แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

เมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เล่ม 1

dc.contributor.authorรัชนี สรรเสริญen_US
dc.contributor.editorเบญจวรรณ ทิมสุวรรณen_US
dc.contributor.editorวรรณรัตน์ ลาวังen_US
dc.date.accessioned2011-08-30T08:01:07Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:56:58Z
dc.date.available2011-08-30T08:01:07Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:56:58Z
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.otherhs1730en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3303en_US
dc.description.abstractจากการวิจัยประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ และถอดบทเรียนผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ พบว่าศักยภาพของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันในวิธีการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งด้านความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ความกังวลในการใช้งบประมาณและภาวะผู้นำของผู้บริหารกองทุน กองทุนที่มีผู้นำที่เข้มแข็งมีทั้งที่ดำเนินการได้ดีและดำเนินการไม่ประสบความสำเร็จ หรือผู้นำที่ไม่เข้มแข็งแต่มีเงินไม่ทราบว่าจะเอาเงินไปทำอะไร ไม่รู้ว่าจะทำโครงการอะไร ในหลายพื้นที่มีความคิดริเริ่มใหม่ จัดโครงการและกิจกรรมได้ดีตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน แต่อีกจำนวนมากมีปัญหาในเรื่องไม่ทราบว่าประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมายนั้นมีปัญหาอะไร ต้องจัดโครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอะไร วัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อพัฒนาเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ สำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ คำว่า “เมนู” หมายถึง รายการความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ กลุ่มหญิงมีครรภ์และหลังคลอด เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการและทุพพลภาพ ครอบครัวและชุมชน พร้อมตัวอย่างโครงการนำทางสู่เมนูการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มต่างๆ วิธีการดำเนินงานการพัฒนาเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1. สังเคราะห์การดำเนินงานการจัดทำโครงการต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่จากผลงานวิจัย 2. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. ลงพื้นที่ทำสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกกับกลุ่มคณะกรรมการกองทุน ผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4. ร่างและออกแบบต้นฉบับเมนู 5. จัดสัมมนาผู้ใช้เมนูโดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน ตัวแทนประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และนักวิชาการโดยให้กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาวิพากษ์เนื้อหา รูปแบบ และประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ 6. นำข้อเสนอจากกลุ่มสัมมนามาปรับแก้ รายละเอียด เนื้อหา รูปแบบ วิธีการนำเสนอ 7. จัดสัมมนาผู้ใช้เมนูครั้งที่ 2 โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกลุ่มเดิม และมีคณะกรรมการกองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วมในครั้งแรกมาร่วมวิพากษ์ด้วย 8. นำข้อเสนอจากกลุ่มสัมมนามาปรับแก้ไขทั้งด้านเนื้อหา รูปแบบ และการนำเสนอ 9. จัดพิมพ์รูปเล่มส่งให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านและนำข้อเสนอแนะมาปรับแก้ไข สาระสำคัญของเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ คณะผู้จัดทำจัดพิมพ์แยกเป็นหนังสือ 2 เล่ม คือ เล่มที่ 1 เมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ 1 มีสาระสำคัญดังนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน มีเนื้อหาเกี่ยวกับ แนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องดูแล บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของหญิงตั้งครรภ์ แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงในระยะหลังคลอด ความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของมารดาหลังคลอด ตัวชี้วัดที่ควรรู้ แนวทางการดูแลมารดาหลังคลอด โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (แรกเกิด-5 ปี) สถานการณ์สุขภาพ ความเสี่ยง และปัญหาสุขภาพที่สำคัญของเด็กปฐมวัย ตัวชี้วัดสถานะสุขภาพของเด็กปฐมวัย แนวทางการดูแลเด็กปฐมวัย โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพ เด็กปฐมวัย เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียน มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน สถานการณ์สุขภาพ ความเสี่ยง และปัญหาสุขภาพที่สำคัญของเด็กวัยเรียน ตัวชี้วัดสถานสุขภาพของเด็กวัยเรียน แนวทางการดูแลเด็กวัยเรียน โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพวัยเรียน เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับวัยรุ่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น สถานการณ์สุขภาพ ความเสี่ยง และปัญหา ตัวชี้วัดสถานะสุขภาพของวัยรุ่น แนวทางการดูแลวัยรุ่น โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพวัยรุ่นen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent18002047 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.publisherศูนย์ประสานงานเครือข่ายวิจัยประเิมินโครงการ ภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.rightsสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เล่ม 1en_US
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoW160 ร333ค 2553 ล.1en_US
dc.identifier.contactno51-005en_US
dc.subject.keywordการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subject.keywordกองทุนหลักประกันสุขภาพen_US
.custom.citationรัชนี สรรเสริญ. "เมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เล่ม 1." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3303">http://hdl.handle.net/11228/3303</a>.
.custom.total_download529
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1730.pdf
ขนาด: 4.190Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย