แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปลดเงื่อนตาย คลายปมคิด

dc.contributor.advisorพงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุขen_US
dc.contributor.advisorวินัย ลีสมิทธิ์en_US
dc.contributor.advisorสงครามชัย ทองดีen_US
dc.contributor.advisorวีระศักดิ์ พุทธาศรีen_US
dc.contributor.advisorเวียงรัฐ เนติโพธิ์en_US
dc.contributor.authorปรีดา แต้อารักษ์en_US
dc.contributor.authorจรวยพร ศรีศศลักษณ์en_US
dc.contributor.authorสายศิริ ด่านวัฒนะen_US
dc.date.accessioned2010-12-03T07:27:53Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:03:02Z
dc.date.available2010-12-03T07:27:53Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:03:02Z
dc.date.issued2553-12en_US
dc.identifier.otherhs1759en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3069en_US
dc.description.abstractรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และ 2550 รวมทั้งพระราชบัญญัติกำหนด แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีแผนดำเนินการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้ อปท.ให้เสร็จภายในปี 2553 ผลการดำเนินการในระยะเวลา 10 ปี ที่ ผ่านมาจัดว่ายังไม่คืบหน้าและมีอุปสรรคด้านความพร้อมของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง มีการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปแล้ว 28 แห่ง จากที่ตั้งเป้าหมาย นำร่อง 35 แห่ง ในส่วนที่ถ่ายโอนไปแล้ว มีทั้งที่ประสบผลสำเร็จ สามารถดำเนินงานได้ แต่พบข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องการประสานงาน ระหว่างพื้นที่ การส่งต่อ ส่งกลับ การสนับสนุนวิชาการและการโยกย้าย ของบุคลากร ผลกระทบจากความล่าช้าและไม่ชัดเจนในนโยบายและ แนวทางการดำเนินงาน ทำให้บุคลากรสาธารณสุขเกิดความหวั่นไหวไม่ มั่นคงในอาชีพการทำงาน อปท.หลายแห่งที่พร้อมจะดำเนินการจึงเริ่มจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขของตนเองขึ้นเพื่อที่จะตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชน ที่ผ่านมา แนวนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ยังเน้นไปที่การ ถ่ายโอนสถานบริการเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ภายใต้บริบทการ กระจายอำนาจด้านสุขภาพ มีประสบการณ์จริงในประเทศไทยอยู่แล้ว และอปท.ได้เข้ามาดำเนินการหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการในหลาย รูปแบบ ที่สามารถต่อยอดหรือเลือกดำเนินการต่อไปได้ ผลการศึกษา วิจัยและประสบการณ์หลายประเทศ ชี้ว่า แม้ทุกฝ่ายจะคาดหวังว่าการ กระจายอำนาจให้กับองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ว่าจะสามารถทำให้เกิด ประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร มีความ ทั่วถึงและเป็นธรรมในการบริการ มีการตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนในพื้นที่ แต่ในความเป็นจริง การแยกส่วนกันทำมากเกินไปก็ อาจเกิดปัญหาไม่ประหยัดในขนาด (Economy of scales) เกิดความ เหลื่อมล้ำระหว่างเขตพื้นที่ต่างๆ มีการแทรกแซงทางการเมือง และอาจ ขาดความเชื่อมโยงของระบบบริการแต่ระระดับ รวมทั้งข้อจำกัดด้าน บุคลากร เช่นการสนับสนุนทางวิชาการ ความก้าวหน้า การโยกย้ายฯลฯ ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายฝ่ายมีทัศนะและยึดถือหลักการใน การกระจายอำนาจด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการยึดหลัก คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าโดยการจัดการของฝ่ายวิชาชีพซึ่งมี ความเชี่ยวชาญเฉพาะ กับหลักการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยและการ มีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วยกลไกอปท. ซึ่งเป็นกลไกที่มาจากการเลือกตั้ง จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่สำคัญว่า สำนักงานกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (สกถ.) หรือองค์กรวิชา การ เช่น สถาบันพระปกเกล้า ควรเป็นเจ้าภาพในการจัดกระบวนการ เพื่อปรับมุมมองใหม่ ให้ถือว่า หลักการสำคัญคือการถ่ายโอน “ความ รับผิดชอบ” และ “อำนาจในการตัดสินใจ” ไปยังพื้นที่ โดยถือว่า “การ โอนสถานบริการไปยังอปท.” เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น และหา ฉันทามติร่วมกันในประเด็นสำคัญๆ เช่น รูปแบบ ระยะเวลา ในการ กระจายอำนาจ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และจัดกระบวนการ สื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างรอบ ด้านและทั่วถึง ถึงเป้าประสงค์ของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ในประเด็นรูปแบบการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ยืนยันว่า การถ่าย โอนสถานบริการให้อปท. เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการกระจายอำนาจ ยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานการกระจายอำนาจ และหากเลือกการถ่ายโอนสถานบริการ รูปแบบที่ควรดำเนินการมาก ที่สุดคือ โอนสถานีอนามัยให้ อปท.ทั้งหมดพร้อมกันเป็นพื้นที่ทั้งจังหวัด เป็นอย่างน้อย หรืออาจกว้าง สำหรับอปท.ในระดับอบต.และเทศบาลซึ่ง ต้องมีความรับผิดชอบงานด้านสาธารณสุขอยู่ด้วยแล้ว อาจจะมีการจัด รูปแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับพื้นที่ และอาจจัดให้มีโครงสร้างที่ทำงาน ร่วมกับสถานีอนามัยเพื่อให้เกิดบูรณาการด้าน สุขภาพในพื้นที่ได้อย่าง แท้จริง รวมทั้งควรระงับหรือหลีกเลี่ยงการให้ อปท. ขนาดเล็กจัดตั้งหรือ ดูแลสถานบริการสาธารณสุขโดยลำพัง เพราะจะเกิดปัญหาความไม่คุ้ม ค่า และเกิดปัญหาจากระบบที่แยกส่วนในประเด็นกลไกนโยบายและแผนการดำเนินงาน เสนอให้จัดตั้งสำนักงาน เพื่อการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอยู่ภายใต้สำนักงาน คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) มีหน้าที่สนับสนุนกลไกคณะกรรมการเพื่อการถ่ายโอนภารกิจด้าน สาธารณสุขระดับประเทศ ให้มีทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างพอเพียง และมีอำนาจจริงในการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อ ให้การดำเนินการอย่างจริงจัง และเสนอให้ สกถ. กรมส่งเสริมการ ปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขร่วมกันกำหนดให้มีพื้นที่ ปฏิบัติการในระดับจังหวัด เพื่อทดลองศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ งบประมาณ บุคลากร ทรัพยากร กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามบริบทของ แต่ละพื้นที่ โดยทั้งหมดนี้ ควรจัดทำแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จในระยะ เวลาไม่เกิน 1 ปีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันพระปกเกล้า, คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.format.extent1073799 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleปลดเงื่อนตาย คลายปมคิดen_US
dc.title.alternativeสรุปประเด็นข้อค้นพบจากงานวิจัยและข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง การกระจายอำนาจด้านสุขภาพen_US
dc.typeDocumenten_US
dc.description.publicationเอกสารประกอบการจัดเวทีวิชาการ สู่ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ครั้งที่ 1 “10 ปี กระจายอำนาจด้านสุขภาพ สังเคราะห์บทเรียนเพื่อหาทางออกร่วมกัน” วันที่ 1 ธันวาคม 2553 ณ ห้องประชุมศักดิ์เดชน์ สถาบันพระปกเกล้าen_US
dc.identifier.callnoWA546 ป479 2553en_US
.custom.citationปรีดา แต้อารักษ์, จรวยพร ศรีศศลักษณ์ and สายศิริ ด่านวัฒนะ. "ปลดเงื่อนตาย คลายปมคิด." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3069">http://hdl.handle.net/11228/3069</a>.
.custom.total_download212
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1759.pdf
ขนาด: 1.135Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย