แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

Strategic research on nursing cares for patients with senile dementia and cerebrovascular diseases (Stroke)

dc.contributor.authorวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชth_TH
dc.contributor.authorWimolrat Puwarawuttipaniten_US
dc.date.accessioned2014-07-23T09:44:48Z
dc.date.available2014-07-23T09:44:48Z
dc.date.issued2557-07-22
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4101
dc.description.abstractประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นและมีประชากรมีอายุมาก และ มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น จึงพบว่าประชากรทั่วโลกจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและสมอง เสื่อมมากขึ้น การเสื่อมของสมองเกิดจากการเสื่อเมื่อมีอายุมากขึ้นขณะเดียวกัน ก็เกิดจากปัญหาจาก กระบวนการเสื่อมของหลอดเลือด ซึ่งเกิดมาจาก พันธุกรรมกรรม ภาวะความซึมเศร้า โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การเกิดโรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อมทำให้สมรรถภาพของสมองของผู้ป่วยบกพร่องลงไปมี ผลต่อการดำเนินชีวิตและการปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมรอบข้าง บางรายมีความแปรปรวนทางอารมณ์ หากญาติไม่เข้าใจผู้ป่วยอาจถูกทอดทิ้งเพิกเฉยไม่ดูแลถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีความพิการทางร่างกายที่เกิดจาก โรคหลอดเลือสมอง หรือการหลงลืมทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ก็จะกลายเป็นภาระสังคม โรค หลอดเลือดสมองเป็นแล้วก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้ ทำให้เกิดการทุพพลภาพ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาที่ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและยารักษาโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงตลอดชีวิต ส่วนภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่รักษาไม่หายขาด การไม่ได้ดูแลสุขภาพที่ดีพอก็จะทำให้ร่างกาย ทรุดลง ผู้ป่วยต้องเป็นภาระกับญาติ ซึ่งจากผลที่ต้องดูแลผู้ป่วยทำให้เกิดผลกระทบต่อญาติตามมา เช่น เกิดความเครียด สุขภาพของญาติแย่ลง ครอบครัวในสังคมไทยกำลังเปลี่ยนไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นและสังคมชนบทก็จะเปลี่ยนเป็น สังคมเมือง คนหนุ่มสาวจะเข้ามาทำงานมากขึ้น สภาพสังคมของประเทศไทยมีความแตกต่างทางด้าน วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตต่างจากประเทศตะวันตก เป็นปัจจัยที่นักวิจัยต้องนำมาคิดเป็นโจทย์การ วิจัยร่วมกัน เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการรองรับปัญหาที่จะตามมาจากโรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อม ทำให้เกิดการเตรียมพร้อมในทุกด้าน ในขณะที่งานวิจัยที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อมใน ประเทศไทยยังไม่ได้ครอบคลุมทุกด้านอย่างพอเพียงที่จะสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ในการเตรียมการสิ่งที่ จะเกิดในอนาคต การทำวิจัยยังสามารถเพิ่มในประเด็นต่างๆได้ ซึ่งพยาบาลสามารเข้าไปมีส่วนร่วมได้ตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่การป้องกันการเกิดโรคจนถึงการดูแลเมื่อทราบว่าเป็นโรค ผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลต้องใส่ใจเพราะการดูแลทั้งก่อนและหลังเกิดโรคจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ ผู้ป่วยครอบครัวและสังคมได้ย่อมต้องอาศัยความรู้ที่เกิดจากการงานวิจัย ที่นำมาปรับปรุงการทำงานของ พยาบาลในการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ระดับบุคคล ไปจนถึงครอบครัวและ ชุมชน ในบทบาทการดูแลที่พยาบาลทำอยู่ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพ เพื่อมุ่งสู่การดูแลที่ทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและมีการปรับปรุงคุณภาพการดูแล ทำให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนอย่างแท้จริง ในการพัฒนากลยุทธ์การวิจัยสามารถทำในกรอบและ บทบาทหน้าที่ของพยาบาล ที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้ 1. พัฒนาชุดการวิจัยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ขณะนี้มีงานวิจัยมากพอสมควรที่จะชี้ประเด็นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของโรค Atherothrobotic vascular diseases ซึ่งรวมถึงโรค หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดส่วนปลายซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความ ดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่2 และมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและภาวะ สมองเสื่อม ซึ่งพยาบาลสามารถทำวิจัยในด้าน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากปัจจัยที่สามารถ ปรับเปลี่ยนได้ 2. พัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับปัญหา ผลกระทบในประเด็นต่างๆ รวมถึงผลกระทบจากการ วินิจฉัยและรักษา ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ที่นำไปสู่ความต้องการของผู้ป่วย และญาติกลุ่มนี้อย่างจริงจัง 3. พัฒนาชุดโครงการวิจัยในการชะลอความเสื่อมของสมองและ การฟื้นฟูของสมอง จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Brain plasticity ทำให้เชื่อได้ว่าการทำ brain exercise สามารถช่วย ฟื้นฟูสมองภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง จากหลักการ ดังกล่าวพยาบาลสามารถพัฒนาชุดการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำงานของสมอง เช่น ส่งเสริม การเข้าสังคม การจัดโปรแกรมการสอนต่างๆ 4. พัฒนาการวิจัยเพื่อหา รูปแบบการดูแลที่ดี เพื่อส่งเสริมญาติให้เป็นผู้ดูแลที่มีทักษะ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย ฟื้นฟูสภาพทางร่างกาย และสมองเร็วขึ้น ในสังคมเมืองและชนบท พัฒนาระบบการสอนผู้ดูแลที่ญาติมีปัญหาโรคสมองเสื่อมโดยมีสังคมเข้ามามีส่วนร่วม 5. พัฒนาชุดโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลที่มีการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลอย่ามาตราฐาน เพื่อส่งเสริมการดูแลของญาติ เพื่อช่วยลดความเครียดและนำไปสู่การปรับตัว 6. พัฒนารูปแบบการออกแบบบริการที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ที่บ้านได้อย่างมีคุณภาพชีวิต และ ปราศ จากภาวะแทรกซ้อน โดยให้สังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลระยะยาว เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความโดดเด่นในด้านความเอื้ออาทรเราสามารถใช้ต้นทุนทางสังคม มาเป็นรากฐานในการเตรียมความพร้อมในการการเตรียมระบบที่รองรับ การสนับสนุนครอบครัวผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกต้อง โดยมีองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นให้การสนับสนุนในระดับชุมชน รวมถึงการจัดให้มีศูนย์บริการข้อมูลสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย 7. พัฒนาระบบการสอน เพื่อให้บริการความรู้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ในการป้องกันการโดย การใช้การสื่อสารทางไกลในการป้องกันโรคทางสมองที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้โดยง่าย 8. ชุดการวิจัยที่เกี่ยวกับมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และเจตคติ ของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ การยอมรับผู้ป่วยโรค สมองเสื่อม 9. พัฒนาชุดโครงการที่เน้น ความปลอดภัยของผู้ป่วยและคุณภาพการดูแลที่ได้ตามมาตรฐาน การพัฒนาระบบการดูแลที่ป้องกันการหกล้ม ในผู้ป่วยดังกล่าว การทำวิจัยเพื่อส่งเสริมการทำงาน ของบุคคลากรในสาขาต่างๆth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectStrokeen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectสมองเสื่อมth_TH
dc.titleStrategic research on nursing cares for patients with senile dementia and cerebrovascular diseases (Stroke)en_US
dc.typePresentationen_US
dc.description.publicationเอกสารนำเสนอประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” (Development of Research Strategies for Brain Mind and Behaviour) จัดโดย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) วันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ (Jupiter) ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯth_TH
.custom.citationวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช and Wimolrat Puwarawuttipanit. "Strategic research on nursing cares for patients with senile dementia and cerebrovascular diseases (Stroke)." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4101">http://hdl.handle.net/11228/4101</a>.
.custom.total_download1621
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month12
.custom.downloaded_this_year171
.custom.downloaded_fiscal_year22

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: Wimolrat_stroke.pdf
ขนาด: 931.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Presentations [882]
    เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย