แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความต้องการงบประมาณสำหรับการเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย

dc.contributor.authorวิชช์ เกษมทรัพย์en_US
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:40:45Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:56:02Z
dc.date.available2008-10-02T07:40:45Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:56:02Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.citationวารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 12,2(2549) : 136-148en_US
dc.identifier.issn0859-239Xen_US
dc.identifier.otherDMJ84en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/345en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการความต้องการงบประมาณสำหรับการขยายการเข้าถึงบริทดแทนไตให้กับผู้มีสิทธิ์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นและความเป็นไปได้ของภาครัฐในการแบกรับภาระงบประมาณดังกล่าว หากรัฐมีนโยบายขยายการเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้า พร้อมทั้งเสนอแนะนโยบายที่รัฐควรดำเนินการควบคู่ไปกับการขยายการเข้าถึงบริการทดแทนไต วิธีการศึกษาประกอบด้วยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องภายในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับอุบัติการณ์และความชุกผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ควรจะเป็น รวมทั้งต้นทุนในการให้บริการทดแทนไตในมุมมองของรัฐบาลโดยเฉพาะการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD) สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายต่อปี ทั้งนี้เพื่อนำมาคำนวณภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การประมาณการพบว่า หากไม่มีการควบคุมต้นทุนในการให้บริการทดแทนไต และ/หรือ ไม่มีเกณฑ์ที่เหมาะสมในการคัดเลือกผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเพื่อเข้าสู่บริการทดแทนไตแล้ว รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเป็นเงินกว่า 5,000 ล้านบาท ในปีแรกสำหรับการขยายการเข้าถึงบริการทดแทนไตให้กับผู้ป่วยทุกคนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และภาระงบประมาณนี้อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลายหมื่นล้านบาท หรือมากกว่าหนึ่งในสามของงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายในอีกสิบห้าปีภายหลังจากการครอบคลุมบริการทดแทนไตเข้าไปในชุดสิทธิประโยชน์ มาตรการในการควบคุมต้นทุนการให้บริการทดแทนไตและการลดอุบัติการณ์ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นสาเหตุหลัก เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมาตรการในการลดการบริโภคยต้านการอักเสบประเภท NSAIDs เป็นระยะเวลานาน รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมเพื่อเข้าสู่บริการทดแทนไตเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญและดำเนินการควบคู่ไปกับนโยบายขยายการเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.subjectไตเทียมth_TH
dc.subjectRenal Replacement Therapyen_EN
dc.titleความต้องการงบประมาณสำหรับการเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทยen_US
dc.typeArticleen_US
.custom.citationวิชช์ เกษมทรัพย์, ภูษิต ประคองสาย and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ความต้องการงบประมาณสำหรับการเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/345">http://hdl.handle.net/11228/345</a>.
.custom.total_download981
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month14
.custom.downloaded_this_year204
.custom.downloaded_fiscal_year32

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2006_DMJ84_ความต้ ...
ขนาด: 682.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย