การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการใช้ยากลุ่ม HMG-COA reductese inhibitor (Statin) เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดปฐมภูมิ
dc.contributor.author | ยุพิน ตามธีรนนท์ | en_US |
dc.contributor.author | ปัณรสี ขอนพุดซา | en_US |
dc.contributor.author | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | ยศ ตีระวัฒนานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | Lim, Stephen | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-02-09T08:41:35Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:41:41Z | |
dc.date.available | 2010-02-09T08:41:35Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:41:41Z | |
dc.date.issued | 2550-12 | en_US |
dc.identifier.isbn | 9789740457725 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2885 | en_US |
dc.description.abstract | โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในหลายประเทศจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายของประชากรทั่วโลกปีละประมาณ 17 ล้านคนและคาดว่าในปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดราว 25 ล้านคน โดยอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาประมาณ 19 ล้านคนหรือร้อยละ 76 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด สำหรับในประเทศไทยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของสาเหตุการตายมานานกว่ายี่สิบปีและจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปีพ.ศ. 2546 มีผู้ป่วยจำนวน 991,413 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2545 กว่า 136,000 รายหรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16 และมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว 40,092 ราย ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยจากการศึกษาพบว่าประมาณหนึ่งสามของโรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นผลมาจากระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่า 3.8 mmol/l หรือ 147 mg/dl และประมาณสองในสามของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นผลมาจากระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่า 3.8 mmol/l และหากทำการรักษาภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติจนสามารถลดระดับคลอเลสเตอรอลได้ 0.6 mmol/l หรือ 23.2 mg/dl จากระดับคลอเลสเตอรอลเดิมของผู้ป่วยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร้อยละ 27 และหากลดระดับคลอเลสเตอรอลลงได้ 1 mmol/l หรือ 38.67 mg/dl จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองลงได้ร้อยละ 13 ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงในประเทศไทย คือ ผู้ป่วยไม่เคยได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา และยังพบว่าผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษามีสัดส่วนที่สูงในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง สำหรับประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานในการที่จะนำมาใช้เพื่อกำหนดแนวทางในการเลือกใช้ยาในกลุ่ม statins สำหรับการป้องกันปฐมภูมิและการป้องกันทุติยภูมิ ว่าควรเริ่มให้การรักษาด้วยยาชนิดใด นอกจากนี้งานวิจัยในต่างประเทศในเรื่องการเปรียบเทียบต้นทุนประสิทธิผลของยาในกลุ่ม statins ส่วนใหญ่ที่มียังไม่ดีพอ เนื่องจากระยะเวลาการศึกษาค่อนข้างสั้น (ประมาณ 1 ปี) นอกจากนี้ยังมีการใช้ intermediate outcomes เช่น ร้อยละของการลดระดับ LDL ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตหรืออัตราตายของผู้ป่วยซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สนใจสำหรับผู้บริหาร และข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่สามารถนำมาใช้สำหรับประเทศไทยได้เนื่องจากมีความแตกต่างทั้งในเรื่องของราคาขายในแต่ละประเทศ รวมทั้งความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ และแนวทางการรักษา ด้วยแนวคิดและเหตุผลดังกล่าวทีมผู้วิจัยจึงมีความต้องการที่จะประเมินความคุ้มค่าของการใช้ยาลดไขมันในเลือดสำหรับประเทศไทยเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดแนวทางในการใช้ยาในกลุ่ม statinsสำหรับการป้องกันปฐมภูมิและการป้องกันทุติยภูมิ และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการที่จะปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีคลอบคลุมในผู้ที่ควรได้รับการรักษา มีการใช้ยาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการรักษา | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.format.extent | 808937 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ | en_US |
dc.rights | โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | โรคหัวใจ | en_US |
dc.subject | โรคหลอดเลือด | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | en_US |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | en_US |
dc.title | การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการใช้ยากลุ่ม HMG-COA reductese inhibitor (Statin) เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดปฐมภูมิ | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.subject.keyword | ความคุ้มค่าทางการแพทย์ | en_US |
.custom.citation | ยุพิน ตามธีรนนท์, ปัณรสี ขอนพุดซา, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์ and Lim, Stephen. "การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการใช้ยากลุ่ม HMG-COA reductese inhibitor (Statin) เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดปฐมภูมิ." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2885">http://hdl.handle.net/11228/2885</a>. | |
.custom.total_download | 2975 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 173 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 25 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ [22]
Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP)