แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

อิฐก้อนแรก : บทเรียนอนามัยไปท้องถิ่น

dc.contributor.authorจรวยพร ศรีศศลักษณ์th_TH
dc.contributor.authorโอปอล์ ประภาวดีth_TH
dc.date.accessioned2013-06-11T09:17:59Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:05:51Z
dc.date.available2013-06-11T09:17:59Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:05:51Z
dc.date.issued2556-06en_US
dc.identifier.isbn9789742991982en_US
dc.identifier.otherhs2054en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3841en_US
dc.description.abstractการกระจายอำนาจทางด้านสุขภาพเป็นวิธีการหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพของหลายประเทศ ด้วยฐานความเชื่อที่ว่าอาจชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพที่ดีขึ้นในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพและความเป็นธรรม ประเทศไทยเองก็มีการดำเนินการด้านการกระจายอำนาจเช่นเดียวกัน โดยในปี 2550 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการดำเนินการกระจายอำนาจในรูปแบบการถ่ายโอนสถานีอนามัย (สอ.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหกปี ซึ่งได้มีการถ่ายโอนสถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานบริการสาธารณสุขชุมชนและสุขศาลา จำนวนทั้งสิ้น 46 แห่ง ให้กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กล่าวได้ว่ามีความก้าวหน้าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกว่าหมื่นแห่ง แต่ก็นับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ควรได้มีการทบทวนประสบการณ์ ถอดบทเรียน และบันทึกไว้ให้ผู้คนได้ใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้มีการติดตามประเมินผลในช่วงการดำเนินการถ่ายโอนและหลังถ่ายโอนในบางพื้นที่ ทำให้ทราบถึงอุปสรรคต่างๆ ของกระบวนการถ่ายโอน ปัญหาในการดำเนินงานของสถานีอนามัย ปัญหาเรื่องความก้าวหน้าของบุคลากร สิทธิสวัสดิการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย วิธีคิดและมุมมองการพัฒนางานด้านสุขภาพของผู้บริหาร อปท. และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน หนังสือเล่มนี้ได้จารึกกรณีศึกษาในพื้นที่ถ่ายโอน 5 จังหวัด ได้แก่ อบต.ฝายแก้ว จ.น่าน อบต.พระเพลิงและอบต.คลองหินปูน จ.สระแก้ว อบต.วังหมัน จ.ตาก อบต.บ้านปรก จ.สมุทรสงคราม และเทศบาลตำบลบ้านฆ้อง จ.ราชบุรี ซึ่งผู้อ่านจะเห็นบริบทในพื้นที่ วิธีคิด วิถีชีวิต บทบาทที่เปลี่ยนแปลงของหมออนามัยที่ย้ายโอน วิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่นที่รับโอน และมุมมองทางด้านสุขภาพของประชาชนหลังการถ่ายโอน ซึ่งได้เขียนเรียบเรียงเรื่องราวไว้ด้วยอรรถรสทางภาษา อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาทำให้ไม่สามารถบันทึกกรณีศึกษาที่น่าสนใจในอีกหลายพื้นที่ที่มีการถ่ายโอนไว้ได้ทั้งหมดแต่อย่างน้อยที่สุด หนังสือเล่มนี้ก็ถือเป็นเอกสารที่รวบรวมคำพูด ความรู้สึกนึกคิดของผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ถ่ายโอนที่สามารถทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและได้เรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นแรงบันดาลใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการถ่ายโอน ตลอดจนช่วยสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจen_US
dc.subjectการถ่ายโอนสถานีอนามัยth_TH
dc.subjectสถานีอนามัยth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleอิฐก้อนแรก : บทเรียนอนามัยไปท้องถิ่นth_TH
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoWA525 จ152อ 2556en_US
dc.identifier.contactno56-011th_TH
.custom.citationจรวยพร ศรีศศลักษณ์ and โอปอล์ ประภาวดี. "อิฐก้อนแรก : บทเรียนอนามัยไปท้องถิ่น." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3841">http://hdl.handle.net/11228/3841</a>.
.custom.total_download524
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2054.pdf
ขนาด: 12.96Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย