สถานการณ์ แนวทางดำเนินงาน ปัญหา กฎหมาย กฎระเบียบ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
dc.contributor.author | จรวยพร ศรีศศลักษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jaruayporn Srisasalux | th_TH |
dc.date.accessioned | 2015-12-14T06:46:15Z | |
dc.date.available | 2015-12-14T06:46:15Z | |
dc.date.issued | 2558-12-09 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4352 | |
dc.description.abstract | ข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นว่าเยาวชนไทย คือ เป้าหมายทางการตลาดในการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้เพราะกลุ่มธุรกิจยาสูบต้องการผู้บริโภครายใหม่ๆ ทดแทนผู้บริโภคหน้าเก่าหรือทดแทนผู้ใหญ่ที่เลิกสูบบุหรี่หรือผู้สูบบุหรี่ที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ ผู้บริโภคในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีปริมาณการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น จนเป็นแหล่งสร้างผลกำไรสำคัญและผลประโยชน์จากการดื่มในระยะยาว มีข้อมูลว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลง ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญทางการตลาดของกลุ่มธุรกิจยาสูบและแอลกอฮอล์กลายเป็นผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนาแทน การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเป็นช่องทางที่สำคัญในการขยายขนาดของตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการกระตุ้นความอยากรู้อยากลอง ความตั้งใจที่จะบริโภคและการตัดสินใจซื้อ รวมถึงทัศนคติว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติของสังคม งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพิ่มโอกาสในการเริ่มต้นสูบหรือดื่มในกลุ่มเยาวชนหน้าใหม่ และเพิ่มปริมาณการบริโภคในกลุ่มเยาวชนที่สูบหรือดื่มอยู่แล้ว ยิ่งสะสมการรับรู้การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่ยาวนานขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะดื่มหรือสูบมากขึ้น ช่วงเวลาที่ผ่านมา พบความจงใจให้ตราสินค้าและชื่อองค์กรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรากฏอยู่ในสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ด้วยการทำกิจกรรมบริจาคสิ่งของหรือทุนสนับสนุนกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา งานเทศกาลต่างๆ และมักอ้างว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่ดำเนินการโดยรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) แต่ในความจริงแล้ว เป็นเพียงการใช้กลยุทธ์ในการเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ (Sponsorship) เพื่อเพิ่มความถี่ในการพบเห็น ได้ยิน และจดจำตราสินค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และชื่อองค์กร | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | แอลกอฮอล์ | th_TH |
dc.subject | บุหรี่ | th_TH |
dc.subject | กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.title | สถานการณ์ แนวทางดำเนินงาน ปัญหา กฎหมาย กฎระเบียบ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ | th_TH |
dc.type | Presentation | th_TH |
.custom.citation | จรวยพร ศรีศศลักษณ์ and Jaruayporn Srisasalux. "สถานการณ์ แนวทางดำเนินงาน ปัญหา กฎหมาย กฎระเบียบ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4352">http://hdl.handle.net/11228/4352</a>. | |
.custom.total_download | 3183 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 371 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 73 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Presentations [882]
เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม