Show simple item record

เมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เล่ม 2

dc.contributor.authorรัชนี สรรเสริญen_US
dc.contributor.editorเบญจวรรณ ทิมสุวรรณen_US
dc.contributor.editorวรรณรัตน์ ลาวังen_US
dc.date.accessioned2011-08-30T08:10:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:56:59Z
dc.date.available2011-08-30T08:10:35Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:56:59Z
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.otherhs1731en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3304en_US
dc.description.abstractจากการวิจัยประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ และถอดบทเรียนผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ พบว่าศักยภาพของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันในวิธีการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งด้านความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ความกังวลในการใช้งบประมาณ และภาวะผู้นำของผู้บริหารกองทุน กองทุนที่มีผู้นำที่เข้มแข็งมีทั้งที่ดำเนินการได้ดีและดำเนินการไม่ประสบความสำเร็จ หรือผู้นำที่ไม่เข้มแข็งแต่มีเงินไม่ทราบว่าจะเอาเงินไปทำอะไร ไม่รู้ว่าจะทำโครงการอะไร ในหลายพื้นที่มีความคิดริเริ่มใหม่ จัดโครงการและกิจกรรมได้ดีตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน แต่อีกจำนวนมากมีปัญหาในเรื่องไม่ทราบว่าประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมายนั้นมีปัญหาอะไร ต้องจัดโครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอะไร วัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อพัฒนาเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ สำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ คำว่า “เมนู” หมายถึง รายการความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ กลุ่มหญิงมีครรภ์และหลังคลอด เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการและทุพพลภาพ ครอบครัวและชุมชน พร้อมตัวอย่างโครงการนำทางสู่เมนูการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มต่างๆ วิธีการดำเนินงานการพัฒนาเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1. สังเคราะห์การดำเนินงานการจัดทำโครงการต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่จากผลงานวิจัย 2. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. ลงพื้นที่ทำสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกกับกลุ่มคณะกรรมการกองทุน ผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4. ร่างและออกแบบต้นฉบับเมนู 5. จัดสัมมนาผู้ใช้เมนูโดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน ตัวแทนประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และนักวิชาการโดยให้กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาวิพากษ์เนื้อหา รูปแบบ และประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ 6. นำข้อเสนอจากกลุ่มสัมมนามาปรับแก้รายละเอียด เนื้อหา รูปแบบ วิธีการนำเสนอ 7. จัดสัมมนาผู้ใช้เมนูครั้งที่ 2 โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกลุ่มเดิมและมีคณะกรรมการกองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วมในครั้งแรกมาร่วมวิพากษ์ด้วย 8. นำข้อเสนอจากกลุ่มสัมมนามาปรับแก้ไขทั้งด้านเนื้อหา รูปแบบ และการนำเสนอ 9. จัดพิมพ์รูปเล่มส่งให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านและนำข้อเสนอแนะมาปรับแก้ไขสาระสำคัญของเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ คณะผู้จัดทำจัดพิมพ์แยกเป็นหนังสือ 2 เล่ม สำหรับเล่มที่ 2 เมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ 2 มีสาระสำคัญดังนี้ เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับวัยผู้ใหญ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เรียนรู้สู่วัยผู้ใหญ่ การปรับตัวในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น สิ่งที่ควรรู้ในวัยกลางคน ความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ ตัวชี้วัดสถานะสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ แนวทางการดูแลผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปี ถึง 59 ปี) ในชุมชน โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพวัยผู้ใหญ่ เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับวัยผู้สูงอายุ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ วัยผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ การเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ สิทธิของผู้สูงอายุ กิจกรรมส่งเสริมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แนวทางการดูแลผู้สูงอายุ โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพผู้สูงอายุ เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับคนพิการและทุพพลภาพ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงในคนพิการ ประเภทของความพิการ ความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนพิการ ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยการปรับตัวของคนพิการ แนวทางการดูแลคนพิการในชุมชน สิทธิคนพิการ เครือข่ายในการดูแลคนพิการ โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพคนพิการ เมนูสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครอบครัวและชุมชน มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ตัวชี้วัดความสำเร็จ ครอบครัวจะเข้มแข็งได้อย่างไร บทสรุปของครอบครัวเข้มแข็ง ความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของชุมชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ เราจะดูแลสุขภาพชุมชนอย่างไร บทสรุปของครอบครัวเข้มแข็ง โครงการนำทางสู่เมนูสุขภาพครอบครัวและชุมชน แนวทางการเขียนและประเมินโครงการ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเขียนโครงการ ความหมายของโครงการ ลักษณะของโครงการที่ดี คำถามในการเขียนโครงการ ตัวอย่างโครงการ การนำไปใช้ประโยชน์ เมนูที่พัฒนาขึ้นจะเกิดประโยชน์สำหรับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นระดับพื้นที่ นำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับคณะกรรมการกองทุนที่จะศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและนำไปเป็นเครื่องมือในการจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพให้ชุมชนได้en_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent11827192 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherศูนย์ประสานงานเครือข่ายวิจัยประเิมินโครงการ ภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.publisherแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.rightsสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleเมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เล่ม 2en_US
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoW160 ร333ค 2553 ล.2en_US
dc.identifier.contactno53-020en_US
dc.subject.keywordการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subject.keywordกองทุนหลักประกันสุขภาพen_US
.custom.citationรัชนี สรรเสริญ. "เมนูการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เล่ม 2." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3304">http://hdl.handle.net/11228/3304</a>.
.custom.total_download438
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs1731.pdf
Size: 13.40Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record