แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

เครือข่ายวิจัยระบบยา

dc.contributor.authorพงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุขen_US
dc.contributor.authorจุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorนุศราพร เกษสมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์en_US
dc.contributor.authorชนัตถา พลอยเลื่อมแสงen_US
dc.contributor.authorศิริตรี สุทธจิตต์en_US
dc.contributor.authorธนนรรจ์ รัตนโชติพานิชen_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ วลีขจรเลิศen_US
dc.contributor.authorพรพิศ ศิลขวุธท์en_US
dc.contributor.authorสรชัย จำเนียรดำรงการen_US
dc.contributor.authorธนภร ทองศรีen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-10-19T09:34:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:01:26Z
dc.date.available2009-10-19T09:34:31Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:01:26Z
dc.date.issued2552-10en_US
dc.identifier.isbn9789742991371en_US
dc.identifier.otherhs1608en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2776en_US
dc.description.abstractเอกสารฉบับนี้รวบรวมประเด็นสำคัญและข้อเสนอจากการประชุมเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาระบบยา เพื่อการเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชาชนไทย” จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2552 ณ. โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร คำกล่าวเปิดการประชุมโดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ได้เสนอให้มีการจัดทำชุดโครงการวิจัยระบบยาเชิงนโยบายที่มีคุณภาพ โดยมีโจทย์วิจัยที่ลึกซึ้ง ภายใต้ภาพใหญ่ของสังคม ทั้งนี้อาจมีจำนวน 5-6 โครงการ การอภิปราย “สถานการณ์ระบบยาประเทศไทย รู้เท่าทันกระแสโลก” เริ่มด้วยปัญหาผลกระทบของระบบสิทธิบัตรยาต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาชื่อสามัญ พฤติกรรมการใช้ยาของระบบประกันสุขภาพต่างๆ การสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติราคาแพงที่มีผู้จำหน่ายรายเดียวในระบบสวัสดิการข้าราชการ การกำหนดราคายาที่ไม่สะท้อนต้นทุน และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อระบบยา สำหรับการทบทวนวรรณกรรมที่ได้รับการตีพิมพ์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (สนับสนุนโดยสวรส.)และจากฐานข้อมูลของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) (สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ : สสส.) พบว่า งานวิจัยระบบยาในระดับชาติยังมีน้อย ที่มีอยู่ส่วนใหญ่มิใช่งานวิจัยเชิงระบบ และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ในการประชุมกลุ่มย่อย ได้มีข้อเสนอต่อการบริหารจัดการงานวิจัยระบบยา ดังนี้ (1) ควรกำหนดทิศทางการวิจัยระบบยาให้ชัดเจน (2) ควรเปิดช่องทางในการเข้าถึงแหล่งทุน (3) มีเวทีให้นักวิจัยเสนอผลการวิจัยแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้กำหนดนโยบาย (4) ส่งเสริมให้เกิดทีมวิจัยทั้งภายในมหาวิทยาลัยและระหว่างมหาวิทยาลัย ร่วมกับตัวแทนจากองค์กรส่วนกลางและสถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้จากนักวิจัยอาวุโส เพื่อให้เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เข้มแข็ง (5) กระจายเครือข่ายวิจัยระบบยาสู่ระดับภูมิภาค (6) สร้างระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาระบบยา โดย สวรส.ประสานงานให้นักวิจัยเข้าถึงฐานข้อมูลเพื่อนำมาวิจัยระบบยา การเปิดอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป ได้เสนอให้เร่งพัฒนากลไกกลางเพื่อขยายเครือข่ายวิจัยระบบยาให้กว้างขวางขึ้น โดยส่งเสริมการสร้างและการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย และแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุน ทั้งนี้ ได้เสนอให้สร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายนักวิจัยภายใต้หลักการ I-N-N-E ( Individual-Node-Network-Environment ) ของ UNDP เพื่อเสริมพลังการขับเคลื่อนความรู้ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ประเด็นวิจัยที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ การพัฒนานโยบายด้านการใช้ยาและการกระจายยา การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยา การบริหารยาในระบบประกันสุขภาพ การศึกษาติดตามค่าใช้จ่ายด้านยาในภาพรวมของประเทศ และการประเมินผลลัพธ์ของยาทางคลินิก ดังนั้น สวรส.จะต้องวางกรอบการวิจัยระบบยาในประเด็นเหล่านี้ให้ชัดเจนและบริหารจัดการให้ดีเพื่อป้องกันการแยกส่วนปฏิบัติโดยไม่สัมพันธ์กันและป้องกันการวิจัยซ้ำซ้อน และเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ จะต้องควบคุมทิศทางการวิจัยระบบยาให้ตอบสนองต่อระบบสุขภาพไทยให้ได้ รวมทั้งต้องจัดระบบที่ปรึกษาที่มีนักวิจัยอาวุโสให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนในด้านต่างๆแก่นักวิจัยด้วยen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectยาen_US
dc.subjectการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านยาen_US
dc.subjectระบบยาen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleเครือข่ายวิจัยระบบยาen_US
dc.title.alternativePharm. System Research Networken_US
dc.typeDocumenten_US
dc.description.publicationเอกสารจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาระบบยา เพื่อการเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชาชนไทย” วันที่ 26-27 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานครen_US
dc.description.abstractalternativeThis proceeding summarizes discussion points and implementation proposals from a consultative workshop on “Research Framework on Pharmaceutical Systems and Access to Medicines”, hosted by Health Systems Research Institute (HSRI) during 26-27 August 2009 at Siam City Hotel, Bangkok. An opening remark by Professor Dr. Vijarn Panich, the HSRI Board shed light on an urgent need for quality research framework on pharmaceutical systems that are relevant to the national policies. The framework may cover around 5-6 project packages that address research strategies in-depth through the holistic picture of Thai society. A panel discussion on “Current Situation of Pharmaceutical Systems in Thailand: Catching up with the Global Trends” began with an elaboration on impacts of the global drug patent systems on the domestic generic drug industries. Health service behavior related to drug utilization like over-prescribing of the single-source, non-essential, and expensive drugs under Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) is an obvious contention between the responsiveness and efficiency goals of the health systems. Other systems issues included drug pricing that does not reflect the true cost structure. The discussion ended with description of influencing factors to pharmaceutical systems and knowledge management tasks related to pharmaceutical systems research. The current situation of pharmaceutical systems research presented was based on a rapid review of peer-review publications during the past 5 years by the HSRI and a summary from the ThaiHealth’s Plan on Mechanism for Monitoring and Development of Pharmaceutical Systems (Kor Por Yor)’s databases. The conclusion was scarcity of the research at the national level and the research weakness due to the use of non-systematic approaches and under-utilization of the study results. Two sessions of small group discussion proposed some better approaches to pharmaceutical systems research management. These include (1) a precondition of the clear research direction, (2) a facilitating channel for access to research funding agencies, (3) a platform of consultation with stakeholders or policy makers for upgrading and translational research, (4) building research teamwork within and between academic institutes, central organizations and service organizations, to learn from senior mentors, and establishing knowledge sharing networks, (5) developing pharmaceutical systems research network, and (6) setting up an information center of pharmaceutical systems by HSRI coordination to facilitate researchers access to national databases. The concluding discussion resulted in a proposal of establishing a coordinating body between available networks of pharmaceutical systems research for knowledge generation and management, which includes capacity building missions based on the UNDP’s Individual-Node-Network-Environment model for translating knowledge to changes. The pretest and post test feedback by the participants revealed the research priority in the following areas: (1) formulation and implementation of drug distribution and utilization policies; (2) study of rational drug use behavior; (3) drug reimbursement and payment under health insurance systems; (4) monitoring of drug expenditures; (5) evaluation of clinical outcomes of drug use. The HSRI as the host for the meeting should lay out a clear research framework related to the above mentioned areas to prevent fragmentation and duplication. This can be fulfilled by orientating the pharmaceutical systems research towards the health systems strengthening framework and arranging the mentorship platform for junior and senior researchers.en_US
dc.identifier.callnoQV55 ค752 2552en_US
dc.subject.keywordการสั่งจ่ายยาen_US
.custom.citationพงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, ศิริตรี สุทธจิตต์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, พรพิศ ศิลขวุธท์, สรชัย จำเนียรดำรงการ and ธนภร ทองศรี. "เครือข่ายวิจัยระบบยา." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2776">http://hdl.handle.net/11228/2776</a>.
.custom.total_download840
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1608.pdf
ขนาด: 6.225Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย