• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

วัฒนธรรม ความตาย กับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ : มอญ โซ่ง กะเหรี่ยง ม้ง เย้า

สมรักษ์ ไชยสิงหกานนท์; สรินยา คำเมือง; อธิตา สุนทโรทก;
วันที่: 2550-07
บทคัดย่อ
พระไพศาล วิสาโล พระนักคิดนักปฏิบัติที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้สังคมไทยได้เรียนรู้จากความตาย เคยกล่าวว่า แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่สังคมทุกวันนี้ไม่ได้นึกถึงและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไรนัก แต่แท้ที่จริงแล้ว ความตายมีบทบาทสำคัญในอารยธรรมยิ่งใหญ่ทั้งหลายของโลก ดังที่เราจะเห็นได้ว่า อารยธรรมต่างๆ ล้วนมีการสร้างคำอธิบาย วิถีการปฏิบัติและทัศนะต่อความตายที่ละเอียดซับซ้อน มีการสร้างสรรค์ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ที่ประกอบกันเป็นพิธีกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับความตาย แม้แต่สิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกก็ล้วนเป็นสักขีพยานให้เห็นถึงความสำคัญของความตาย ไม่ว่าจะเป็น ปิรามิดในอียิปต์ ปราสาททัชมาฮาลที่อินเดีย หรือสุสานจิ๋นซีในจีน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นนฤมิตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายและการตายทั้งสิ้น สาเหตุที่ความตายมีอิทธิพลมากมายเช่นนี้อาจเป็นเพราะความตายเป็นความจริงที่ไม่มีใครต้องการแต่ก็ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นมหาราชาหรือจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่และทรงไว้ซึ่งอำนาจเพียงใดก็ตาม ความตายก็ไม่เคยลดราวาศอกให้ แม้จะอาศัยอำนาจและราชทรัพย์ที่สามารถบัญชาให้สิ่งต่างๆ เป็นไปได้อย่างที่ใจปรารถนาก็ไม่อาจแสวงหายาอายุวัฒนะที่จะทำให้ชีวิตเป็นนิรันดร์ได้ เมื่อการหลีกหนีความตายเป็นไปไม่ได้ หนทางที่เหลืออยู่ก็คือ ทำอย่างไรให้การตายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเป็นการตายที่ดี อารยธรรมโลกทั้งหลายจึงได้สร้างแบบแผนวิธีคิดและคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องความตาย การตาย และชีวิตหลังตายไว้อย่างหลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสู่การตายที่ดีไม่ใช่แต่เฉพาะอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกเท่านั้นที่มีระบบวิธีคิดและแบบแผนการปฏิบัติที่ละเอียดซับซ้อนเกี่ยวกับความตาย จะว่าไปแล้วความตายและการตายที่ดีเป็นโจทย์สำคัญในทุกสังคม ทุกวัฒนธรรม ระบบวัฒนธรรมต่างๆ จึงมีการสร้างคำอธิบายที่ให้ความหมายเกี่ยวกับที่มาและที่สิ้นสุดของชีวิต เราจึงเห็นร่องรอยระบบวิธีคิดเกี่ยวกับความตายปรากฏได้ทั้งในเรื่องเล่า ตำนาน ปรัมปราคติ ตลอดทั้งที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมและแบบแผนการปฏิบัติที่สังคมสร้างและสืบต่อกันจนเป็นจารีตประเพณี ที่สำคัญจารีตต่างๆ เหล่านี้ก็ยังมีการปรับตัวตามบริบทเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของความตายจึงไม่เพียงจะแตกต่างกันตามจารีตของแต่ละสังคม แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์อีกด้วย เมื่อทัศนะและแบบแผนการปฏิบัติเกี่ยวกับความตายเป็นส่วนสำคัญในระบบวัฒนธรรมต่างๆ การศึกษาเรียนรู้จารีตประเพณีเรื่องความตายและการตายที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้าใจกันในพหุสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธ์ที่หลากหลาย หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับมิติทางวัฒนธรรมของความตายในกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความตาย โดยหวังให้เป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับชีวิต ความเจ็บป่วย หรือทำงานช่วยเหลือผู้คนในวาระสุดท้ายของชีวิต การได้เข้าใจถึงระบบวิธีคิด ประเพณีและแบบแผนจารีตปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความตายจะช่วยให้เรามีท่าทีและการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในเวลาที่ต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตในวาระสุดท้าย ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทั้งของผู้ที่กำลังจากไปและผู้เกี่ยวข้องที่ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังการจากไปของญาติพี่น้องหรือคนรัก ความตายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่วัฒนธรรมต่างๆ ได้สร้างและสะสมองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ภูมิปัญญาที่สังคมสร้างขึ้นนี้ ช่วยให้มนุษย์สามารถรับมือกับการสูญเสียคนรักหรือการจากไปของสมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ชิด โดยการให้คำอธิบายที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงกับศาสนธรรมและจักรวาลทัศน์ในท้องถิ่นซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถปล่อยวางหรือละจากความเศร้าโศกเสียใจ การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีคิดและการปฏิบัติเกี่ยวกับความตายจำเป็นต้องเข้าใจระบบความคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่สังคมวัฒนธรรมหนึ่งๆ ได้ผูกสร้างขึ้น กรอบวิธีคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตหรือจักรวาลทัศน์นี้เป็นกรอบอ้างอิงในการอธิบายสรรพสิ่งที่ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาเหล่านี้นับวันจะถูกละเลยและหมดความสำคัญลงไป การทบทวนฟื้นฟูภูมิปัญญารวมทั้งการปรับสื่อ ภาษา และพิธีกรรมให้สมสมัย จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างสัมมาทิฐิและสัมมาปฏิบัติเกี่ยวกับความตายได้
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1454.pdf
ขนาด: 3.677Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 7
รวมทั้งหมด: 154
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Documents/Pocket Books [627]

    เอกสารเผยแพร่/พ็อกเกตบุ๊ก


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV