แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาทดแทนไตในประเทศไทย

dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:25:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:55:10Z
dc.date.available2008-10-02T07:25:01Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:55:10Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.citationวารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 12,2(2549) : 50-67en_US
dc.identifier.issn0859-239Xen_US
dc.identifier.otherDMJ82en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/326en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่า การเพิ่มสิทธิประโยชนืสำหรับการรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ประกันตนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ เพียงใด โดยใช้การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตรืชนิดการประเมินต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาทดแทนไตทั้งสองประเภทเปรียบเทียบกับการรักษาแบบประคับประคองซึ่งเป็นวิธีการรักษาในปัจจุบันที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการศึกษาเป็นการเปรียบเทียบภายใต้บริบทของประเทศไทยและใช้มุมมองในทางสังคมร่วมกับมุมมองของรัฐบาลในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทดแทนไตในประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2546 เพื่อสร้างแบบจำลองที่เรียกว่า “Markov chain model” สำหรับการประมาณต้นทุนและประสิทธิผลของทางเลือกแต่ละประเภท ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนตลอดชีวิตในมุมมองของสังคมสำหรับการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่องและการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเท่ากับ 3.3 และ 3.7 ล้านบาทสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มรักษาเมื่ออายุ 70 ปี ทั้งนี้ต้นทุนของการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่องต่ำกว่าต้นทุนการฟอกเลือดในทุกกลุ่มอายุ และเมื่อนำมาคำนวณต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์พบว่า การรักษาด้วยการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ (ระหว่าง 4.4 – 4.9 แสนบาทต่อปีของชีวิตที่ยืนยาวขึ้นหรือ 6.3 – 6.9 แสนบาทต่อปีที่ปรับด้วยคุณภาพชีวิต) ซึ่งดีกว่าการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (มีตนทุนระหว่าง 4.5 – 5.0 แสนบาทต่อปีของชีวิตที่ยืนยาวขึ้นหรือ 6.7 – 7.5 แสนบาทต่อปีที่ปรับด้วยคุณภาพชีวิต) ในทุกกลุ่มอายุ โดยการให้การรักษาทดแทนไตทั้งสองชนิดในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ดีกว่าการให้การรักษากับผู้ป่วยที่มีอายุมากen_US
dc.format.extent1110213 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectการรักษาทดแทนไตen_US
dc.titleต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาทดแทนไตในประเทศไทยen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordต้นทุนประสิทธิผลen_US
dc.subject.keywordต้นทุนอรรถประโยชน์en_US
.custom.citationยศ ตีระวัฒนานนท์. "ต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาทดแทนไตในประเทศไทย." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/326">http://hdl.handle.net/11228/326</a>.
.custom.total_download1830
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month36
.custom.downloaded_this_year418
.custom.downloaded_fiscal_year100

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2006_DMJ82_ต้นทุน.pdf
ขนาด: 1.058Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย