dc.contributor.author | ขวัญชนก ยิ้มแต้ | th_TH |
dc.contributor.author | พนิดา ธนาวิรัตนานิจ | th_TH |
dc.contributor.author | พรเทพ เกษมศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | ภาธร ภิรมย์ไชย | th_TH |
dc.contributor.author | ภีม เอี่ยมประไพ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-11-06T06:38:26Z | |
dc.date.available | 2018-11-06T06:38:26Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.other | hs2449 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4955 | |
dc.description.abstract | ประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุข จนเป็นที่คาดการณ์ว่าปีพ.ศ. 2568 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ภาวะการสูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อันนำไปสู่อุปสรรคในการสื่อสารของผู้สูงอายุ ทำให้ความสุขของทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลใกล้ชิดลดลงและส่งผลทางอ้อมต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของผู้สูงอายุอีกด้วย ภาวะหูตึงสามารถแก้ไขได้โดยการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแพทย์หู คอ จมูก หรือหากรักษาไม่ได้จนเกิดมีความพิการทางการได้ยินก็สามารถบรรเทาความรุนแรงด้วยการใส่เครื่องช่วยฟังที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับผลตรวจการได้ยินโดยนักแก้ไขการได้ยิน แต่ปัญหาคือผู้ที่อาศัยในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงบริการตรวจการได้ยินหรือรับเครื่องช่วยฟังได้ เนื่องจากไม่สะดวกที่จะเดินทางไปโรงพยาบาลเพียงลำพัง นอกจากนี้เมื่อได้รับเครื่องช่วยฟังแล้วแต่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็ไม่สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่นได้ โครงการพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบค้นหาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการได้ยินในชุมชนต่อเนื่องระยะยาวในการพัฒนาระบบและรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินจึงได้ดำเนินการจัดทำคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้อยู่ “ใกล้ชิดและใกล้ใจ” ผู้สูงอายุ เพื่อใช้ในการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินและจัดระบบที่สะดวกต่อการส่งผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนมีที่ปรึกษาเมื่อเครื่องช่วยฟังทำงานไม่ปกติ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จักเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ความสุขและรอยยิ้มของผู้สูงอายุในสังคมไทย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะการสูญเสียการได้ยิน | th_TH |
dc.subject | Hearing Loss | th_TH |
dc.subject | การได้ยินผิดปกติ | th_TH |
dc.subject | การได้ยิน | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | Elderly people | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | คู่มือการค้นหาผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยิน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.type | Document | th_TH |
dc.identifier.callno | HV2391 ข261ค 2559 | |
dc.identifier.contactno | 58-065 | |
.custom.citation | ขวัญชนก ยิ้มแต้, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, พรเทพ เกษมศิริ, ภาธร ภิรมย์ไชย and ภีม เอี่ยมประไพ. "คู่มือการค้นหาผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยิน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4955">http://hdl.handle.net/11228/4955</a>. | |
.custom.total_download | 132 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 10 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |