Show simple item record

Project plus

dc.contributor.authorเบญจมาศ เป็นบุญth_TH
dc.contributor.authorประดับพร เนตวงษ์th_TH
dc.contributor.authorกมลทิพย์ พงษ์พิพัฒน์วัฒนาth_TH
dc.contributor.authorภาวิณี ลาโยธีth_TH
dc.date.accessioned2016-08-09T03:52:24Z
dc.date.available2016-08-09T03:52:24Z
dc.date.issued2559-06
dc.identifier.isbn9786161129750
dc.identifier.otherhs2268
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4471
dc.description.abstractสืบเนื่องจากที่กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation and Mobility Training O&M training) ระยะ 6 ปี (2553-2558) ข้อเสนอแนะจากผลการประเมิน การดำเนินงานชี้ว่า แม้คนพิการทางการเห็นจะได้รับการฝึกทักษะ O&M จนสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน และการเดินทางไปไหนมาไหนได้แล้ว ก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังคงมีความต้องการจำเป็นในการได้รับบริการอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากคนพิการทางการเห็นที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน-วัยสูงอายุ หลายคนเริ่มมีภาวะเสื่อมถอยของสุขภาพร่างกาย และเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ด้วยแนวคิดที่จะส่งเสริมบทบาทครูฝึก O&M ให้เป็น “นักสร้างเสริมสุขภาพ” โดยเฉพาะสำหรับคนพิการทางการเห็น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงได้ออกแบบการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของครูฝึก O&M โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การใช้ “สุนทรียสนทนา (dialogue)” เพื่อเสริมสร้างพลังความเข้มแข็งจากภายในของครูฝึก การสร้างสมดุลภายในชีวิตการทำงานและครอบครัว มุ่งให้บริการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของผู้รับบริการที่มีคุณภาพและมีความหมายมากยิ่งขึ้น และการนำ “ไทเก็ก (Taichi)” เข้ามาเป็นเครื่องมือให้ครูฝึก O&M ได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางการเห็น ร่วมกับการให้องค์ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพมิติอื่นๆ เช่น ด้านโภชนาการ เป็นต้น หลังจากได้สนับสนุนการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ผ่านโครงการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางการเห็นในชุมชน เพื่อเป็นการทดลองการนำกำลังคน “นักสร้างเสริมสุขภาพที่มีฐานจากการเป็นครูฝึกทักษะ O&M” และเครื่องมือต่างๆ ไปใช้ในพื้นที่ 4 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีผลลัพธ์ว่า สามารถดำเนินการในชุมชนจนมีผลลัพธ์สุขภาพต่อคนพิการที่เข้ารับบริการได้จริง อีกทั้งมีเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากครูฝึก O&M คนพิการทางการเห็น ครอบครัว และชุมชน จึงนำไปสู่การขยายผล ผ่านโครงการเสริม (พลัง) สร้าง (โอกาส) พัฒนา (ศักยภาพ) ครูฝึก O&M คนพิการทางการเห็น และผู้สูงอายุในชุมชน หรือ Project plus ขึ้น เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ คือ ภาพสะท้อนการทำงาน ผลผลิต และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการทั้ง 7 แห่งของ Project plus ผ่านการถ่ายทอดของหัวหน้าโครงการและทีม รวมถึงครูฝึก O&M ในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยสร้างแรงบัลดาลใจในการทำงาน และยังเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ที่สนใจได้เรียนรู้เทคนิคเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาพคนพิการที่เป็นผู้สูงอายุในชุมชนได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคนตาบอด--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectคนพิการ--การสงเคราะห์th_TH
dc.subjectคนพิการ--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleProject Plus เสริมพลัง สร้างโอกาส พัฒนาศักยภาพครูฝึก O&M คนพิการทางการเห็นและผู้สูงอายุในชุมชนth_TH
dc.title.alternativeProject plusen_US
dc.typeDocumentth_TH
dc.identifier.callnoHV1593 บ784ส 2559
dc.identifier.contactno59-011
.custom.citationเบญจมาศ เป็นบุญ, ประดับพร เนตวงษ์, กมลทิพย์ พงษ์พิพัฒน์วัฒนา and ภาวิณี ลาโยธี. "Project Plus เสริมพลัง สร้างโอกาส พัฒนาศักยภาพครูฝึก O&M คนพิการทางการเห็นและผู้สูงอายุในชุมชน." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4471">http://hdl.handle.net/11228/4471</a>.
.custom.total_download180
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2268.pdf
Size: 3.897Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record