แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การกระจายอำนาจกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์th_TH
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์th_TH
dc.contributor.advisorยุวดี คาดการณ์ไกลth_TH
dc.contributor.authorวรัญญู เสนาสุth_TH
dc.date.accessioned2014-02-12T06:44:12Zth_TH
dc.date.accessioned2014-06-26T03:31:07Z
dc.date.available2014-02-12T06:44:12Zth_TH
dc.date.available2014-06-26T03:31:07Z
dc.date.issued2556th_TH
dc.identifier.isbn9786163290090th_TH
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3961th_TH
dc.description.abstractกระบวนการกระจายอำนาจและหลักการปกครองตนเอง (Decentralization and Local Self-government) ส่งผลให้เกิดการขยายบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเชื่อมโยงกับประชาชน แนวความคิดในการจัดการปกครองท้องถิ่นของไทยจึงเกิดขึ้นจากฐานความคิดในการจัดการบำรุงเมือง รักษาความสะอาด และจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งถือเป็น ส่วนหนึ่งของการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ต่อมาเมื่อภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นของไทยและการกระจายอำนาจมีพัฒนาการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะพิจารณาจากแง่มุมเชิงเปรียบเทียบกับการ ปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่เกิดขึ้นในอดีตหรือพิจารณาจากลักษณะโครงสร้าง ความหมายและคุณค่าของการปกครองท้องถิ่นของประชาชนสะท้อนให้เห็นว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยมีพัฒนาการและมีพลวัตที่สูงมาก การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคปัจจุบันได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา โดยมีกระบวนการถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่ส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดนโยบายพื้นฐานให้รัฐสนับสนุนการกระจายอำนาจมีการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานให้มีความชัดเจน มีคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) มีแผนการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ กระบวนการติดตาม และกลไกสนับสนุนอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ มีการกำหนดการจัดสรรภาษีระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของประชาชนในหลากหลายมิติ นำไปสู่การจัดบริการสาธารณะและการจัดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบริการประชาชน การขับเคลื่อนการกระจายอำนาจด้านจัดการสิ่งแวดล้อมสอดรับกับปัญหาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่และมีความรุนแรงสูง เนื่องจากที่ผ่านมาภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านสิ่งแวดล้อม ยังอยู่ใน “ขั้นต้น” และเป็นการปฏิบัติในเชิงพื้นฐานตามแก้ไขปัญหารายวัน นอกจากนี้ยังขาดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายโดยการกำกับดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมในระดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นระดับปฏิบัติการนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชนิด “วันต่อวัน”และสามารถตอบสนองปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันใจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงอยู่ในฐานะที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และคุณภาพของการให้บริการและปิดช่องว่างความไม่เป็นธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้th_TH
dc.description.sponsorshipมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.format.extent514957 bytesth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานปฏิรูป (สปร.)th_TH
dc.rightsมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectDecentralizationth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจth_TH
dc.titleการกระจายอำนาจกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.typeDocumentth_TH
dc.description.publicationหนังสือชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยth_TH
dc.subject.keywordการจัดการสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subject.keywordองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subject.keywordเครือข่ายวิชาการปฏิรูปประเทศไทยth_TH
.custom.citationวรัญญู เสนาสุ. "การกระจายอำนาจกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3961">http://hdl.handle.net/11228/3961</a>.
.custom.total_download2471
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month10
.custom.downloaded_this_year346
.custom.downloaded_fiscal_year46

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: Decentralization_ ...
ขนาด: 600.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย