การประเมินผลการดำเนินงานในศูนย์สุขภาพชุมชนของจังหวัดสระบุรี
dc.contributor.author | รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ถนอมวงษ์ วงษ์สถิตย์ | en_US |
dc.contributor.author | ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ | en_US |
dc.coverage.spatial | สระบุรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-03T09:57:40Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:56:08Z | |
dc.date.available | 2008-10-03T09:57:40Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:56:08Z | |
dc.date.issued | 2545 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการสาธารณสุข 11,5(2545) : 739-751 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-4923 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ28 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/428 | en_US |
dc.description.abstract | จากการตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ประเทศไทยได้มีนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกำหนดให้สถานพยาบาลปฐมภูมิเป็นบริการด่านแรก และเรียกสถานบริการนี้ว่า ศูนย์สุขภาพชุมชน เนื่องจากเป็นนโยบายใหม่ระดับชาติ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติที่ระดับจังหวัด และกระบวนการดำเนินงานในรอบ ๖ เดือนแรก วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนเอกสาร การสังเกตและการสอบถามทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดำเนินการของศูนย์สุขภาพชุมชน จ.สระบุรี จำนวน ๒๐ แห่งในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ๒๕๔๕ ผลการวิจัยพบว่า ด้วยคุณลักษณะของนโยบายที่เร่งรัด ทำให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมน้อยในหลายด้าน เช่น ไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อนโยบาย โดยเห็นด้วยกับนโยบายที่ “เน้นสร้างสุขภาพ” สูงสุด แต่ไม่เห็นด้วยกับ “การนำเงินเดือนมารวมในงบที่สนับสนุนโครงการ” เมื่อประเมินรูปแบบของการจัดบริการพยว่า เกิดภาพการจัดบริการศูนย์สุขภาพชุมชนแบบทดลองที่หลากหลายทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาลในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยศูนย์สุขภาพชุมชนมีความพร้อมในด้านโครงสร้าง สถานที่ในการจัดบริการ มากกว่าการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ประเมินสภาพปัญหา การให้อิสระในการตัดสินใจและวางแผนจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนทำให้มีการกระจายอย่างไม่เสมอภาคกระจุกตัวในที่ที่มีสถานบริการหนาแน่นอยู่แล้วในภาพรวมประชาชนมีความพึงพอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ ๘๒.๘ แต่มีความพึงพอใจน้อยในงานบริการทันตสาธารณสุข และการเยี่ยมบ้าน การศึกษากรณีจังหวัดสระบุรีครั้งนี้ให้ภาพเชิงลึกของโครงการศูนย์สุขภาพชุมชน ภายใต้นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อจังหวัดสระบุรี จังหวัดอื่นและส่วนกลาง ในการพัฒนาการดำเนินงานต่อไป | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
dc.title | การประเมินผลการดำเนินงานในศูนย์สุขภาพชุมชนของจังหวัดสระบุรี | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | บริการปฐมภูมิ | en_US |
dc.subject.keyword | ประเมินผล | en_US |
dc.subject.keyword | การนำนโยบายไปปฏิบัติ | en_US |
dc.subject.keyword | ความพึงพอใจ | en_US |
.custom.citation | รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์, ถนอมวงษ์ วงษ์สถิตย์ and ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์. "การประเมินผลการดำเนินงานในศูนย์สุขภาพชุมชนของจังหวัดสระบุรี." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/428">http://hdl.handle.net/11228/428</a>. | |
.custom.total_download | 822 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 8 | |
.custom.downloaded_this_year | 119 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 24 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)