แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาความต้องการและทบทวนดัชนีชี้วัดปัญหาแอลกอฮอล์ระดับนานาชาติและระดับชาติและการพัฒนาดัชนีชี้วัดปัญหาแอลกอฮอล์

dc.contributor.authorบัณฑิต ศรไพศาลen_US
dc.contributor.authorจุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณen_US
dc.contributor.authorกมลา วัฒนพรen_US
dc.date.accessioned2010-09-24T07:12:59Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:11:12Z
dc.date.available2010-09-24T07:12:59Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:11:12Z
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.otherhs1707en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3008en_US
dc.description.abstractการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีความจำเป็นที่จะต้องรู้สถานการณ์ต่างๆ อย่างถ่องแท้ เหมือนการออกเดินทางผจญภัยหากรู้ลมฟ้าอากาศจะทำให้สามารถเตรียมการรองรับได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การจะรู้สถานการณ์ที่แม่นยำได้นั้นต้องรู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรวัด ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “ดัชนีชี้วัด” ที่แม่นยาและต้องมีระบบข้อมูลซึ่งครอบคลุมการสร้างข้อมูลและการใช้ข้อมูล ซึ่งเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ระบบข้อมูลที่ดี เอกสารทบทวนองค์ความรู้ฉบับนี้ได้ดำเนินการทบทวนองค์ความรู้เรื่องดัชนีชี้วัดปัญหาการบริโภค ผลกระทบจากการบริโภค และการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ โดยการทบทวนองค์ความรู้ในประเด็นนี้ทั้งภายในประเทศและนานาชาติ อีกทั้งได้ดำเนินการสำรวจความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์จากผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ แล้วสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาดัชนีวัดปัญหาและการดำเนินการแก้ปัญหาแอลกอฮอล์ต่อไป ชุดดัชนีชี้วัดที่สำคัญมี 4 ชุดดัชนี ประกอบด้วย 18 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ชุดดัชนีชี้วัดระดับและแบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครอบคลุมดัชนี 11 ตัว ได้แก่ ดัชนีชี้วัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อคนต่อปี ดัชนีชี้วัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลอฮอล์ต่อคนดื่มต่อปี ดัชนีชี้วัดภาวะการเป็นผู้ดื่ม ดัชนีชี้วัดความถี่ในการดื่ม ดัชนีชี้วัดปริมาณการดื่ม ดัชนีชี้วัดระดับความเสี่ยงของการดื่ม ดัชนีชี้วัดประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่ม ดัชนีชี้วัดบริบทของการดื่ม ดัชนีชี้วัดความรู้และทัศนคติต่อการดื่ม ดัชนีชี้วัดปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยป้องกันต่อการดื่มและดัชนีชี้วัดอื่นๆ เช่น ดัชนีชี้วัดการบริโภคในกลุ่มประชากรที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เป็นต้น (2) ชุดดัชนีชี้วัดผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครอบคลุมดัชนี 2 ตัว ได้แก่ ดัชนีชี้วัดผลกระทบด้านสุขภาพและสังคม ดัชนีชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ (3) ชุดดัชนีชี้วัดการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครอบคลุมดัชนี 3 ตัว ได้แก่ ดัชนีชี้วัดการดำเนินนโยบายและโปรแกรมการดำเนินงานต่างๆ ดัชนีชี้วัดการดำเนินโปรแกรมการป้องกันและบริการบำบัดรักษา และดัชนีชี้วัดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุรา และ (4) ชุดดัชนีชี้วัดกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ดัชนีชี้วัดกิจกรรมการตลาด และดัชนีชี้วัดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และการโฆษณาของประชาชน คณะนักวิจัยได้สังเคราะห์ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาดัชนีชี้วัดปัญหาและการแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ไว้ 14 ข้อด้วยกัน หวังให้เป็นแนวทางในการพัฒนาเรื่องสำคัญร่วมกันต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2167705 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสานักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพen_US
dc.rightsสานักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาความต้องการและทบทวนดัชนีชี้วัดปัญหาแอลกอฮอล์ระดับนานาชาติและระดับชาติและการพัฒนาดัชนีชี้วัดปัญหาแอลกอฮอล์en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWM274 บ259ก [2553]en_US
dc.identifier.contactno49ข008en_US
dc.subject.keywordแอลกอฮอล์en_US
dc.subject.keywordดัชนีชี้วัดen_US
.custom.citationบัณฑิต ศรไพศาล, จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ and กมลา วัฒนพร. "การศึกษาความต้องการและทบทวนดัชนีชี้วัดปัญหาแอลกอฮอล์ระดับนานาชาติและระดับชาติและการพัฒนาดัชนีชี้วัดปัญหาแอลกอฮอล์." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3008">http://hdl.handle.net/11228/3008</a>.
.custom.total_download1438
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month20
.custom.downloaded_this_year222
.custom.downloaded_fiscal_year40

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1707.pdf
ขนาด: 2.856Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย