Show simple item record

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก : กรณีศึกษาจังหวัดน่านปี 2545

dc.contributor.authorอภิชาติ รอดสมen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.coverage.spatialน่านen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:30:52Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:55:40Z
dc.date.available2008-10-02T07:30:52Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:55:40Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 14,3(2548) : 484-494en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ64en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/333en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนเศรษฐศาสตร์ในการดูแลรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวีทั้งด้านผู้ให้บริการ และครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งศึกษาผลกระทบต่อครอบครัวผู้ป่วย ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยสำรวจครอบครัวเด็กอายุระหว่าง ๓๗ – ๑๕๔ เดือนที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน ๓๕ คน ใน ๔ อำเภอและ ๑ กิ่งอำเภอของจังหวัดน่านที่มีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีสูง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ผลกระทบต่อครอบครัว การสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ต้นทุนการรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่า ต้นทุนของสถานพยาบาลเฉลี่ย ๒,๗๗๐ บาทต่อเด็กติดเชื้อเอชไอวีต่อไป ต้นทุนของครอบครัวผู้ป่วยเฉลี่ย ๘๐๕ บาทต่อคนต่อปี รวมทั้งสิ้น ๓,๕๗๕ บาทต่อคนต่อปี อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในของเด็กติดเชื้อเอชไอวี สูงกว่าประชากรเด็กทั่วไป (อายุ ๕-๙ ปี) อยู่ ๑.๖ เท่า และ ๕ เท่าตามลำดับโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติช่วยบรรเทาภาระรายจ่ายด้านสุขภาพของครอบครัวเรือนเหล่านี้ลงได้มากครัวเรือนไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ค่าเดินทางและค่าเสียโอกาสจึงเป็นสัดส่วนรายจ่ายสำคัญของครัวเรือนตัวอย่าง ในกรณีที่บิดาของเด็กเสียชีวิตจะส่งผลกระทบให้รายได้ครอบครัวลดลงมาก ถ้ามารดาเสียชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตเด็กด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและการดูแลสุขภาพเด็กจะยิ่งเลวลง การได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพและทุนการศึกษาจากภาครัฐหรือองค์กรเอกชนภาพนอก มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพและพยุงให้ครอบครัวอยู่รอดได้เป็นการเฉพาะหน้า แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ ผู้วิจัยได้รายงานผลการศึกษานี้แก่คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีระดับจังหวัดเพื่อกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับจังหวัด และให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบมากขึ้นen_US
dc.format.extent219439 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์en_US
dc.titleผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก : กรณีศึกษาจังหวัดน่านปี 2545en_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordเด็กติดเชื้อเอชไอวีen_US
dc.subject.keywordเด็กกำพร้าจากเอดส์en_US
dc.subject.keywordผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากเอชไอวี/เอดส์en_US
.custom.citationอภิชาติ รอดสม and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก : กรณีศึกษาจังหวัดน่านปี 2545." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/333">http://hdl.handle.net/11228/333</a>.
.custom.total_download920
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year101
.custom.downloaded_fiscal_year21

Fulltext
Icon
Name: 2005_DMJ64_ผลกระทบ.pdf
Size: 214.2Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record