Show simple item record

การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ

dc.contributor.authorอนรรฆ พิทักษ์ธานินen_US
dc.contributor.authorมนทกานต์ ฉิมมามีen_US
dc.contributor.authorปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญาen_US
dc.contributor.editorสรชัย จำเนียรดำรงการen_US
dc.date.accessioned2013-12-17T04:22:45Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:06:03Z
dc.date.available2013-12-17T04:22:45Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:06:03Z
dc.date.issued2556-11en_US
dc.identifier.isbn9789742992132en_US
dc.identifier.otherhs2085en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3914en_US
dc.description.abstractการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ หนึ่ง ทบทวนนิยาม มโนทัศน์ และแนวคิดทางสังคม ที่อยู่เบื้องหลังข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศรวมถึงประเทศ ในภูมิภาคที่เกี่ยวกับการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิงและผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน สอง ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการเลือกปฏิบัติในสังคมไทย รวมถึงการศึกษาเชิงลึกกรณีการเลือกปฏิบัติในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย สาม ทบทวนและวิเคราะห์กฎหมายและข้อตกลงในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในแต่ละกลุ่ม เป้าหมายของประเทศไทยและในประเทศภูมิภาค ASEAN ที่มีการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ รวมถึงทบทวนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติที่อยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติม และ สี่ เปรียบเทียบประสิทธิผลของการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติระหว่างในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกาเหนือกับในประเทศไทย ภายหลังการทบทวนภาพรวมของประเด็นทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติฯ ต่อกลุ่มคนพิการ เด็ก ผู้หญิงและผู้สูงอายุโดยสังเขปแล้ว สามารถจำแนกข้อค้นพบได้ดังต่อไปนี้ หนึ่ง การขจัดการเลือกปฏิบัติฯ ต่อทุกกลุ่มคนทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญจากทั้งองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระดับภูมิภาค และประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียบางส่วนที่ได้มีการผลักดันและขับเคลื่อนการขจัดการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สอง ประเด็นการขจัดการเลือกปฏิบัติฯ ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ได้รับการระบุไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแต่ละกลุ่มคน อย่างน้อยตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2540 รวมถึงมีเป้าประสงค์และกรอบคิดที่สอดคล้องกับองค์กรระหว่างประเทศและต่างประเทศที่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏว่ามีการหยิบยกการขจัดการเลือกปฏิบัติฯ เป็นประเด็นหลักของกฎหมายแต่อย่างใด สาม ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการขจัดการเลือกปฏิบัติในสังคมไทย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากพอ ทั้งนี้สาเหตุดังกล่าวมีพื้นฐานสำคัญมาจากการที่คนส่วนใหญ่และผู้บังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยยังไม่มีความตระหนักเกี่ยวกับความเท่าเทียมและการขจัดการเลือกปฏิบัติมากเพียงพอ และสี่ ประเทศไทยยังขาดการบูรณาการประเด็นของการขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างกลุ่มคนต่างๆ และการผลักดันประเด็นการขจัดการเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติทางกฎหมาย ยังอยู่ในหน่วยงานของทางราชการเป็นสำคัญ มิได้มีลักษณะของการผลักดันผ่านองค์กรอิสระเฉกเช่นในต่างประเทศ จากข้อค้นพบในการทบทวนภาพรวมโดยสังเขปดังกล่าว ผู้วิจัยมีความเห็นเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและผลักดันการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อไปในอนาคตใน 3 ประการหลัก คือ ประการแรก ควรมีการผลักดันการสร้างทัศนคติในทางบวกและความตระหนักของสังคมต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติ ประการที่สอง ควรมีการสร้างกลไกเพื่อบูรณาการประเด็นที่คาบเกี่ยวในแต่ละกลุ่มคน และประการที่สาม ควรมีการสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติอย่างครอบคลุมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1373008 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุen_US
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoHX100 อ162ก 2556en_US
dc.subject.keywordความเท่าเทียมen_US
dc.subject.keywordความเป็นธรรมen_US
dc.subject.keywordการเลือกปฏิบัติen_US
dc.subject.keywordผู้พิการen_US
dc.subject.keywordผู้สูงอายุen_US
dc.subject.keywordผู้หญิงen_US
dc.subject.keywordเด็กen_US
.custom.citationอนรรฆ พิทักษ์ธานิน, มนทกานต์ ฉิมมามี and ปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญา. "การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3914">http://hdl.handle.net/11228/3914</a>.
.custom.total_download805
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs2085.pdf
Size: 1.972Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record