dc.contributor.author | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.contributor.author | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-05-10T07:33:59Z | |
dc.date.available | 2018-05-10T07:33:59Z | |
dc.date.issued | 2561-03 | |
dc.identifier.other | hs2412 | en_EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4884 | |
dc.description.abstract | สืบเนื่องจากการประชุมหารือของหน่วยบริการภาคเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากประเด็นปัญหาปีงบประมาณ 2560 อัตราการจ่ายชดเชยค่าบริการผู้ป่วยในลดลง ส่งผลให้หน่วยบริการภาคเอกชนในกรุงเทพมหานครขอถอนตัวออกจากระบบฯ ส่งผลกระทบต่อจำนวนหน่วยบริการรับส่งต่อไม่เพียงพอ นอกเหนือจากมติข้อเสนอเรื่องการเงินการคลัง ที่ประชุมได้มีมติให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดทำข้อเสนอการเป็นเขตพิเศษของกรุงเทพมหานครว่า “กทม.มีบริบทที่แตกต่างจากเขตอื่นเรื่องอะไร จะพิเศษเรื่องอะไร และจะเกิดอะไรที่ดีขึ้นจากการเป็นเขตพิเศษ รวมถึงมีข้อเสียอะไร”
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (สปสช.กทม.) จึงได้จัดดำเนินการประชุมเพื่อจัดทำข้อเสนอ เขตพื้นที่พิเศษจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 18 มกราคม 2561 สปสช.กทม.จัดประชุมหารือรูปแบบ เขตพิเศษ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และต่อมาในครั้งที่ 2 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 สปสช.และกรุงเทพมหานคร จัดประชุมวิชาการในรูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร : เขตพื้นที่พิเศษ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้มีโอกาสรับเชิญเข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่เสนอสรุปผลงานวิชาการและสังเคราะห์ความรู้ความคิดเห็นจากการประชุมเชิงปฏิบัติการมาเป็นข้อเสนอแนะเพื่อการเปลี่ยนแปลงต่อเอกสาร ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร : เขตสุขภาพพื้นที่พิเศษ ฉบับนี้ เป็นเอกสารเพื่อเตรียมนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไป โดยเนื้อหาได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อย่างครอบคลุมรอบด้าน ได้แก่ การดูแลประชากรทั้งปวงในกรุงเทพมหานครกว่าแปดล้านคน การเชื่อมโยงภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นพิเศษที่มีกฎหมายเฉพาะ บทบาทการบริหารการเงินและอื่นๆของสปสช. บทบาทของหน่วยบริการภาครัฐและภาคเอกชน บทบาทการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของสสส. การบริหารองค์กรภาครัฐแบบใหม่ ฯลฯ โดยหวังว่ามาตรการที่เสนอทั้งสามด้าน 16 ข้อ น่าจะสามารถประยุกต์ไปดำเนินการ ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร : เขตสุขภาพพื้นที่พิเศษต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | บริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | บริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร : เขตสุขภาพพื้นที่พิเศษ | th_TH |
dc.type | Document | th_TH |
dc.identifier.callno | W84 ส691ข 2561 | |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ and สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. "ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร : เขตสุขภาพพื้นที่พิเศษ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4884">http://hdl.handle.net/11228/4884</a>. | |
.custom.total_download | 117 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |