อยละ 5) | en_US |
dc.format.extent | 2401868 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | โรคพิษสุนัขบ้า | en_US |
dc.title | ต้นทุน-ผลได้ ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยเน้นการควบคุมในสุนัข | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า | en_US |
dc.subject.keyword | การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ | en_US |
dc.subject.keyword | การควบคุมในสุนัข | en_US |
.custom.citation | สุเมธ องค์วรรณดี, ประวิทย์ ชุมเกษียร, นราทิพย์ ชุติวงศ์ and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ต้นทุน-ผลได้ ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยเน้นการควบคุมในสุนัข." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/239">http://hdl.handle.net/11228/239</a>. | |
.custom.total_download | 1915 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 331 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 36 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)