แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวิธีรักษาการติดเชื้อ Cytomegalovirus ในจอประสาทตาของผู้ป่วย HIV/AIDS ในประเทศไทย

dc.contributor.authorวัฒนีย์ เย็นจิตรen_US
dc.contributor.authorสมสงวน อัษญคุณen_US
dc.contributor.authorศนิอร เอี่ยวสกุลen_US
dc.contributor.authorกัลยา ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorฉวีวรรณ เย็นจิตรen_US
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:21:11Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:55:24Z
dc.date.available2008-10-02T07:21:11Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:55:24Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.citationThai J Opthalmol 20,1(2549) : 1-20en_US
dc.identifier.otherDMJ77en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/321en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : เนื่องจากการรักษา Cytomegalovirus retinitis (CMVR) ด้วยยา Ganciclovir มีหลากหลายวิธี ได้แก่ การให้ยาทางเส้นเลือด ( IV) การรับประทานยา (OR) การฉีดยาในน้ำวุ้นตา (IVT) และการผ่าตัดใส่ implant ที่มียาในน้ำวุ้นตา (IMP) การวิจัยนี้ต้องการประเมิณต้นทุน-อรรถประโยชน์ ในส่วนเพิ่ม (incremental cost-effectiveness ratio : ICER) ของการรักษาแต่ละวิธี เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย รูปแบบการศึกษา : ใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์ โดยใช้ตัวแปรอิสระจาการทบทวนวรรณกรรม ร่วมกับการสำรวจข้อมูลในโรงพยาบาล และการสัมภาษณ์เพิ่มเติม สถานที่ศึกษาและวิธีการ : วิเคราะห์ภายใต้ระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยโดยวิเคราะห์แบบจำลอง (model-based analysis) ทั้งจากมุมมองด้านผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และมุมมองด้านสังคมควบคู่กันไป โดยคณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ต้นทุนทางตรงในการรักษา CMVR แบบ IVT, IV/OR และ IMP ในโรงพยาบาลของรัฐ 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลชียงคำ และโรงพยาบาลลำปาง ส่วนต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการรักษา และต้นทุนทางอ้อมที่เกี่ยวกับสุขภาพนั้นได้รวบรวมจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา CMVR จำนวน 76 คน ในโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2548 ผลการศึกษา : การฉีดยา ganciclovir เข้าในน้ำวุ้นตา (IVT) เป็นวิธีการรักษาที่มีราคาถูกที่สุดและมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (cost effectiveness) ขณะเดียวกันการให้ยาฉีดตามด้วยยากิน (IV/OR) ก็มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตรืเช่นกัน เพราะค่าความคุ้มค่า (ICER) ของวิธี IV/OR ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการ Millennium Development Goals กำหนดไว้ วิธี IV/OR มีความเหมาะสมภายใต้บริบทการรักษา CMVR ในประเทศไทย การผ่าตัดใส่ implant ที่มียาในน้ำวุ้น (IMP) ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (cost ineffectiveness) สำหรับประเทศไทยในการรักษา CMVR ในผู้ติดเชื้อที่เป็นในตาสองข้างมีความคุ้มค่ากว่ารักษา CMVR ในตาข้างเดียว เช่นเดียวกับการรับประทานยาต้านไวรัส (ART) ควบคู่กับการรักษา CMVR จะมีความคุ้มค่าในการรักษามากกว่าการไม่รับประทานยาต้านไวรัสen_US
dc.format.extent1946167 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectโรคเอดส์en_US
dc.titleการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวิธีรักษาการติดเชื้อ Cytomegalovirus ในจอประสาทตาของผู้ป่วย HIV/AIDS ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeEconomic evaluation for Treament of Cytomegalovirus Retinitis in HIV/AIDS patients in Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordการประเมินความคุ้มค่าen_US
dc.subject.keywordCytomegalovirusen_US
dc.subject.keywordจอประสาทตาen_US
dc.subject.keywordHIV/AIDSen_US
.custom.citationวัฒนีย์ เย็นจิตร, สมสงวน อัษญคุณ, ศนิอร เอี่ยวสกุล, กัลยา ตีระวัฒนานนท์, ฉวีวรรณ เย็นจิตร and ยศ ตีระวัฒนานนท์. "การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวิธีรักษาการติดเชื้อ Cytomegalovirus ในจอประสาทตาของผู้ป่วย HIV/AIDS ในประเทศไทย." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/321">http://hdl.handle.net/11228/321</a>.
.custom.total_download2041
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month36
.custom.downloaded_this_year857
.custom.downloaded_fiscal_year106

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2006_DMJ77_การประ ...
ขนาด: 1.856Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย