บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เนื่องจากการรักษา Cytomegalovirus retinitis (CMVR) ด้วยยา Ganciclovir มีหลากหลายวิธี ได้แก่ การให้ยาทางเส้นเลือด ( IV) การรับประทานยา (OR) การฉีดยาในน้ำวุ้นตา (IVT) และการผ่าตัดใส่ implant ที่มียาในน้ำวุ้นตา (IMP) การวิจัยนี้ต้องการประเมิณต้นทุน-อรรถประโยชน์ ในส่วนเพิ่ม (incremental cost-effectiveness ratio : ICER) ของการรักษาแต่ละวิธี เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
รูปแบบการศึกษา : ใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์ โดยใช้ตัวแปรอิสระจาการทบทวนวรรณกรรม ร่วมกับการสำรวจข้อมูลในโรงพยาบาล และการสัมภาษณ์เพิ่มเติม
สถานที่ศึกษาและวิธีการ : วิเคราะห์ภายใต้ระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยโดยวิเคราะห์แบบจำลอง (model-based analysis) ทั้งจากมุมมองด้านผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และมุมมองด้านสังคมควบคู่กันไป โดยคณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ต้นทุนทางตรงในการรักษา CMVR แบบ IVT, IV/OR และ IMP ในโรงพยาบาลของรัฐ 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลชียงคำ และโรงพยาบาลลำปาง ส่วนต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการรักษา และต้นทุนทางอ้อมที่เกี่ยวกับสุขภาพนั้นได้รวบรวมจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา CMVR จำนวน 76 คน ในโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2548
ผลการศึกษา : การฉีดยา ganciclovir เข้าในน้ำวุ้นตา (IVT) เป็นวิธีการรักษาที่มีราคาถูกที่สุดและมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (cost effectiveness) ขณะเดียวกันการให้ยาฉีดตามด้วยยากิน (IV/OR) ก็มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตรืเช่นกัน เพราะค่าความคุ้มค่า (ICER) ของวิธี IV/OR ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการ Millennium Development Goals กำหนดไว้ วิธี IV/OR มีความเหมาะสมภายใต้บริบทการรักษา CMVR ในประเทศไทย การผ่าตัดใส่ implant ที่มียาในน้ำวุ้น (IMP) ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (cost ineffectiveness) สำหรับประเทศไทยในการรักษา CMVR ในผู้ติดเชื้อที่เป็นในตาสองข้างมีความคุ้มค่ากว่ารักษา CMVR ในตาข้างเดียว เช่นเดียวกับการรับประทานยาต้านไวรัส (ART) ควบคู่กับการรักษา CMVR จะมีความคุ้มค่าในการรักษามากกว่าการไม่รับประทานยาต้านไวรัส