Progress of research on developmental neurobiology
dc.contributor.author | นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nuanchan Chutabhakdikul | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-07-23T09:50:20Z | |
dc.date.available | 2014-07-23T09:50:20Z | |
dc.date.issued | 2557-07-23 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4102 | |
dc.description.abstract | สมองเป็นอวัยวะแรกที่เริ่มพัฒนาคือจะพัฒนาตั้งแต่ 3-4 สัปดาห์หลังปฏิสนธิและใช้เวลาในการพัฒนา ยาวนานที่สุดคือจะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับกลไกในการพัฒนา สมองจึงมีความสำคัญอย่างมากไม่เพียงแต่เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสมองให้ดียิ่งๆขึ้นไป แต่ยังมี ความสำคัญต่อการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการพัฒนาสมองอีกด้วย งานวิจัยด้านประสาทชีววิทยาเชิงพัฒนาการ (Developmental Neurobiology)เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง หากนับตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้ง Society for Neuroscience (SFN) ในปี 1969 มี การจัดประชุมวิชาการ SFN ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1971 ในช่วงนั้นการนำเสนองานวิจัยด้านประสาทชีววิทยา เชิงพัฒนาการยังมีจำนวนน้อยมาก ต่อมางานวิจัยในด้านนี้เริ่มเป็นที่สนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในปี 1981 งานวิจัยด้านพัฒนาการสมองมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจนที่ประชุมต้องเพิ่มหัวข้อการประชุมแยกออกมาต่างหาก เป็นหัวข้อใหม่เรียกว่า “Development and Plasticity” นับแต่นั้นเป็นต้นมาองค์ความรู้ทางด้านประสาท ชีววิทยาเชิงพัฒนาการจึงมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกระดับ เซลล์และโมเลกุลในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาสมองเพิ่มมากขึ้น ความรู้สำคัญประการหนึ่งคือการพัฒนา สมองไม่ได้ถูกควบคุมโดยยีนเพียงอย่างเดียวแต่ยังขึ้นกับปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่าง ยีน-สิ่งแวดล้อม-และการ ควบคุมเหนือพันธุกรรม (epigenetic) ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้าววงจรประสาทรวมทั้งการทำงานของเซลล์ ประสาทด้วยคุณสมบัติที่เซลล์ประสาทมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม (plasticity) ซึ่งมีทั้ง ข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือหากเราให้ปัจจัยป้อนเข้าที่เหมาะสมในระหว่างที่สมองกำลังพัฒนาจากผู้คนที่เกี่ยวข้อง กับเด็กทั้งที่บ้าน ครอบครัว โรงเรียนและสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ก็จะช่วยสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นคนที่มี คุณภาพของสังคมได้ ในทางตรงกันข้ามสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยป้อนเข้าด้านลบในช่วงแรกของชีวิตจะส่งผล ระยะยาวต่อขบวนการสร้างวงจรประสาทในสมอง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางจิตเวชและโรคทางด้าน พัฒนาการสมองตามมาในภายหลังเช่น โรคจิตเภท ออทิซึ่ม โรคซุกซนสมาธิสั้นเป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมาก ในปัจจุบัน โรคกลุ่มนี้ไม่พบว่ามีความผิดปกติที่เฉพาะเจาะจงในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของสมองแต่มีความ ผิดปกติทั่วๆไปในสมองหลายๆบริเวณเช่น limbic areas, prefrontal cortex และ fronto-striatal circuits ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของการเชื่อมโยงของวงจรประสาทซึ่งค่อยเป็นค่อยไปและเกิด มานานก่อนที่จะแสดงอาการ นอกจากนั้นปัจจัยด้านพันธุกรรมพียงอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายสาเหตุของการ เกิดโรคได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมและการควบคุมเหนือ พันธุกรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้อาการแสดงออกชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามความรู้นี้ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถ ป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ โดยป้องกันเด็กกลุ่มเสี่ยงนี้จากปัจจัยด้านลบที่จะเป็นตัวเร่งให้อาการ รุนแรงมากขึ้น ในประเทศไทยการส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของการพัฒนาสมองยังมีน้อย จึงควรส่งเสริมให้มี ทุนวิจัยและกลุ่มวิจัยที่ทำงานทางด้านนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นควรกระตุ้นให้มีการบูรณาการงานวิจัยแบบข้าม ศาสตร์เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของการพัฒนาสมองไปสู่การนำไปใช้แก้ปัญหาสังคมได้จริง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | neurobiology | en_US |
dc.subject | สมอง | th_TH |
dc.title | Progress of research on developmental neurobiology | en_US |
dc.type | Presentation | en_US |
dc.description.publication | เอกสารนำเสนอประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” (Development of Research Strategies for Brain Mind and Behaviour) จัดโดย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) วันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ (Jupiter) ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ | th_TH |
.custom.citation | นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล and Nuanchan Chutabhakdikul. "Progress of research on developmental neurobiology." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4102">http://hdl.handle.net/11228/4102</a>. | |
.custom.total_download | 1695 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 149 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 32 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Presentations [882]
เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม